เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [7. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา

มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (10 หมู่) คือ
สมานะ มหาสมานะ มานุสะ
มานุสุตตมะ ขิฑฑาปทูสิกะ มโนปทูสิกะ
หริ โลหิตวาสี ปารคะ และมหาปารคะผู้มียศก็มา
เทพทั้ง 10 หมู่นี้แบ่งเป็น 10 พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (10 หมู่) คือ
สุกกะ กรุมหะ อรุณะ เวฆนสะ
โอทาตคัยหะผู้เป็นหัวหน้า วิจักขณะ
สทามัตตะ หารคชะ มิสสกะผู้มียศ
และปชุนนเทวราชผู้บันดาลฝนให้ตกทั่วทุกทิศก็มา
เทพทั้ง 10 หมู่นี้แบ่งเป็น 10 พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพอีก (10 หมู่) คือ
เทพพวกเขมิยะ เทพชั้นดุสิต เทพชั้นยามา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :269 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [7. มหาสมยสูตร] การประชุมของเทวดา

เทพพวกกัฏฐกะ1ผู้มียศ เทพพวกลัมพีตกะ
เทพพวกลามเสฏฐะ เทพพวกโชติ อาสวะ2
เทพชั้นนิมมานรดี และเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีก็มา
เทพทั้ง 10 หมู่นี้แบ่งเป็น 10 พวก
ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก
มีฤทธิ์ มีความรุ่งเรือง
มีผิวพรรณงดงาม มียศ
ต่างยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
เทพทั้งหมด 60 หมู่
ล้วนมีผิวพรรณหลายหลาก มาแล้วตามกำหนด
ชื่อหมู่เทพและเทพพวกอื่น
ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มา (ด้วยคิด)ว่า
‘พวกเราจะเข้าพบพระนาคะ3
ผู้ไม่มีการเกิด ไม่มีกิเลสดังตะปู
ผู้ข้ามโอฆะ4ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ผู้พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมดำ
ดังดวงจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น
[341] สุพรหมและปรมัตตพรหม
ผู้เป็นบุตร5ของพระผู้ทรงฤทธิ์6ก็มาด้วย
สนังกุมารพรหมและติสสพรหมก็มายังป่าที่ประชุม

เชิงอรรถ :
1 กัฏฐกะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กถกะ (ที.ม.อ. 340/307)
2 อาสวะ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาสา (ที.ม.อ. 340/307)
3 พระนาคะ เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ทำความชั่ว (ที.ม.อ. 340/307)
4 โอฆะ หมายถึงโอฆะ 4 คือ (1) กาม (2) ภพ (3) ทิฏฐิ (4) อวิชชา (ที.ม.อ. 340/307)
5 บุตร ในที่นี้หมายถึงพุทธบุตรผู้ที่เป็นอริยสาวกผู้เป็นพรหม (ที.ม.อ. 341/308)
6 พระผู้ทรงฤทธิ์ หมายถึงพระพุทธเจ้า (ที.ม.อ. 341/308)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :270 }