เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] คู่พระอัครสาวก

พันธุมดีราชธานี บอกราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะว่า
‘พระวิปัสสีพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน
มีพระประสงค์จะพบท่านทั้งสอง’
นายทายบาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปยังกรุงพันธุมดีราชธานี กราบทูล
แก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบอกบุตรปุโรหิตชื่อติสสะดังนี้ว่า ‘พระวิปัสสี
พุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ที่เขมมฤคทายวัน มีพระประสงค์
จะพบท่านทั้งสอง’
[74] พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ สั่งให้บุรุษ
เทียมยานพาหนะคันงาม ๆ แล้วขึ้นยานพาหนะคันงามออกจากกรุงพันธุมดีราชธานี
พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ติดตามอีกหลายคัน ขับตรงไปยังเขมมฤคทายวัน
จนสุดทางที่ยานพาหนะจะเข้าไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไปเฝ้าพระวิปัสสี
พุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
[75] พระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถา1แก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ
และบุตรปุโรหิตชื่อติสสะเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ
1. ทานกถา (เรื่องทาน)
2. สีลกถา (เรื่องศีล)
3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)2
5. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
เมื่อทรงทราบว่า พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะมีจิต
ควรบรรลุธรรม อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิก

เชิงอรรถ :
1 อนุปุพพิกถา หมายถึงธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟัง
ให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ (ที.สี.อ. 298/250)
2 แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สํกิเลสํ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :42 }