เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [3. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท 4 ประการ

[180] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมนิโครธ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่เหวทิ้งโจร เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ
เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่เงื้อมสัปปโสณฑิกะ ในสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่ตโปทาราม
เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ
เราอยู่ที่ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯลฯ เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์
ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์ โคตมนิโครธน่ารื่นรมย์ เหวทิ้งโจรน่ารื่นรมย์ ถ้ำสัตตบรรณ
ข้างภูเขาเวภาระน่ารื่นรมย์ กาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิน่ารื่นรมย์ เงื้อมสัปปโสณฑิกะ
ในสีตวันน่ารื่มรมย์ ตโปทารามน่ารื่นรมย์ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแตน่ารื่นรมย์
ชีวกัมพวันน่ารื่นรมย์ มัททกุจฉิมฤคทายวันน่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท 4 ผู้ใด
ผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป
อิทธิบาท 4 ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ 1 กัป
หรือเกินกว่า 1 กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพ
อยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ต่อไปตลอดกัป เพื่อประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง
2 ครั้ง พอครั้งที่ 3 ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็น
ความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
[181] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท 4 ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป อิทธิบาท 4 ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :128 }


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [3. มหาปรินิพพานสูตร]
ทรงแสดงอานุภาพของอิทธิบาท 4 ประการ

ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อ
มุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง
ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่
ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต
ตถาคตจะห้ามเธอเพียง 2 ครั้ง พอครั้งที่ 3 ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ
อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความบกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ
[182] อานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่
ที่สัตตัมพเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ
เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ฯลฯ เราอยู่ที่ปาวาลเจดีย์ วันนี้เมื่อกี้เอง
ณ ปาวาลเจดีย์ เราได้เรียกเธอมากล่าวว่า ‘อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทน-
เจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์
น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ อานนท์ อิทธิบาท 4
ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดี ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป
อิทธิบาท 4 ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ 1 กัป
หรือเกินกว่า 1 กัป’ เมื่อตถาคตทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้ เธอก็
ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่วิงวอนตถาคตว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่
ตลอดกัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะห้ามเธอเพียง 2 ครั้ง
พอครั้งที่ 3 ตถาคตจะรับนิมนต์ เหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้จึงเป็นความ
บกพร่องของเธอ เรื่องนี้เป็นความผิดของเธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :129 }