เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา 3 หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา 2 หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา จนจบเสร็จสิ้นแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา 3 หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณา 2 หน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณาหนเดียว ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณาออกมา
แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน ถ้าภิกษุกล่าวเปล่งคำปวารณา
ออกมา แต่ยังไม่จบเสร็จสิ้น งดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด
ภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างนี้แล

เรื่องงดปวารณาของภิกษุ
[237] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของ
ภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกาย
ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา
ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ
อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :379 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม” สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย” แล้วจึงปวารณา

เรื่องเหตุผลในการงดปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุงดปวารณาของภิกษุเสีย
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า “ท่านรูปนี้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เมื่อถูก
ซักถาม สามารถตอบข้อซักถามได้” สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านงดปวารณา
ของภิกษุนี้ทำไม งดเพราะเรื่องอะไร งดเพราะสีลวิบัติ หรืองดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมงดเพราะสีลวิบัติบ้าง งดเพราะอาจารวิบัติบ้าง
งดเพราะทิฏฐิวิบัติบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :380 }