เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

มหาชนประมาณ 84,000 คน ได้พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามเสด็จพระวิปัสสีโพธิสัตว์ พระวิปัสสี-
โพธิสัตว์ ทรงมีบริษัทนั้นแวดล้อม เสด็จจาริกไปในหมู่บ้าน นิคม ชนบท(แคว้น)
และราชธานีทั้งหลาย
[56] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด1 ทรงมี
พระรำพึงอย่างนี้ว่า ‘การที่เราอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะอย่างนี้หาเป็นการสมควรไม่
ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง’ ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์เสด็จ
หลีกออกจากหมู่ประทับอยู่ผู้เดียว บรรพชิต 84,000 รูป ได้แยกไปทางหนึ่ง
พระวิปัสสีโพธิสัตว์ก็เสด็จไปอีกทางหนึ่ง

พระโพธิสัตว์ตรัสรู้2

[57] ต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงมีพระรำพึง
อย่างนี้ว่า ‘สัตว์โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคลผู้ไม่รู้
อุบายสลัดออกจากทุกข์ คือ ชรา(ความแก่)มรณะ(ความตาย)นี้ เมื่อไร จึงจะพ้นจาก
ทุกข์คือชรามรณะนี้ได้’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชรามรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อชาติ(ความเกิด)มี ชรามรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพ(ความมี
ความเป็น)มี ชาติจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’

เชิงอรรถ :
1 ที่สงัด หมายถึงกายวิเวก หลีกเร้น หมายถึงจิตตวิเวก (ที.ม.ฏีกา. 57/58)
2 ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) 16/4/10-13

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :31 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] พระโพธิสัตว์ตรัสรู้

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทาน
(ความยึดมั่นถือมั่น)มี ภพจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อตัณหา(ความอยาก)มี อุปาทานจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อเวทนา(ความรู้สึก)มี ตัณหาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อผัสสะ(สัมผัส)มี เวทนาจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
สฬายตนะ (อายตนะ 6)มี ผัสสะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อนามรูป(นามธรรมและรูปธรรม)มี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์)มี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป
จึงมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :32 }