เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [10. ปายาสิสูตร] อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน

[435] “ท่านกัสสปะ พูดอย่างนั้นก็จริง แต่โยมไม่อาจสละทิฏฐิชั่วนี้ได้
พระเจ้าปเสนทิโกศลหรือพระราชานอกอาณาจักรรู้จักโยมอย่างนี้ว่า ‘เจ้าปายาสิมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี’ หากโยมสละทิฏฐิชั่วนี้ จะมีคนว่าโยมได้ว่า
‘เจ้าปายาสินี้ช่างโง่เขลา ไม่ฉลาด ยึดถือแต่สิ่งผิด ๆ’ โยมจะยึดถือทิฏฐินั้นต่อไป
เพราะความโกรธ เพราะความลบหลู่ เพราะความแข่งดี”

อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน

[436] ท่านพระกุมารกัสสปะถวายพระพรว่า “บพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพ
จะยกอุปมาถวายพระองค์ให้สดับ คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ เข้าใจความหมายแห่ง
ถ้อยคำได้ด้วยอุปมาโวหาร เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ เมืองแห่งหนึ่ง สหายผู้หนึ่งเรียก
สหายมาบอกว่า ‘มาเถิด เพื่อน เราจะเข้าไปยังเมืองนั้น บางทีจะได้ทรัพย์ในเมืองนั้น
บ้าง’ สหายคนที่ 2 รับคำของเพื่อนแล้ว พากันเข้าไปยังชนบทถึงถนนในหมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง เห็นเปลือกป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหายคนแรกบอกสหายคน
ที่ 2 ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เขาทิ้งเปลือกป่านไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงผูกเปลือก
ป่านไป 1 มัด เราจะผูกอีก 1 มัด เรา 2 คนจะช่วยกันขนเปลือกป่านไป’ สหาย
คนที่ 2 รับคำแล้วผูกเปลือกป่าน 1 มัด แล้ว ต่างช่วยกันหอบเปลือกป่านเข้าไป
ยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหาย
คนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราจะปรารถนาเปลือกป่านไปเพื่อ
อะไร นี้ด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด
เราก็จะทิ้งเหมือนกัน เรามาช่วยกันนำมัดด้ายป่านไปเถิด’ สหายคนที่ 2 ตอบว่า
‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มาตั้งไกล อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่
ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’
ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งมัดเปลือกป่านแล้วนำมัดด้ายป่าน
สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นผ้าป่านที่เขา
ทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหายคนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เราจะปรารถนา
เปลือกป่านและด้ายป่านไปเพื่ออะไร นี้ผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :366 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [10. ปายาสิสูตร] อุปมาด้วยคนหอบเปลือกป่าน

ทิ้งมัดเปลือกป่านเสีย เราก็จะทิ้งมัดด้ายป่านเหมือนกัน พวกเรามาช่วยกันนำมัดผ้า
ป่านไปเถิด’ สหายคนที่ 2 ตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มาตั้งไกล
อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’
ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งมัดด้ายป่านแล้วนำมัดผ้าป่านไป
สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังถนนในหมู่บ้านอีกสายหนึ่ง ได้เห็นเปลือกไม้โขมะ
ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ด้ายเปลือกไม้โขมะที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ผ้าเปลือกไม้
โขมะ ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ลูกฝ้ายที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ด้ายฝ้ายที่เขาทิ้งไว้
มากมาย ฯลฯ ผ้าฝ้ายที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ เหล็กที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ
โลหะ1ที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ดีบุกที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ สำริดที่เขาทิ้งไว้
มากมาย ฯลฯ เงินที่เขาทิ้งไว้มากมาย ฯลฯ ทองที่เขาทิ้งไว้มากมายในที่นั้น สหาย
คนแรกจึงบอกสหายอีกคนหนึ่งว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราจะปรารถนาเปลือกป่าน ด้ายป่าน
ผ้าป่าน เปลือกไม้โขมะ ด้ายเปลือกไม้โขมะ ผ้าเปลือกไม้โขมะ ลูกฝ้าย ด้ายฝ้าย
ผ้าฝ้าย เหล็ก โลหะ ดีบุก สำริด หรือเงินไปเพื่ออะไรกัน นี้ทองที่เขาทิ้งไว้มากมาย
ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด เราก็จะทิ้งห่อเงินเหมือนกัน พวกเรามาช่วยกัน
นำห่อทองไปเถิด’ สหายคนที่ 2 ตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เราหอบมัดเปลือกป่านนี้มา
ตั้งไกล อีกทั้งมัดไว้เรียบร้อยดีแล้ว เราจะไม่ทิ้งล่ะ ท่านจงทราบเถิด’
ลำดับนั้น สหายคนแรกทิ้งห่อเงินแล้วนำห่อทองไป
สหายทั้งสองพากันเข้าไปยังหมู่บ้านของตน ๆ ในบรรดาสหายทั้ง 2 คนนั้น
คนที่หอบมัดเปลือกป่านไป ไม่ได้รับความชื่นชมยินดีจากมารดาบิดา ไม่ได้รับความ
ชื่นชมยินดีจากบุตรภรรยา ไม่ได้รับความชื่นชมยินดีจากมิตรอำมาตย์ อีกทั้งไม่ได้
รับความสุขโสมนัสที่เกิดจากการหอบเปลือกป่านนั้น ส่วนสหายอีกคนหนึ่งที่นำห่อ
ทองไป ได้รับความชื่นชมยินดีจากมารดาบิดา ได้รับความชื่นชมยินดีจากบุตรภรรยา
ได้รับความชื่นชมยินดีจากมิตรอำมาตย์ อีกทั้งได้รับความสุขโสมนัสที่เกิดจากการนำ
ห่อทองนั้น

เชิงอรรถ :
1 โลหะ ในที่นี้หมายถึงทองแดง (ที.ม.อ. 436/429)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :367 }