เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 69. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
จงใส่ใจปาติโมกข์นั้น ท่านรูปใดมีอาบัติ ท่านรูปนั้นพึงเปิดเผย เมื่อไม่มีอาบัติ
พึงนิ่ง ด้วยความเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้าจักทราบว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็การ
สวดประกาศถึง 3 ครั้ง ในบริษัทเช่นนี้เป็นเหมือนการเปิดเผยอาบัติของภิกษุแต่ละ
รูปที่ถูกถาม ก็เมื่อกำลังสวดประกาศถึงครั้งที่ 3 ภิกษุใดระลึกได้ ยังไม่ยอมเปิดเผย
อาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็สัมปชาน
มุสาวาท1 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่ทำอันตราย เพราะฉะนั้น ภิกษุ
ต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ ก็พึงเปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ เพราะเปิด
เผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น

นิทานุทเทสวิภังค์
[135] คำว่า ปาติโมกข์ นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นประธาน นี้เป็นประมุขแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์
คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก นี้เป็นคำกล่าวด้วยความ
เคารพ นี้เป็นคำเรียกบุคคลผู้มีความเคารพและมีความยำเกรง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลาย
คำว่า จักยกขึ้นแสดง คือ จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักเริ่มตั้ง จักเปิดเผย
จักจำแนก จักทำให้กระจ่าง จักประกาศ
คำว่า นั้น ตรัสหมายถึงปาติโมกข์
คำว่า บรรดาที่มีอยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นเป็นเถระก็ตาม เป็น
นวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม มีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสหมายถึงภิกษุที่มีอยู่ทั้งหมด
คำว่า จงฟังให้ดี ความว่า จงทำให้เป็นประโยชน์ ทำไว้ในใจ รวบรวมเรื่อง
ทั้งหมดด้วยใจ
คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงมีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่ซัดส่าย ตั้งใจฟัง

เชิงอรรถ :
1 สัมปชานมุสาวาท คือ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ (ดู วิ.มหา. (แปล) 2/2-3/186-187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :210 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 69. ปาติโมกขุทเทสานุชานนา
คำว่า ท่านรูปใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติตัวใดตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ 5 กอง หรือ มีอาบัติตัวใด
ตัวหนึ่ง บรรดาอาบัติ 7 กอง
คำว่า ท่านรูปนั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุรูปนั้นพึงแสดง ภิกษุรูปนั้นพึง
เปิดเผย ภิกษุรูปนั้นพึงทำให้กระจ่าง ภิกษุรูปนั้นพึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
อาบัติที่ชื่อว่าไม่มี ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุมิได้ล่วงละเมิด หรือว่าต้องแต่ออกแล้ว
คำว่า พึงนิ่ง คือ พึงอยู่เฉย ไม่พึงกล่าว
คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่า....เป็นผู้บริสุทธิ์ คือ จักรู้ จักจำไว้
คำว่า เป็นเหมือนการเปิดเผยอาบัติของภิกษุแต่ละรูปที่ถูกถาม ความว่า
บริษัทนั้นพึงรู้ว่า จะถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูปหนึ่งได้ถูกภิกษุอีกรูปหนึ่งถาม
ก็พึงตอบ
บริษัทเช่นนี้ ตรัสหมายถึงภิกษุบริษัท
คำว่า การสวดประกาศถึง 3 ครั้ง ความว่า สวดประกาศแม้ครั้งที่ 1 สวด
ประกาศแม้ครั้งที่ 2 สวดประกาศแม้ครั้งที่ 3
คำว่า ระลึกได้ คือ รู้อยู่ จำได้อยู่
อาบัติที่ชื่อว่ามีอยู่ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุล่วงละเมิดแล้ว หรือที่ต้องแล้ว
ยังมิได้ออก
คำว่า ยังไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย ไม่ยอมทำ
ให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง
คำว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ เป็นอาบัติอะไรเพราะ
สัมปชานมุสาวาท เป็นอาบัติทุกกฏ
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมที่ทำอันตราย ความว่า เป็นธรรมที่
ทำอันตรายต่ออะไร เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุปฐมฌาน เป็นธรรมที่ทำ
อันตรายต่อการบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมที่ทำอันตรายต่อการบรรลุตติยฌาน เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :211 }