เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 78. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกไว้ว่า จักทำอุโบสถ
กรรมชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม ดังนี้ พวกเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล

78. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
ว่าด้วยการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อเป็นต้น

เรื่องประเภทแห่งปาติโมกขุทเทส
[150] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า “การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
มีเท่าไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงนี้มี
5 แบบ คือ
1. ภิกษุยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท1นี้
เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ 1
2. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ 2
3. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13 ขึ้น
แสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นการยก
ปาติโมกข์แบบที่ 3

เชิงอรรถ :
1 การประกาศ สุตบท คือ การยกนิทานขึ้นแสดงสอบถามย้ำถึงความบริสุทธิ์ของแต่ละท่าน ในธรรม
เหล่านั้น ๆ แล้วประกาศอุทเทสที่เหลือโดยสุตบทอย่างนั้นว่า “ธรรม คือ ปาราชิก 4 ธรรมคือสังฆาทิเสส
13 ธรรมคืออนิยต 2 ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ธรรมคือปาจิตตีย์ 92 ธรรมคือปาฏิเทสนียะ
4 ธรรมคือเสขิยะ 75 ธรรมคืออธิกรณสมถะ 7 ท่านทั้งหลายได้ฟังแล้ว สิกขาบทของพระผู้มีพระภาค
นั้นมีเท่านี้ มาในสูตร นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตรนั้นเทอญ” (วิ.อ. 3/150/131)
สุตบทในอีก 4 วิธีที่เหลือ มีนัยเหมือนกับวิธีที่ 1 เพียงแต่ยกขึ้นแสดงจบตอนใดแล้ว ก็ไม่ต้องประกาศ
ตอนนั้นไว้ในสุตบทอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :228 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 78. สังขิตตปาติโมกขุทเทสาทิ
4. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก 4 ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส 13
ขึ้นแสดง ยกอนิยต 2 ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นการยกปาติโมกข์แบบที่ 4
5. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด นี้เป็นการยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แบบที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงมี 5 แบบเหล่านี้แล”1

ทรงห้ามยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงโดยย่อ” จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อทุกครั้ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
ภิกษุสงฆ์หมู่ใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องทรงอนุญาตให้ยกปกติโมกข์ขึ้นแสดงโดยย่อ
เมื่อชาวป่ามาพลุกพล่าน
สมัยนั้น ณ อาวาสแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ในวันอุโบสถนั้น มีชาวป่ามาพลุกพล่าน
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงโดยพิสดาร จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 การยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทั้ง 5 แบบนี้ สรุปเรียกชื่อเป็นภาษาเฉพาะว่า
1. แบบที่ 1 เรียกว่า นิทานุทเทส
2. แบบที่ 2 เรียกว่า ปาราชิกุทเทส
3. แบบที่ 3 เรียกว่า สังฆาทิเสสุทเทส
4. แบบที่ 4 เรียกว่า อนิยตุทเทส
5. แบบที่ 5 เรียกว่า วิตถารุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :229 }