เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 36. อุปาลิทารกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก
ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ
เหตุใดหรือ”
ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

เรื่องทรงห้ามกุลบุตรอายุหย่อนกว่า 20 ปีอุปสมบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ ก็ยังให้บุคคลอายุ
หย่อนกว่า 20 ปีอุปสมบทจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้นรู้อยู่แต่ก็ยังให้บุคคลอายุหย่อนกว่า 20 ปีอุปสมบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า 20 ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย
คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน
ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ 20 ปี
จึงจะอดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจาก
เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึก
ทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบ
จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นแล้วได้ทรงแสดง
ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลผู้มี
อายุหย่อนกว่า 20 ปี อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท พึงปรับอาบัติตามธรรม1”

เชิงอรรถ :
1 ตามธรรม คือ ตามความผิด,ตามโทษานุโทษ ในที่นี้ ปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ 5
แห่งสัปปาณกวรรค (วิ.มหา. (แปล) 2/403/515)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :154 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 37. อหิวาตกโรควัตถุ
37. อหิวาตกโรควัตถุ
ว่าด้วยอหิวาตกโรค

กำหนดอายุผู้บรรพชาเป็นสามเณร
[100] สมัยนั้น ครอบครัวหนึ่งได้ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียง
บิดากับบุตร คนทั้ง 2 ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุแล้วเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน ครั้งนั้น
เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้บิดา สามเณรน้อยก็วิ่งไปหาแล้วได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็น
บิดานั้นว่า “พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยแม้รูปนี้คงจะเกิดจาก
ภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า 15 ปี
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องบรรพชาให้เด็กอายุหย่อนกว่า 15 ปีของตระกูลมีศรัทธา
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ถึงแก่กรรม
ด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียงเด็กชาย 2 คน เด็กชายทั้ง 2 เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว
ก็วิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ไล่ไปเสีย เด็กทั้ง 2
เมื่อถูกภิกษุไล่ก็ร้องไห้ ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า 15 ปี ไม่พึงให้บรรพชา ก็เด็ก
ทั้ง 2 คนนี้มีอายุหย่อนกว่า 15 ปี ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เด็กทั้ง 2 นี้จึงจะไม่
เสียโอกาส” ทีนั้นท่านพระอานนท์จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ก็เด็กทั้ง 2 นั้นสามารถไล่กาได้ไหม”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :155 }