เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร]
กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ 16 ประการ

หรือสิ่งไม่สะอาดใด ๆ เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย เหมือน
แก้วมณีที่บุคคลวางไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่ทำให้ผ้ากาสิกพัสตร์
แปดเปื้อน ถึงผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำให้แก้วมณีแปดเปื้อน ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของสะอาดบริสุทธิ์ ฉันใด เวลา
ที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา เสด็จออกโดยง่าย
ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ เมือก เลือด หรือสิ่งไม่สะอาดใด ๆ เป็นผู้
สะอาดบริสุทธิ์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้
[30] 14. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ
พระมารดา มีธารน้ำปรากฏในอากาศ 2 สาย คือ ธารน้ำเย็นและ
ธารน้ำอุ่น เพื่อชำระล้างพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้เป็นกฎ
ธรรมดาในเรื่องนี้
[31] 15. มีกฎธรรมดาดังนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่หนึ่ง ทรงยืนได้
อย่างมั่นคงด้วยพระบาททั้งสองที่เสมอกัน ทรงผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศเหนือ ทรงดำเนินไป 7 ก้าว ขณะที่หมู่เทวดากั้นเศวตฉัตรตาม
เสด็จ ทอดพระเนตรไปยังทิศต่าง ๆ แล้ว ทรงเปล่งพระอาสภิวาจา
(วาจาอย่างองอาจ)ว่า ‘เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุด
ของโลก เราคือผู้ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’ ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาในเรื่องนี้
[32] 16. มีกฎธรรมดาดังนี้ เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของ
พระมารดา แสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ปรากฏขึ้นในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพ แม้ใน
ช่องว่างระหว่างโลกซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด หรือที่ที่ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ส่องแสงไปไม่ถึง
ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ปรากฏขึ้น ล่วงเทวานุภาพของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [1. มหาปทานสูตร] ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ

เหล่าเทพ เพราะแสงสว่างนั้น เหล่าสัตว์ที่เกิดในที่นั้น ๆ จึงรู้จักกัน
และกันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดในที่นี้เหมือนกัน’ และ 10 สหัสสี-
โลกธาตุนี้สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณ
มิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพ ข้อนี้เป็นกฎ
ธรรมดาในเรื่องนี้

ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ1

[33] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้ว พวกอำมาตย์
ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมาว่า ‘ขอเดชะ พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว
โปรดทอดพระเนตรเถิด’ พระเจ้าพันธุมาได้ทอดพระเนตรวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่ง
ให้เชิญพราหมณ์โหราจารย์มาตรัสว่า ‘พราหมณ์โหราจารย์ จงทำนายวิปัสสีราช-
กุมาร’
พวกพราหมณ์โหราจารย์เห็นพระวิปัสสีราชกุมารแล้วได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมา
ว่า ‘ขอเดชะ โปรดพอพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้นเป็นผู้มี
ศักดิ์ใหญ่ นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของพระองค์ผู้ได้พระราชโอรสเช่นนี้อยู่ในราชตระกูล
เพราะพระราชกุมารนี้สมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ที่เป็นเหตุให้
มหาบุรุษมีคติ2 2 อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
1. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว
7 ประการ คือ (1) จักรแก้ว (2) ช้างแก้ว (3) ม้าแก้ว (4) มณีแก้ว
(5) นางแก้ว (6) คหบดีแก้ว (7) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส
มากกว่า 1,000 องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็น

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.สี. (แปล) 9/258/89-90, ที.ปา. 11/199-200/123-125, ม.มู. 13/186/368-370
2 คติ มีความหมายหลายนัย คือ (1) ที่ที่สัตว์จะไปเกิด (2) อัธยาศัย (3) ที่พึ่ง (4) ความสำเร็จ ในที่นี้
หมายถึงความสำเร็จ คือบรรลุผลตามจุดหมาย (ที.ม.อ. 33/37)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :15 }