เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [6. มหาโควินทสูตร]
พระคุณตามความเป็นจริง 8 ประการ

สิ่งไม่ควรเสพ’ ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’ ‘นี้เป็นสิ่งดำ
สิ่งขาวและสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ
ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงบัญญัติธรรมที่เป็นกุศล เป็นอกุศล
เป็นสิ่งมีโทษ เป็นสิ่งไม่มีโทษ เป็นสิ่งควรเสพ เป็นสิ่งไม่ควรเสพ
เป็นสิ่งเลว เป็นสิ่งประณีต เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว และสิ่งมีส่วน
เปรียบอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น)
นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
4. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติ
ย่อมเหมาะสมกัน น้ำจากแม่น้ำคงคากับน้ำจากแม่น้ำยมุนา
ย่อมกลมกลืนกันได้ เข้ากันได้ แม้ฉันใด ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว
แก่สาวกทั้งหลาย พระนิพพานและข้อปฏิบัติย่อมเหมาะสมกัน
ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย
องค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานอย่างนี้
ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น
5. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงได้พระเสขะทั้งหลายผู้ยังต้อง
ปฏิบัติและพระขีณาสพทั้งหลายผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเป็น
พระสหาย (แต่) ไม่ทรงติดท่านเหล่านั้น ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม
ที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วย
องค์คุณแม้เช่นนี้ผู้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมที่ยินดีการอยู่ผู้เดียว
อย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจาก
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
6. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีลาภเกิดขึ้นมากมาย ทรงมี
คำสรรเสริญเกิดขึ้นแพร่หลาย เห็นจะเทียบกับกษัตริย์ทั้งหลาย
ผู้มีพระสิริโฉมสง่าน่ารัก แต่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสวย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :230 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [6. มหาโควินทสูตร]
พระคุณตามความเป็นจริง 8 ประการ

พระกระยาหารอย่างปราศจากความมัวเมา เราไม่เคยเห็นพระ
ศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ เสวยพระกระยาหาร
อย่างปราศจากความมัวเมาอย่างนี้ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้
เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
7. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำ
อย่างนั้น ทรงมีปกติทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น
จึงชื่อว่าเป็นผู้ทรงมีปกติตรัสอย่างไรก็ทรงทำอย่างนั้น ทรงมีปกติ
ทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น1 เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบ
ด้วยองค์คุณแม้เช่นนี้ ผู้ทรงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างนี้
ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น
8. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจาก
ความแคลงใจ ผู้จบสิ้นความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไป
ตามอัชฌาสัย เราไม่เคยเห็นพระศาสดาผู้ประกอบด้วยองค์คุณ
แม้เช่นนี้ ผู้ทรงข้ามความสงสัย ปราศจากความแคลงใจ จบสิ้น
ความดำริด้วยอาทิพรหมจรรย์อันเป็นไปตามอัชฌาสัยอย่างนี้
ในอดีตกาลเลย ถึงในบัดนี้เราก็ไม่เห็น (ใครอื่น) นอกจากพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น’
[297] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระคุณตาม
ความเป็นจริง 8 ประการนี้ของพระผู้มีพระภาคแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ นัยว่า
เพราะการประกาศนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ครั้นสดับพระคุณตามความเป็นจริง 8
ประการของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงมีใจยินดี เบิกบานใจ เกิดปีติและโสมนัส
สุดจะประมาณได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในจำนวนเทพเหล่านั้น เทพบางเหล่ากล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก 4 พระองค์
และทรงแสดงธรรมเหมือนพระผู้มีพระภาคเถิดหนอ (เพราะ) การเสด็จอุบัติขึ้นและ

เชิงอรรถ :
1 คำนี้แปลมาจากคำบาลีว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที หมายถึงมีปกติตรัสอย่างที่ทรงทำ
และทรงทำอย่างที่ตรัส (ที.ม.อ. 296/269) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/23/37

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :231 }