เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร]
ทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ 4 ประการ

จุ่มลงไปในน้ำแล้วยกหม้อที่เต็มด้วยเงินและทองขึ้นมากราบทูลท้าวเธอดังนี้ว่า
‘มหาราชเจ้า เท่านี้ก็เพียงพอ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว เท่านี้เป็นอันบูชาแล้ว’ ท้าวเธอ
ตรัสอย่างนี้ว่า ‘เท่านี้ก็เพียงพอ เท่านี้เป็นอันทำแล้ว เท่านี้เป็นอันบูชาแล้ว’ คหบดี
แก้วผู้ทรงคุณวิเศษเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ปริณายกแก้ว

[251] 7. ปริณายกแก้วซึ่งเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญาสามารถทำให้
พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไป ณ ที่ควรเสด็จไป ให้เสด็จหลีกไปยังสถานที่ที่ควร
เสด็จหลีกไป หรือให้ทรงยับยั้ง ณ สถานที่ที่ควรยับยั้ง ได้ปรากฏแก่ท้าวเธอ
เขาเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ พระองค์โปรดอย่า
กังวลพระทัยเลย ข้าพระพุทธเจ้าจะถวายคำปรึกษา” ปริณายกแก้ว ผู้ทรงคุณวิเศษ
เห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ
อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการนี้

ทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ 4 ประการ

[252] อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ (ความสำเร็จ)
4 ประการ
ฤทธิ์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวี
ผุดผ่องยิ่งนักเกินกว่าคนอื่น ท้าวเธอทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ประการ
ที่ 1 นี้
2. พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีพระชนมายุยืนยาวนานเกินกว่าคนอื่น
ท้าวเธอทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ประการที่ 2 นี้
3. พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีพระโรคาพาธน้อย มีความทุกข์น้อย
ทรงมีไฟธาตุทำงานสม่ำเสมอยิ่งกว่าคนอื่น คือไม่เย็นนักและไม่
ร้อนนัก ท้าวเธอทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ประการที่ 3 นี้
4. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของพราหมณ์
และคหบดีทั้งหลาย อานนท์ บิดาเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :187 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [4. มหาสุทัสสนสูตร]
ธรรมปราสาทและสระโบกขรณี

ทั้งหลาย ฉันใด ท้าวเธอทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของพราหมณ์
และคหบดีทั้งหลาย ฉันนั้น อนึ่ง พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของท้าวเธอ อานนท์ บุตรทั้งหลาย เป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของบิดา ฉันใด พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ก็เป็น
ที่รัก เป็นที่ชอบใจของท้าวเธอ ฉันนั้น อานนท์ เรื่องมีมาว่า
ท้าวเธอเสด็จประพาสพระราชอุทยานพร้อมด้วยหมู่จตุรงคินีเสนา
พวกพราหมณ์และคหบดีเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะกราบทูลว่า
‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์อย่าเพิ่งด่วนเสด็จไป พวกข้า
พระพุทธเจ้าจะได้เฝ้านาน ๆ’ ท้าวเธอตรัสกับสารถีว่า ‘เธอ
อย่ารีบขับรถไป เราจะได้เห็นพวกพราหมณ์และคหบดีนาน ๆ’
ท้าวเธอทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ประการที่ 4 นี้
อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ 4 ประการนี้

ธรรมปราสาทและสระโบกขรณี

[253] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี
เราน่าจะขุดสระโบกขรณี มีระยะห่างกันสระละ 100 ชั่วธนู ที่ระหว่างต้นตาลเหล่านี้’
แล้วรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี มีระยะห่างกันสระละ 100 ชั่วธนู ที่ระหว่างต้นตาล
เหล่านั้น สระโบกขรณีเหล่านั้นก่อด้วยอิฐ 4 ชนิด ได้แก่ (1) อิฐทอง (2) อิฐเงิน
(3) อิฐแก้วไพฑูรย์ (4) อิฐแก้วผลึก
สระโบกขรณีเหล่านั้น แต่ละสระมีบันได 4 บันได แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
(1) บันไดทอง (2) บันไดเงิน (3) บันไดแก้วไพฑูรย์ (4) บันไดแก้วผลึก บันไดทอง
มีลูกกรงทำด้วยทอง ราวและหัวเสาทำด้วยเงิน บันไดเงินมีลูกกรงทำด้วยเงิน
ราวและหัวเสาทำด้วยทอง บันไดแก้วไพฑูรย์มีลูกกรงทำด้วยแก้วไพฑูรย์ ราวและ
หัวเสาทำด้วยแก้วผลึก บันไดแก้วผลึกมีลูกกรงทำด้วยแก้วผลึก ราวและหัวเสา
ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ สระโบกขรณีเหล่านั้น มีรั้วล้อม 2 ชั้น คือ (1) รั้วทอง (2) รั้วเงิน
รั้วทองมีเสาทำด้วยทอง ราวและหัวเสาทำด้วยเงิน รั้วเงินมีเสาทำด้วยเงิน ราวและ
หัวเสาทำด้วยทอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :188 }