เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [5. ชนวนสภสูตร] บริขารแห่งสมาธิ 7 ประการ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสติปัฏฐาน 4 ประการนี้แล เพื่อให้บรรลุ
กุศลธรรม’
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า

บริขารแห่งสมาธิ 7 ประการ1

[290] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติบริขารแห่ง
สมาธิ2 7 ประการนี้ แม้ที่ทรงบัญญัติอย่างดี ก็เพียงเพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ
บริขารแห่งสมาธิ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)___2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)___4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)___6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ 7 ประการนี้แวดล้อม
เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ3’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ
จึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมี
สัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. 11/330/221, สํ.ม. (แปล) 19/28/28, องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/45/68
2 บริขารแห่งสมาธิ ในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบของมรรคสมาธิ (ที.ม.อ. 290/257, องฺ.สตฺตก
อ. 3/44-45/182)
3 อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสัย ในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. 290/257, ที.ม.ฏีกา
290/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :224 }