เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [8. สักกปัญหสูตร] ปาติโมกขสังวร

บรรดาอุเบกขา 2 อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น
อุเบกขาที่ควรเสพ
ในอุเบกขานั้น อุเบกขาใดมีวิตก มีวิจาร1 และอุเบกขาใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร2
บรรดาอุเบกขา 2 อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’
ข้อที่เรากล่าวไว้ว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ 2 อย่าง คือ อุเบกขาที่
ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[363] จอมเทพ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่าปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ
อันสมควร และดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น
ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้ หมดความแคลงใจแล้ว เพราะได้ฟังการ
ตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”

ปาติโมกขสังวร3
(สำรวมในปาติโมกข์)

[364] ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ดังนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมในปาติโมกข์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติ
ทางกาย) ไว้ 2 อย่าง คือ กายสมาจารที่ควรเสพและกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
1 อุเบกขามีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. 362/347)
2 อุเบกขาไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น
(ที.ม.อ. 362/347)
3 ดูเทียบ ม.อุ. 14/110-111/96-98

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :289 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [8. สักกปัญหสูตร] ปาติโมกขสังวร

กล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา)ไว้ 2 อย่างคือ วจีสมาจารที่ควรเสพ
และวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ และกล่าวปริเยสนา(การแสวงหา)ไว้ 2 อย่างคือ
ปริเยสนาที่ควรเสพและปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจารไว้ 2 อย่างคือ
กายสมาจารที่ควรเสพ และกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น
บรรดากายสมาจาร 2 อย่างนั้น กายสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ
กายสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’
กายสมาจารเช่นนี้เป็นกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
บรรดากายสมาจาร 2 อย่างนั้น กายสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ
กายสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
กายสมาจารเช่นนี้เป็นกายสมาจารที่ควรเสพ
ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวกายสมาจารไว้ 2 อย่าง คือ กาย-
สมาจารที่ควรเสพและกายสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าววจีสมาจารไว้ 2 อย่าง คือ วจี-
สมาจารที่ควรเสพและวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาวจีสมาจาร 2 อย่างนั้น วจีสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพ
วจีสมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’
วจีสมาจารเช่นนี้เป็นวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
บรรดาวจีสมาจาร 2 อย่างนั้น วจีสมาจารใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพวจี-
สมาจารนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
วจีสมาจารเช่นนี้เป็นวจีสมาจารที่ควรเสพ
ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าววจีสมาจารไว้ 2 อย่าง คือ วจีสมาจาร
ที่ควรเสพและวจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวปริเยสนาไว้ 2 อย่าง คือ ปริเยสนา
ที่ควรเสพและปริเยสนาที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :290 }