เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 32. ลักขณาหตวัตถุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรจึงให้โจรผู้ถูกออกหมายจับบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายจับไม่พึงให้
บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

31. กสาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา
[94] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

32. ลักขณาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษถูกสักหมายโทษบรรพชา
[95] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาสักหมายโทษได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :149 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 33. อิณายิกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษไม่พึง
ให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

33. อิณายิกวัตถุ
ว่าด้วยลูกหนี้บรรพชา
[96] สมัยนั้น ชายผู้เป็นลูกหนี้1คนหนึ่งได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกเจ้า
ทรัพย์พบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น เอาเถอะ
พวกเราจงจับภิกษุนั้นไว้”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไร
มิได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุด
ทุกข์โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้คนมีหนี้บรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนมีหนี้ไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
1 หนี้ ในที่นี้หมายเอาทั้งหนี้ที่บุคคลนั้น ๆ ยืมมาเองและหนี้ที่บิดาและปู่ของบุคคลนั้นยืมไว้ก่อนแล้ว จะให้
บุคคลผู้มีหนี้เช่นนี้บรรพชาไม่ควร แต่ถ้ามีญาติและคนมีสายสัมพันธ์รับภาระหนี้แทน จะให้บุคคลเช่นนี้
บรรพชา ควรอยู่ (วิ.อ. 3/96/61)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :150 }