เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [8. สักกปัญหสูตร] เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน

ต่างแห่งปปัญจสัญญาเป็นแดนเกิด เมื่อมีแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงมีวิตก เมื่อไม่มี
แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญาจึงไม่มีวิตก”
ท้าวเธอทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่า
ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควรและดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”

เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน

[359] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ 2 อย่าง
คือ โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ กล่าวโทมนัสไว้ 2 อย่าง คือ โทมนัส
ที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ และกล่าวอุเบกขาไว้ 2 อย่าง คือ อุเบกขาที่ควร
เสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ
[360] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ 2 อย่าง คือ
โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาโสมนัส 2 อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ไม่ควรเสพ1
บรรดาโสมนัส 2 อย่างนั้น โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ควรเสพ2
ในโสมนัส3นั้น โสมนัสใดมีวิตก มีวิจาร4 และโสมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร5
บรรดาโสมนัส 2 อย่างนั้น โสมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า’

เชิงอรรถ :
1 โสมนัสที่ไม่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่อาศัยกามคุณ เป็นไปทางทวาร 6 (ที.ม.อ. 360/340)
2 โสมนัสที่ควรเสพ หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเนกขัมมะ วิปัสสนา อนุสสติ และปฐมฌานเป็นต้น
(ที.ม.อ. 360/340)
3 โสมนัส ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ (ที.ม.อ. 360/340)
4 โสมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นอำนาจปฐมฌาน (ที.ม.อ. 360/340)
5 โสมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌาน (ที.ม.อ.
360/340)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :287 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [8. สักกปัญหสูตร] เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน

ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโสมนัสไว้ 2 อย่าง คือ โสมนัสที่ควรเสพ
และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[361] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ 2 อย่าง คือ
โทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาโทมนัส 2 อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ โทมนัสเช่นนี้เป็น
โทมนัสที่ไม่ควรเสพ
บรรดาโทมนัส 2 อย่างนั้น โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ โทมนัสเช่นนี้เป็น
โทมนัสที่ควรเสพ
ในโทมนัสนั้น โทมนัสใดมีวิตก มีวิจาร1 และโทมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร2
บรรดาโทมนัส 2 อย่างนั้น โทมนัสที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ข้อที่เรากล่าวว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวโทมนัสไว้ 2 อย่าง คือ โทมนัสที่ควรเสพ
และโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
[362] เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘จอมเทพ เรากล่าวอุเบกขาไว้ 2 อย่าง คือ
อุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
บรรดาอุเบกขา 2 อย่างนั้น อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’ อุเบกขาเช่นนี้เป็น
อุเบกขาที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
1 โทมนัสมีวิตกมีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌานและทุติยฌาน (ที.ม.อ. 361/342)
2 โทมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นโดยตรง (ที.ม.อ. 361/342)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :288 }