เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [5. ชนวนสภสูตร] วิธีการบรรลุโอกาส 3 ประการ

พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบัญญัติอิทธิบาท 4 ประการนี้แล เพื่อเพิ่มพูนความสำเร็จ เพื่อให้ชำนาญ
ในเรื่องความสำเร็จ เพื่อพลิกแพลงให้เกิดความสำเร็จ
ท่านผู้เจริญ ในอดีตกาลได้มีสมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิวิธญาณ
หลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท 4 ประการนี้ ในอนาคตกาลจักมี
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิวิธญาณหลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่ม
พูนอิทธิบาท 4 ประการนี้ ในปัจจุบันก็มีสมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งได้อิทธิ-
วิธญาณหลายอย่าง เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท 4 ประการนี้ พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญไม่เห็นฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้ของเราหรือ’
พวกเทพชั้นดาวดึงส์กราบทูลว่า ‘เห็น พระเจ้าข้า’
สนังกุมารพรหมตรัสว่า ‘เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้
ก็เพราะเจริญ เพราะเพิ่มพูนอิทธิบาท 4 ประการนี้เหมือนกัน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงรับสั่งเรียก
พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า

วิธีการบรรลุโอกาส 3 ประการ

[288] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุ
โอกาส1 (ช่องว่าง) 3 ประการ ก็เพียงเพื่อให้ถึงความสุข

เชิงอรรถ :
1โอกาส ในที่นี้หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ ได้แก่ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 สัญญาเวทยิตนิโรธ 1
และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ 5 จตุตถฌาน
ปลอดจากสุขและทุกข์ วิธีการบรรลุโอกาสที่ 1 หมายถึงการบรรลุปฐมฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ 2
หมายถึงการบรรลุจตุตถฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ 3 หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรค (ที.ม.อ. 288/
255, องฺ.นวก.ฏีกา. 3/37/369)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :219 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [5. ชนวนสภสูตร] วิธีการบรรลุโอกาส 3 ประการ

วิธีการบรรลุโอกาส 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม เกี่ยวข้องด้วยอกุศล-
ธรรมอยู่ ต่อมาเขาฟังธรรมของพระอริยะ มนสิการโดย
แยบคาย1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรม
ของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วย
อกุศลธรรม สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น
แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรม
ท่านผู้เจริญ ความปราโมทย์ เกิดจากความเบิกบานใจ แม้ฉันใด
สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น (จากความบันเทิงใจ)
แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรมอยู่
ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่ 1 นี้
เพื่อให้ถึงความสุข
2. บุคคลบางคนในโลกนี้มีกายสังขาร2อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ
มีวจีสังขาร3อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ มีจิตตสังขาร4อย่าง
หยาบยังไม่สงบระงับ ต่อมา เขาฟังธรรมของพระอริยะ
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัย
การฟังธรรมของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย
อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กายสังขารอย่างหยาบ

เชิงอรรถ :
1 มนสิการโดยแยบคาย หมายถึงการคิดถูกวิธี (อุปายมนสิการ) และการคิดถูกทาง (ปถมนสิการ) (ที.ม.อ.
288/254)
2 กายสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจเข้า-ออก (ที.ม.อ. 288/255, ที.ม.ฏีกา 2/288/
264)
3 วจีสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก วิจาร (ที.ม.อ. 288/255, ที.ม.ฏีกา 2/288/264)
4 จิตตสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งจิต คือ เวทนา สัญญา (ที.ม.อ. 288/255, ที.ม.ฏีกา 2/288/264)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :220 }