เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [7. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา

เทพพวกกัฏฐกะ1ผู้มียศ เทพพวกลัมพีตกะ
เทพพวกลามเสฏฐะ เทพพวกโชติ อาสวะ2
เทพชั้นนิมมานรดี และเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีก็มา
เทพทั้ง 10 หมู่นี้แบ่งเป็น 10 พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพทั้งหมด 60 หมู่
ล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก มาแล้วตามกำหนด
ชื่อหมู่เทพและเทพพวกอื่น
ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มา (ด้วยคิด)ว่า
‘พวกเราจะเข้าพบพระนาคะ3
ผู้ไม่มีการเกิด ไม่มีกิเลสดังตะปู
ผู้ข้ามโอฆะ4ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ผู้พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมดำ
ดังดวงจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น
[341] สุพรหมและปรมัตตพรหม
ผู้เป็นบุตร5ของพระผู้ทรงฤทธิ์6ก็มาด้วย
สนังกุมารพรหมและติสสพรหมก็มายังป่าที่ประชุม

เชิงอรรถ :
1 กัฏฐกะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กถกะ (ที.ม.อ. 340/307)
2 อาสวะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาสา (ที.ม.อ. 340/307)
3 พระนาคะ เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ทำความชั่ว (ที.ม.อ. 340/307)
4 โอฆะ หมายถึงโอฆะ 4 คือ (1) กาม (2) ภพ (3) ทิฏฐิ (4) อวิชชา (ที.ม.อ. 340/307)
5 บุตร ในที่นี้หมายถึงพุทธบุตรผู้ที่เป็นอริยสาวกผู้เป็นพรหม (ที.ม.อ. 341/308)
6 พระผู้ทรงฤทธิ์ หมายถึงพระพุทธเจ้า (ที.ม.อ. 341/308)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :270 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [7. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา

ท้าวมหาพรหม 1,000 องค์ ปกครองพรหมโลก
ท้าวมหาพรหมนั้น อุบัติขึ้นในพรหมโลก
มีความรุ่งเรือง มีกายใหญ่ มียศก็มา
มีพรหม 10 องค์ ผู้เป็นใหญ่กว่าพรหม 1,000 องค์
มีอำนาจเฉพาะองค์ละอย่างก็มา
มหาพรหมชื่อหาริตะ มีบริวารห้อมล้อม
มาอยู่ท่ามกลางพรหม 1,000 องค์นั้น’
[342] เมื่อเสนามารมาถึง
พระศาสดาได้ตรัสกับพวกเทพทั้งหมดเหล่านั้น
พร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหมผู้ประชุมกันอยู่
จงดูความโง่เขลาของกัณหมาร
มหาเสนามารได้ส่งเสนามารไป
ในที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพด้วยคำว่า
“พวกท่านจงไปจับหมู่เทพผูกไว้
พวกท่านจงผูกไว้ด้วยราคะเถิด
จงล้อมไว้ทุกด้าน
ใคร ๆ อย่าได้ปล่อยให้ผู้ใดหลุดพ้นไป”
แล้วก็เอาฝ่ามือตบแผ่นดินทำเสียงน่ากลัว
(แต่) ในเวลานั้น ไม่อาจ ทำให้ใครตกอยู่ในอำนาจได้
จึงกลับไปทั้งที่เกรี้ยวโกรธ
เหมือนเมฆฝนที่บันดาลให้ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฉะนั้น
[343] พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบเหตุทั้งหมด ทรงกำหนดแล้ว
จึงรับสั่งเรียกพระสาวกผู้ยินดีในศาสนามาตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :271 }