เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร]
ธรรมปราสาทและสระโบกขรณี

พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดำริดังนี้ว่า ‘ในสระโบกขรณีเหล่านี้ ทางที่ดี เราน่า
จะให้ปลูกไม้ดอกเช่นนี้ คือ อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก อันผลิดอกได้ทุกฤดูกาลไว้
เพื่อมอบให้แก่ทุก ๆ คน ไม่ให้ต้องกลับมือเปล่า’ จึงรับสั่งให้ปลูกไม้ดอกเช่นนี้ คือ
อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก อันผลิดอกได้ทุกฤดูกาลไว้ เพื่อมอบให้แก่ทุก ๆ คน
ไม่ให้ต้องกลับมือเปล่า
[254] ต่อมา พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดำริดังนี้ว่า ‘ที่ขอบสระโบกขรณี
เหล่านี้ ทางที่ดี เราน่าจะตั้งเจ้าหน้าที่นหาปกะประจำไว้ ให้ทำหน้าที่เชื้อเชิญผู้
มาแล้ว ๆ ให้อาบน้ำ’ จึงทรงตั้งเจ้าหน้าที่นหาปกะประจำไว้ที่ขอบสระโบกขรณีเหล่านั้น
ให้ทำหน้าที่เชื้อเชิญผู้มาแล้ว ๆ ให้อาบน้ำ
จากนั้น ท้าวเธอทรงดำริดังนี้ว่า ‘ที่ขอบสระโบกขรณีเหล่านี้ ทางที่ดี เราน่า
จะจัดสิ่งของให้ทานเช่นนี้ คือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสำหรับผู้ต้องการน้ำ
ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสำหรับผู้ต้องการที่นอน
สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน ทองสำหรับผู้ต้องการทอง’
จึงทรงจัดสิ่งของให้ทานเช่นนี้คือ ข้าวสำหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสำหรับผู้ต้องการน้ำ
ผ้าสำหรับผู้ต้องการผ้า ยานสำหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสำหรับผู้ต้องการที่นอน
สตรีสำหรับผู้ต้องการสตรี เงินสำหรับผู้ต้องการเงิน ทองสำหรับผู้ต้องการทองไว้ที่
ขอบสระโบกขรณีเหล่านั้น
[255] อานนท์ ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคหบดีถือเอาทรัพย์สมบัติเป็น
อันมาก เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า
ทรัพย์สมบัติมากมายนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้านำมาถวายเฉพาะใต้ฝ่าละอองธุลีพระ
บาทเท่านั้น ขอพระองค์ทรงรับไว้ด้วยเถิด’
ท้าวเธอตรัสว่า ‘อย่าเลย ท่านทั้งหลายนำทรัพย์สมบัติมากมายนี้มาเพื่อเรา
ด้วยพลีอันชอบธรรม สิ่งนี้จงเป็นของพวกท่าน(ต่อไป)เถิด และจงนำกลับไปให้
มากกว่านี้’
เมืองท้าวเธอทรงปฏิเสธ พวกเขาจึงหลีกไปอยู่ ณ ที่สมควรแล้วปรึกษาหารือ
กันอย่างนี้ว่า ‘การที่พวกเราจะนำทรัพย์สมบัติเหล่านี้กลับคืนไปยังเรือนของตนอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :189 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร]
ธรรมปราสาทและสระโบกขรณี

นั้นไม่สมควร ทางที่ดี พวกเราควรช่วยกันสร้างพระราชนิเวศน์ถวายพระเจ้ามหา
สุทัสสนะ’ จึงพากันเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ
มหาราชเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะช่วยกันสร้างพระราชนิเวศน์ถวายใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาท’
ท้าวเธอทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
[256] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระราชดำริของพระเจ้า
มหาสุทัสสนะ จึงมีเทวบัญชาเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า ‘มาเถิด สหาย
วิสสุกรรม เธอจงไปสร้างพระนิเวศน์ชื่อธรรมปราสาท ถวายพระเจ้ามหาสุทัสสนะ’
วิสสุกรรมเทพบุตรทูลรับเทวบัญชาแล้ว อันตรธานจากภพดาวดึงส์ไปปรากฏ
ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น กราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะดังนี้ว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า
จะเนรมิตพระราชนิเวศน์ชื่อธรรมปราสาทถวายพระองค์’
ท้าวเธอทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
วิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตพระราชนิเวศน์ชื่อธรรมปราสาทถวายพระเจ้า
มหาสุทัสสนะ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว 1 โยชน์ ด้านทิศเหนือและ
ทิศใต้กว้างกึ่งโยชน์ มีฐานสูงกว่า 3 ชั่วบุรุษ ก่อด้วยอิฐ 4 ชนิด คือ (1) อิฐทอง
(2) อิฐเงิน (3) อิฐแก้วไพฑูรย์ (4) อิฐแก้วผลึก
ธรรมปราสาทมีเสา 84,000 ต้น แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ (1) เสาทอง
(2) เสาเงิน (3) เสาแก้วไพฑูรย์ (4) เสาแก้วผลึก ปูด้วยแผ่นกระดาน 4 ชนิด คือ
(1) กระดานทอง (2) กระดานเงิน (3) กระดานแก้วไพฑูรย์ (4) กระดานแก้วผลึก
ธรรมปราสาทมีบันได 24 บันได แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ (1) บันไดทอง
(2) บันไดเงิน (3) บันไดแก้วไพฑูรย์ (4) บันไดแก้วผลึก บันไดทองมีลูกกรงทำด้วย
ทอง ราวและหัวเสาทำด้วยเงิน บันไดเงินมีลูกกรงทำด้วยเงิน ราวและหัวเสาทำด้วย
ทอง บันไดแก้วไพฑูรย์มีลูกกรงทำด้วยแก้วไพฑูรย์ ราวและหัวเสาทำด้วยแก้วผลึก
บันไดแก้วผลึกมีลูกกรงทำด้วยแก้วผลึก ราวและหัวเสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :190 }