เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 69. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
คำว่า ท่านรูปใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติตัวใดตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ 5 กอง หรือ มีอาบัติตัวใด
ตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ 7 กอง
คำว่า ท่านรูปนั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุรูปนั้นพึงแสดง ภิกษุรูปนั้นพึง
เปิดเผย ภิกษุรูปนั้นพึงทำให้กระจ่าง ภิกษุรูปนั้นพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
อาบัติที่ชื่อว่าไม่มี ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุมิได้ล่วงละเมิด หรือว่าต้องแต่ออกแล้ว
คำว่า พึงนิ่ง คือ พึงอยู่เฉย ไม่พึงกล่าว
คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่า....เป็นผู้บริสุทธิ์ คือ จักรู้ จักจำไว้
คำว่า เป็นเหมือนการเปิดเผยอาบัติของภิกษุแต่ละรูปที่ถูกถาม ความว่า
บริษัทนั้นพึงรู้ว่า จะถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูปหนึ่งได้ถูกภิกษุอีกรูปหนึ่งถาม
ก็พึงตอบ
บริษัทเช่นนี้ ตรัสหมายถึงภิกษุบริษัท
คำว่า การสวดประกาศถึง 3 ครั้ง ความว่า สวดประกาศแม้ครั้งที่ 1 สวด
ประกาศแม้ครั้งที่ 2 สวดประกาศแม้ครั้งที่ 3
คำว่า ระลึกได้ คือ รู้อยู่ จำได้อยู่
อาบัติที่ชื่อว่ามีอยู่ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้ว หรือที่ต้องแล้ว
ยังมิได้ออก
คำว่า ยังไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย ไม่ยอมทำ
ให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
คำว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ เป็นอาบัติอะไรเพราะ
สัมปชานมุสาวาท เป็นอาบัติทุกกฏ
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่ทำอันตราย ความว่า เป็นธรรมที่
ทำอันตรายต่ออะไร เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุปฐมฌาน เป็นธรรมที่ทำ
อันตรายต่อการบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุตติยฌาน เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :211 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 69. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
ธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุฌาน
วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม
คำว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุนั้น
คำว่า ระลึกได้ คือ รู้อยู่ จำได้อยู่
คำว่า หวังความบริสุทธิ์ คือ ประสงค์ออกจากอาบัติ ต้องการความหมดจด
อาบัติที่ชื่อว่ามีอยู่ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุล่วงละเมิด หรือที่ต้องแล้วยังมิได้ออก
คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ
หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ความว่า
ความผาสุกย่อมมีเพื่ออะไร ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุกย่อมมี
เพื่อบรรลุทุติยฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อ
บรรลุจตุตถฌาน ความผาสุกย่อมมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ
นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม

เรื่องภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
[136] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงในวันอุโบสถแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงทุกวัน
รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในวันอุโบสถ”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในวันอุโบสถแล้ว จึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงปักษ์ละ 3 ครั้ง คือ ในวัน 14 ค่ำ
วัน 15 ค่ำ และวัน 8 ค่ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :212 }