เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร]
ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าไปทางเดียวกัน 2 รูป
จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ในโลกนี้ยังมีเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟัง
ธรรม เหล่าสัตว์ผู้ที่อาจจะรู้ทั่วถึงธรรมได้ยังมีอยู่ แต่เมื่อเวลาล่วงไปทุก ๆ 6 ปี
เธอทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’ ภิกษุส่วนมาก
ได้จาริกไปตามชนบท โดยวันเดียวเท่านั้น
[89] สมัยนั้น ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ 84,000 แห่ง เมื่อเวลาล่วงไป 1 ปี
เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เวลาล่วงไป 1 ปีแล้ว บัดนี้ยัง
เหลือเวลา 5 ปี เมื่อเวลาล่วงไป 5 ปี พวกท่านพึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี
เพื่อแสดงปาติโมกข์’
เมื่อเวลาล่วงไป 2 ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เวลาล่วงไป 2 ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา 4 ปี เมื่อเวลาล่วงไป 4 ปี พวกท่าน
พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’
เมื่อเวลาล่วงไป 3 ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เวลาล่วงไป 3 ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา 3 ปี เมื่อเวลาล่วงไป 3 ปี พวกท่าน
พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’
เมื่อเวลาล่วงไป 4 ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เวลาล่วงไป 4 ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา 2 ปี เมื่อเวลาล่วงไป 2 ปี พวกท่าน
พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’
เมื่อเวลาล่วงไป 5 ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เวลาล่วงไป 5 ปีแล้ว บัดนี้ยังเหลือเวลา 1 ปี เมื่อเวลาล่วงไป 1 ปี พวกท่าน
พึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร]
ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

เมื่อเวลาล่วงไป 6 ปี เหล่าเทวดาได้ประกาศว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เวลาล่วงไป 6 ปีแล้ว บัดนี้ถึงเวลาแล้ว พวกท่านพึงเข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี
เพื่อแสดงปาติโมกข์’
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของตน
บางพวกเดินทางไปด้วยฤทธิ์ ด้วยอานุภาพของเทวดา เพียงวันเดียวเท่านั้น พากัน
เข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์

ทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์

[90] ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์1 ในที่ประชุมสงฆ์
ที่กรุงพันธุมดีราชธานีนั้นดังนี้
‘ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นบรมธรรม
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาป2ทั้งปวง
การทำกุศล3ให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ปาติโมกข์ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาณาปาติโมกข์ (ประมวลพุทธบัญญัติที่ทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่
อาทิพรหมจริยกสิกขา ที่มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน) แต่หมายถึงโอวาทปาติโมกข์
ซึ่งประกอบด้วยคาถา 3 คาถามี ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงแสดงเอง
(ที.ม.อ. 90/76, วิ.อ. 1/19/190-192)
2 บาป หมายถึงกรรมที่มีโทษซึ่งสหรคตด้วยอกุศลจิต 12 ดวง (ที.ม.ฏีกา 90/92)
3 กุศล หมายถึงกุศลที่เป็นไปในภูมิ 4 (ที.ม.อ. 90/76, ที.ม.ฏีกา 90/92)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :50 }