เมนู

ตัวอย่างสำนวนสนามหลวง


ประจำปี 2544


ประโยค 1-2
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544
แปลโดยพยัญชนะ

1. จกฺขุปาลตฺถรวตฺถุ
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทนฺติ
อยํ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ ฯ สาวตฺถิยํ ฯ กํ อารพฺภาติ ฯ จกฺขุปาลตฺเถรํ ฯ
สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏุมฺพิโก อโสหิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค อปุตฺตโก ฯ
โส เอกทิวสํ นหานติตฺถํ คนฺตฺวา นหาตฺวา อาคจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค สมฺปนฺนสาขํ เอกํ วนปฺปตึ ทิสฺวา
อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสตีติ ตสฺส เหฏฺฐาภาคํ โสธาเปตฺวา ปาการปริกฺเขปํ การาเปตฺวา
วาลุกํ โอกิราเปตฺวา ธชปตากํ อุสฺสาเปตฺวา วนปฺปตึ อลงฺกริตฺวา ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิตฺวา ตุมฺหากํ
มหาสกฺการํ กริสฺสามีติ ปตฺถนํ กตฺวา ปกฺกามิ ฯ
แปล โดยอรรถ
2. อถ เสฺว มม ธีตา คมิสฺสตีติ คพฺเภ นิสินฺโน ธีตรํ สมีเป นิสีทาเปตฺวา อมฺม ปติกุเล
วสนฺติยา นาม อิมญฺจ อิมญฺจ อาจารํ รกฺขิตุํ วฏฺฏตีติ โอวาทํ อทาสิ ฯ อยมฺปิ มิคารเสฏฺฐี อนนฺตรคพฺเภ
นิสินฺโน ธนญฺชยเสฏฺฐิโน โอวาทํ อสฺโสสิ ฯ โสปิ เสฏฺฐี ธีตรํ เอวํ โอวทิ อมฺม สสุรกุเล วสนฺติยา นาม อนฺโตอคฺคิ

พหิ น นีหริตพฺโพ พหิอคฺคิ อนฺโต น ปเวเสตพฺโพ ททนฺตสฺเสว ทาตพฺพํ อททนฺตสฺส น ทาตพฺพํ ททนฺตสฺสาปิ
อททนฺตสฺสาปิ ทาตพฺพํ, สุขํ นิสีทิตพฺพํ, สุขํ ภุญฺชิตพฺพํ, สุขํ นิปชฺชิตพฺพํ, อคฺคิ ปริจริตพฺโพ, อนฺโตเทวตา
นมสฺสิตพฺพาติ อิมํ ทสวิธํ โอวาทํ ทตฺวา ปุนทิวเส สพฺพา เสนิโย สนฺนิปาเตตฺวา ราชเสนาย มชฺเฌ อฏฺฐ
กุฏุมฺพิเก ปาฏิโภเค คเหตฺวา สเจ เม คตฏฺฐาเน ธีตุ โทโส อุปฺปชฺชติ ตุมฺเหหิ โสเธตพฺโพติ วตฺวา
นวโกฏิอคฺฆนเกน มหาลตาปสาธเนน ธีตรํ ปสาเธตฺวา นหานจุณฺณมูลกํ จตุปฺปณฺณสโกฏิธนํ ทตฺวา ยานํ
อาโรเปตฺวา สาเกตสฺส สามนฺตา อตฺตโน สนฺตเกสุ อนุราธปุรมตฺเตสุ จุทฺทสสุ ภุตฺตคาเมสุ เภริญฺจาราเปสิ มม ธีตรา
สทฺธึ คนฺตุกามา คจฺฉนฺตูติ ฯ สทฺทํ สุตฺวา ว อมฺหากํ อยฺยาย คมนกาเล กึ อมฺหากํ อิธาติ จุทฺทสคามา กิญฺจิ
อเสเสตฺวา นิกฺขมึสุ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค 1-2
แปล มคธเป็นไทย
แปลโดยพยัญชนะ
1. อ. เรื่องของพระเถระชื่อว่าจักขุบาล อันข้าพเจ้า จะกล่าว ฯ อ. อันถามว่า อ. พระธรรม
เทศนานี้ว่า
อ. ธรรม ท. มีใจเป็นสภาพถึงก่อน มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วด้วยใจ
หากว่า อ. บุคคล มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่หรือ หรือว่า
กระทำอยู่ ไซร้ อ. ทุกข์ ย่อมไปตาม ซึ่งบุคคลนั้น เพราะทุจริต
มีอย่าง 3 นั้น เพียงดัง อ. ล้อ หมุนไปตามอยู่ ซึ่งรอยเท้า แห่งโคตัวเนื่อง
ด้วย กำลัง ตัวนำไปอยู่ ซึ่งแอก ดังนี้
อันพระศาสดา ตรัสแล้ว ในที่ไหน ดังนี้ ฯ อ. อันตอบว่า อ. พระธรรมเทศนานี้ อันพระศาสดา
ตรัสแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ดังนี้ ฯ อ. อันถามว่า อ. พระธรรมเทศนานี้ อันพระศาสดา ทรงปราภซึ่งใคร
ตรัสแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ดังนี้ ฯ อ. อันตอบว่า อ. พระธรรมเทศนานี้ อันพระศาสดา ทรงปราภซึ่งพระ
เถระชื่อว่าจักขุบาล ตรัสแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ดังนี้ ฯ
ได้ยินว่า อ. เศรษฐีชื่อว่ามหาสุวรรณ เป็นผู้มีขุมทรัพย์ เป็นผู้มั่งคั่ง เป็นผู้มีทรัพย์มาก เป็นผู้มีโภคะ
มาก เป็นผู้มีบุตรหามิได้ ได้มีแล้ว ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี ฯ ในวันหนึ่ง อ. เศรษฐีนั้น ไปแล้ว สู่ท่าเป็นที่อาบ
อาบแล้ว มาอยู่ เห็นแล้ว ซึ่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่าต้นหนึ่ง มีกิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ในระหว่างแห่งหนทาง คิดแล้วว่า
อ. ต้นไม้นี้ จักเป็นต้นไม้อันเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ถือเอารอบแล้ว จักเป็น ดังนี้ ยังบุคคลให้ชำระแล้ว ซึ่งส่วนภายใต้
แห่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่านั้น ยังบุคคลให้กระทำแล้ว ซึ่งเครื่องล้อมคือกำแพง ยังบุคคลให้เกลี่ยแล้ว ซึ่งทราย
ยังบุคคลให้ยกขึ้นแล้ว ซึ่งธงชัยและธงแผ่นผ้า กระทำให้พอแล้ว ซึ่งต้นไม้อันเป็นเจ้าแห่งป่า กระทำแล้ว
ซึ่งความปรารถนาว่า อ. เรา ได้แล้ว ซึ่งบุตรหรือ หรือว่าซึ่งธิดา จักกระทำ ซึ่งสักการะใหญ่ แก่ท่าน ดังนี้
หลีกไปแล้ว ฯ

แปลโดยอรรถ
2. ลำดับนั้น เศรษฐี คิดว่า ลูกสาวของเราจักไปในวันพรุ่งนี้ นั่งอยู่ในห้อง ให้ลูกสาวนั่งในที่ใกล้ ได้ให้
โอวาทว่า แม่ ธรรมดาลูกสะใภ้ผู้อยู่ในตระกูลผัว สมควรรักษามารยาทนี้และนี้ ดังนี้ ฯ มิคารเศรษฐีแม้นี้ นั่งในห้อง
ติดกัน ก็ได้ยินโอวาทของธนัญชัยเศรษฐีแล้ว ฯ ฝ่ายเศรษฐีนั้น ได้กล่าวสอนลูกสาวอย่างนี้แล้ว ได้ให้โอวาท 10
ข้อนี้ว่า แม่ ธรรมดาลูกสะใภ้ผู้อยู่ในตระกูลพ่อผัว ไฟในไม่ควรนำออกไปภายนอก ไฟนอกไม่ควรนำให้เข้ามาภาย
ใน ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้ ทั้งแก่คนที่ไม่ให้ ควรนั่งให้เป็นสุข
ควรบริโภคให้เป็นสุข ควรนอนให้เป็นสุข ควรบำเรอไฟ ควรนอบน้อมเทวดาภายใน ดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ให้เรียก
ประชุมเสนาทั้งหมดแล้ว ยึดถือกุฏุมพี 8 คน ให้เป็นผู้ค้ำประกัน ในท่ามกลางราชเสนาแล้ว กล่าวว่า ถ้าว่า โทษเกิด
ขึ้นแก่ลูกสาวของเราในที่ที่ไปแล้ว ท่านทั้งหลายพึงชำระ ดังนี้แล้ว ประดับลูกสาวด้วยเครื่องประดับชื่อมหาลดา
ซึ่งมีค่า 9 โกฏิ (90 ล้าน) ในทรัพย์ 54 โกฏิ (540 ล้าน) เป็นมูลค่าจุณสำหรับอาบน้ำ ให้ขึ้นสู่ยานแล้ว ให้คนเที่ยว
ตีกลองป่าวประกาศในหมู่บ้านส่วน 14 ตำบล ประมาณเท่ากับอนุราธบุรี อันเป็นของตน โดยรอบเมืองสาเกต ว่า
คนทั้งหลายผู้ต้องการจะไปกับธิดาของเรา ก็จงไปเถิด ฯ ชาวบ้าน 14 ตำบล พอได้ยินเสียง ก็พอกันคิดว่า
ในกาลที่แม่เจ้าของพวกเราไปแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราในที่นี้ ดังนี้ จึงพอกันออกไปไม่เหลืออะไรไว้ ฯ


พระเทพมุนี ธมฺมรตโน วัดปากน้ำ เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค 1-2
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
สอบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
1. คำว่า อักขระ ๆ นั้น ว่าตามที่นักปราชญ์ท่านประสงค์ แบ่งเป็นกี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ
2. พยัญชนะที่มีเสียงก้อง เรียกว่าอะไร ฯ ที่มีเสียงไม่ก้องเรียกว่าอะไร ?
3. นามนามแบ่งเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง ฯ
4. ในกิริยาอาขยาตนั้น แบ่งกาลที่เป็นประธานได้กี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ
5. กิตก์นั้น เป็นชื่อของศัพท์ประเภทไหน ฯ มีกี่อย่าง ฯ อะไรบ้าง ฯ
6. กัมมธารยสมาสได้แก่ศัพท์ประเภทไหน ?
7. ในภาวตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ให้เวลา 3 ชั่วโมง

เฉลย ประโยค 1-2
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
1. อักขระ ว่าตามที่นักปราชญ์ท่านประสงค์ แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ เป็นเสียงอย่างหนึ่ง เป็นตัว
หนังสืออย่างหนึ่ง ฯ
2. พยัญชนะที่มีเสียงก้องเรียกว่า โฆสะ พยัญชนะที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆสะ ฯ
3. นามนาม แบ่งเป็น 2 คือ สาธารณนาม 1 อสาธารณนาม 1
4. ในกิริยาอาขยาตนั้น แบ่กงาลที่เป็นประธานได้ 3 คือ
- กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เรียกว่า ปัจจุบันกาล 1
- กาลล่วงแล้ว เรียกว่า อดีตกาล 1
- กาลยังมาไม่ถึง เรียกว่า อนาคตกาล 1 ฯ
5. กิตก์นั้น เป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบปัจจัยหมู่หนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความของ
นามศัพท์ และกิริยาศัพท์ที่ต่าง ๆ กัน มี 2 อย่าง คือ เป็นนามศัพท์อย่าง 1 เป็นกิริยาศัพท์
อย่าง 1
6. กัมมธารยสมาส ได้แก่นามศัพท์ 2 บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน
คือเป็นนามนาม บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง 2 บท มีบทอื่นเป็น
ประธาน ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน ชื่อกัมมธารยสมาส ฯ
7. ในภาวตัทธิต มีปัจจัย 6 ตัว ตฺต, ณฺย, ตฺตน, ตา, ณ, กณฺ ฯ

พระราชปริยัติดิลก อินฺทปญฺโญ วัดบพิตรพิมุข เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 3
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 19 กุมภาภันธ์ 2544
แปล โดยพยัญชนะ
1. อถ นํ สตฺถา อาสยานุสยาญาณํ นาเมตํ ปารมิโย ปูเรตฺวา ทสสหสฺสโลกธาตุํ อุนฺนาเทตฺวา
สพฺพญฺญุตํ ปตฺตานํ พุทฺธานํเยว โหตีติ วตฺวา กตรกุลา นุ โข เอส ปพฺพชิโตติ อาวชฺชนฺโต สุวณฺณการกุลาติ
ญตฺวา อตีเต อตฺตภาเว โอโลกเกนฺโต ตสฺส สุวณฺณการกุเลเยว ปฏิปาฏิยา นิพฺพตฺตานิ ปญฺจ อตฺตภาวสตานิ ทิสฺวา
อิมินา ทหเรน ทีฆรตฺตํ สุวณฺณการกมฺมํ กโรนฺเตน กณฺณิการปุปฺผปทุมปุปฺผาททีนิ กริสฺสามีติ รตฺตสุวณฺณเมว
สมฺปริวตฺติตํ อิมสฺส อสุภปฏิกูลกมฺมฏฺฐานํ น วฏฺฏติ มนาปเมวสฺส กมฺมกฺฐานสปฺปายนฺติ จินฺเตตฺวา สารีปุตฺต
ตยา กมฺมฏฺฐานํ ทตฺวา จตฺตาโร มาเส กิลมิตํ ภิกฺขุํ อชฺช ปจฺฉาภตฺเตเยว อรหตฺตํ ปตฺตํ ปสฺสิสฺสสิ คจฺฉ
ตฺวนฺติ เถรํ อุยฺโยเชตฺวา อิทฺธิยา จกฺกมตฺตํ สุวณฺณปทุมํ มาเปตฺวา ปตฺเตหิ เจว นาเฬน จ อุทกพินฺทูนิ
มุญฺจนฺตํ วิย กตฺวา หนฺท ภิกฺขุ อิมํ ปทุมํ อาทาย วิหารปจฺจนฺเต วาลุกราสิมฺหิ ฐเปตฺวา สมฺมุขฏฺฐาเน
ปลฺลงฺเกน นิสีทิตฺวา โลหิตกํ โลหิตกนฺติ ปริกมฺมํ กโรหีติ อทาสิ ฯ ตสฺส สตฺถุ หตฺถโต ปทุมํ คณฺหนฺตสฺเสว
จิตฺตํ ปสีทิ ฯ โส วิหารปจฺจนฺตํ คนฺตฺวา วาลุกํ อุสฺสาเปตฺวา ตตฺถ ปทุมนาฬํ ปเวเสตฺวา สมฺมุเข ปลฺลงฺเกน
นิสินฺโน โลหิตกํ โลหิตกนฺติ ปริกมฺมํ อารภิ ฯ อถสฺส ตํขณํเยว นีวรณานิ วิกฺขมฺภึสุ อุปจารชฺฌานํ อุปฺปชฺชิ ฯ
แปลโดยอรรถ
2. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาตีติ ฯ
ตตฺถ สพฺพทานนฺติ สเจ หิ จกฺจวาฬคพฺเภ ยาว พฺรหฺมโลกา นิรนฺตรํ กตฺวา นิสินฺนานํ
พุทฺธปจฺเจกพุทฺธขีณาสวานํ กทลิคพฺภสทิสานิ ติจีวรานิ ทเทยฺย ฯ ตสฺมี สมาคเม จตุปฺปทิกย ตคาถาย กตา

อนุโมทนา ว เสฏฺฐา ตํ หิ ทานํ ตสฺสา คาถาย โสฬสึ กลํ อคฺฆติ เอวํ ธมฺมสฺส เทสนาปิ วาจนาปิ
สวนมฺปิ มหนฺตํ ฯ เยน จ ปุคฺคเลน ธมฺมสฺสวนํ การิตํ ตสฺเสว มหานิสํโส ฯ
ตถารูปายเอว ปริสาย ปณีตปิณฺฑปาตสฺส ปตฺเต ปูเรตฺวา ทินฺนทานโตปิ สปฺปิเตลาทีนํ ปตฺเต ปูเรตฺวา
ทินฺนเภสชฺชทานโตปิ มหาวิหารสทิสานํ วิหารานํ โลหปาสาทสทิสานญฺจ ปาสาทานํ อเนกานิ สตสหสฺสานิ
กาเรตฺวา ทินฺนเสนาสนทานโตปิ อนาถปิณฺฑิกาทีหิ วิหาเร อารพฺภ กตปริจฺจาคโตปิ อนฺตมโส จตุปฺปทิกาย คาถาย
อนุโมทนวเสนาปิ ปวตฺติตํ ธมฺมทานเมว เสฏฺฐํ ฯ กึการณา ? เอวรูปานิ หิ ปุญฺญานิ กโรนฺตา ธมฺมํ สุตฺวา ว กโรนฺติ
โน อสฺสุตฺวา สเจ หิ อิเม สตฺตา ธมฺมํ น สุเณยฺยุํ อุฬุงฺกมตฺตํ ยาคุํปิ กฏจฺฉุมตฺตํ ภตฺตํปิ น ทเทยฺยุํ
อิมินา การเณน สพฺพทาเนหิ ธมฺมทาเนมว เสฏฺฐํ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
แปล มคธเป็นไทย
แปลโดยพยัญชนะ
1. ครั้งนั้น อ. พระศาสดา ตรัสแล้วว่า ชื่อ อ. อาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมี แก่พระพุทธเจ้า ท.
ผู้ยังบารมี ท. ให้เต็มแล้ว ยังโลกธาตุมีหมื่นหนึ่งเป็นประมาณ ให้บันลือแล้ว ทรงลรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่ง
พระสัพพัญญู นั่นเทียว ดังนี้ กะพระเถระนั้น ทรงรำพึงอยู่ ว่า อ. ภิกษุนี้ บวชแล้ว จากตระกูลไหนหนอแล
ดังนี้ ทรงทราบแล้ว ว่า อ. ภิกษุนี้ บวชแล้วจากตระกูลแห่งช่างทอง ดังนี้ ทรงตรวจดูอยู่ ซึ่งอัตภาพ ท.
ในกาลอันล่วงแล้ว ทรงเห็นแล้ว ซึ่งร้อยแห่งอัตภาพ ?ง ห้า อันบังเกิดแล้ว ตามลำดับ ในตระกูลแห่งช่างทองนั่น
เทียว ของภิกษุนั้น ทรงดำริแล้ว ว่า อ. ทองอันมีสีสุกนั่นเทียว อันภิกษุหนุ่มนี้ ผู้กระทำอยู่ ซึ่งการงานของช่างทอง
สิ้นกาลนาน ให้เป็นไปรอบพร้อมแล้ว ด้วยอันคิด ว่า อ. เรา จักกะระทำ ซึ่งดอกไม้ ท. มีดอกแห่งกรรณิกา
และดอกแห่งปทุมเป็นต้นดังนี้ อ. กรรมฐานมีอสุพะเป็นของปฏิกูลเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ควร แก่ภิกษุหนุ่มนี้
อ. กรรมฐานอันยังใจให้เอิบอาบนั่นเทียว เป็นกรรมฐานอันเป็นสัปปายะ แก่ภิกษุนั้น ย่อมเป็น ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว
ซึ่งพระเถระ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อ. เธอ จักเห็น ซึ่งภิกษุผู้อันเธอให้แล้ว ซึ่งกรรมฐาน ให้ลำบาก
แล้ว ตลอดเดือน ท. สี่ ผู้บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งพระอรหันต์ ในกาลภายหลังแห่งภัตนั่นเทียว ในวันนี้
อ. เธอ จงไป ดังนี้ ทรงนิริมิตแล้ว ซึ่งดอกปทุมอันเป็นวิการแห่งทอง มีจักรเป็นประมาณ ด้วยพระฤทธิ์
ทรงกระทำแล้ว ให้เป็นราวกะว่าหลั่งออกอยู่ ซึ่งหยาดแห่งน้ำ ท. จากกลีบ ท. ด้วยนั่นเทียว จากก้านด้วยได้
ประทานแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เอาเถิด อ. เธอ ถือเอาแล้ว ซึ่งดอกปทุมนี้ วางไว้แล้ว บนกองแห่ง
ทราย ในที่สุดแดนแห่งวิหาร นั่งแล้วโดยบัลลังก์ ในที่มีหน้าพร้อม จงกระทำ ซึ่งบริกรรมว่า โลหิตกํ โลหิตกํ
(สีแดง สีแดง) ดังนี้เป็นต้น ดังนี้ ฯ เมื่อภิกษุนั้น รับอยู่ ซึ่งดอกปทุม จากพระหัตถ์ของพระศาสดานั่นเทียว
อ. จิต เลื่อมใสแล้ว ฯ อ. ภิกษุนั้นไปแล้ว สู่ที่สุดแดนแห่งวิหาร ยังทรายให้สูงขึ้นแล้ว ยังก้านแห่งดอกปทุมให้เข้า
ไปแล้ว ในทรายนั้น นั่งแล้ว โดยบัลลังก์ ในที่มีหน้าพร้อม ปรารภแล้ว ซึ่งบริกรรมว่า โลหิตกํ โลหิตกํ (สีแดง
สีแดง) ดังนี้เป็นต้น ฯ ครั้งนั้น ในขณะนั้นนั่นเทียว อ. นิวรณ์ ท. ระงับแล้ว อ. อุปจารฌาน เกิดขึ้นแล้ว
แก่ภิกษุนั้น ฯ

แปลโดยอรรถ
2. พระศาสดา ตรัสแล้ว ซึ่งพระคาถานี้ว่า
ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง ความ
ยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์
ทั้งปวง ดังนี้ ฯ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพทานํ เป็นต้น ความว่า ก็ถ้าบุคคลพึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน
แด่พระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพทั้งหลายผู้นั่งชิดกัน ในห้องจักรวาฬตลอดถึงพรหมโลก ฯ
การอนุโมทนา ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงทำด้วยพระคาถา 4 บาท ในสมาคมนั้นแล ประเสริฐที่สุด ก็ทานนั้น
ย่อมมีค่า ไม่ถึงส่วนที่ 16 แห่งพระคาถานั้น การแสดงธรรมก็ดี การกล่าวสอนธรรมก็ดี การสดับธรรมก็ดี
มีค่ามากมายอย่างนี้ ฯ อนึ่ง บุคคลใด จัดให้มีการฟังธรรม อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นเหมือนกัน ฯ
ธรรมทาน ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมนา โดยที่สุดด้วยพระคาถา 4 บาทนั่นแหละ
ประเสริฐที่สุด กว่าทานที่ทายกบรรจุบาตรทั้งหลายให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละ
ก็ดี กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรทั้งหลายให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้วถวายก็ดี กว่าเสนาสนทานที่
ทายกให้สร้างวิหาร เช่นกับมหาวิหารหลายแสนหลัง และปราสาทเช่นกับโลหะปราสาทหลายแสนหลังแล้วถวายก็ดี
กว่าการบริจาคที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำก็ดี ฯ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ชนทั้งหลาย
เมื่อจะทำบุญเห็นปานนี้ ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้ ไม่ได้ฟัง ก็หาทำไม่ ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรม
ไซร้ พวกเราก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่น
แหละ จึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด ฯ

พระเทพวิมลโมลี วัดสุทัศนเทพวราราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 3
สัมพันธ์ไทย
สอบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒตีติ ฯ
ตตฺถ อปฺปสฺสุตายนฺติ เอกสฺส วา ทฺวินฺนํ วา ปณฺณสกานํ อถวา ปน สุตฺตวคฺคานํ สพฺพนฺติเมน
ปริจฺเฉเทน เอกสฺส วา ทฺวินฺนํ วา สุตฺตานํปิ อภาเวน อปฺปสฺสุโต อยํ ฯ กมฺมฏฺฐานํ ปน อุคฺคเหตฺวา
อนุยุญฺชนฺโต พหุสฺสุโต ว ฯ พลิพทฺโทว ชีรตีติ ยถา หิ พลิพทฺโท ชีรมาโน วฑฺฒมาโน เนว มาตาปิตูนํ น
เสสญาตกานํ อตฺถาย วฑฺฒติ อถโข นิรตฺถกเมว ชีรติ เอวเมว อยมฺปิ น อุปชฺฌายวตฺตํ กโรติ น
อาจริยวตฺตํ น อาคนฺตุกวตฺตาทีนิ น ภาวนามตฺตมฺปิ อนุยุญฺชติ นิรตฺถกเมว ชีรติ ฯ มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺตีติ
ยถา พลิพทฺทสฺส ยุคนงฺคลาทีนิ วหิตุํ อสมตฺโถ เอโสติ อรญฺเญ วิสฺสฏฺฐสฺส ตตฺเถว วิจรนฺตสฺส ขาทนฺตสฺส
ปิวนฺตสฺส มํสานิ วฑฺฒนฺติ เอวเมว อิมสฺสาปิ อุปชฺฌายาทีหิ วิสฺสฏฺฐสฺส สงฺฆํ นิสฺสาย จตฺตาโร ปจฺจเย ลภิตฺวา
อุทรวิเรจนาทีนิ กตฺวา กายํ โปเสนฺตสฺส มํสานิ วฑฺฒนฺติ ถูลสรีโร หุตฺวา วิจรติ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
สัมพันธ์ไทย
สตฺถา สยกตฺตา ใน อาห ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อิมํ วิเสสน ของ คาถํ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน อาห
ปุริโส สยกตฺตา ใน ชีรติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อปฺปสฺสุโต ก็ดี
อยํ ก็ดี วิเสสน ของ ปุริโส พลิพทฺโท อุปมาลิงคตฺถ (ชีรนฺโต วิเสสน
ของ พลิพทฺโท) อิว ศัพท์ อุปมาโชตก เข้ากับ พลิพทฺโท ชีรนฺโต, มํสานิ
สยกตฺตา ใน วฑฺฒนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ตสฺส วิเสสน จอง
ปุริสสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน มํสานิ, (ปน ศัพท์ วิเสสโชตก) ปญฺญา
สยกตฺตา ใน น วฑฺฒติ, น ศัพท์ ปฏิเสธ ใน วฑฺฒติ ๆ อาขฺยาตบท
กตฺตุวาจก, ตสฺส วเสสน ของ ปริสสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน ปญฺญา อิติ
ศัพท์ สรูป ใน อิมํ คาถํ ฯ
ตตฺถ วิเสสน ของ ปเทสุ ๆ นิทฺธารณ ใน ปทสฺส อปฺปสฺสุตายํ สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ สรูป ใน
ปทสฺส ๆ นิทฺธารณีย และ สามีสมพนฺธ ใน อตฺโถ, อยํ วิเสสน ของ ปุริโส ๆ สยกตฺตา ใน ชีรติ ๆ อาขฺยาตบท
กตฺตุวาจก, เอกสฺส วิเสสน ของ ปณฺณาสกสฺส ทฺวินฺนํ วิเสสน ของ ปณฺณาสกสฺส ก็ดี ปณฺณาสกานํ
ก็ดี ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อภาเวน ๆ เหตุ ใน อปฺปสฺสุโต วา สองศัพท์ ปทวิกปฺปตฺถ เข้ากับ เอกสฺส
ปณฺณาสกสฺส และ ทฺวินฺนํ ปณฺณาสกานํ, อถวา ปน สองศัพท์ นิปาตสมุห เอกสฺส วิเสสน ของ สุตฺตวคฺคสฺส,
ทฺวินฺนํ วิเสสน ของ สุตฺตวคฺคานํ, สุตฺตวคฺคสฺส ก็ดี สุตฺตวคฺคานํ ก็ดี ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อภาเวน ๆ เหตุ ใน
อปฺปสฺสุโต วา สองศัพท์ ปทวิกปฺปตฺถ เข้ากับ เอกสฺส สุตฺตวคฺคสฺส และ ทฺวินฺนํ สุตฺตวคฺคานํ, สพฺพนฺติเมน
วิเสสน ของ ปริจฺเฉเทน ๆ ตติยาวิเสสน ใน อภาเวน, เอกสฺส วิเสสน ของ สุตฺตสฺส ทฺวินฺนํ วิเสสน ของ สุตฺตาน
ํปิ ศัพท์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ สุตฺตานํ, สุตฺตสฺส ก็ดี สุตฺตานํ ก็ดี ภาวาทิสมฺพนฺธ ใน อภาเวน ๆ เหตุ ใน อปฺปสฺสุโต
ปิ ศัพท์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ สุตฺตานํ วา สองศัพท์ ปทวิกปฺปตฺถ เข้ากับ เอกสฺส สุตฺตสฺส และ ทฺวินนํ
สุตฺตานํปิ, อปฺปสฺสุดต วิเสสน ของ ปุริโส, ปน ศัพท์ วิเสสโชตก โส วิเสสน ของ ปุริโส ๆ สยกตฺตา ใน
ชีรติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก กมฺมฏฺฐานํ อวุตฺตกมฺม ใน อุคฺคเหตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน อนุยุญฺชนฺโต,

อนุยุญฺชนฺโต ก็ดี พหุสฺสุโต ก็ดี วิเสสน ของ ปุริโส, ว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ พหุสฺสุโต อิติ ศัพท์ สรูป
ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ พลิพทฺโทว ชีรติ สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ สรูป ใน คาถาปาทสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน
อตฺโถ, หิ ศัพท์ ตปฺปาฏิกรณโชตก ยถา ศัพท์ อุปมาโชตก พลิพทฺโท สยกตฺตา ใน วฑฺฒติ สองบท ๆ
อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ชีรมาโน ก็ดี วฑฺฒมาโน ก็ดี อพฺภนฺตรกิริยา ของ พลิพทฺโท, ชีรมาโน วิวริย ใน
วฑฺฒมาโน ๆ วิวรณ เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ น, น สองศัพท์ ปฏิเสธนตฺถ มาตาปิตูนํ สมฺปทาน ใน
อตฺถาย ๆ สมฺปทาน ใน วฑฺฒติ เสสญาตกานํ สมฺปทาน ใน อตฺถาย ๆ สมปฺทาน ใน วฑฺฒติ อถโข
ศัพท์ อรุจิสูจนตฺถ โส วเสสน ของ พลิพทฺโท ๆ สยกตฺตา ใน ชีรติ ๆ อาขฺจาตบท กตฺตุวาจก นิรตฺถกํ
กิริยาวิเสสน ใน ชีรติ เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ นิรตฺถกํ, พลิพทฺโท ชีรมาโน วฑฺฒมาโน เมว มาตาปิตูนํ, น
เสสญาตกานํ อตฺถาย วฑฺฒติ สญฺญี, อถโข นิรตฺถกเมว ชีรติ สญฺญา, เอวํ ศัพท์ อุปเมยฺยโชตก เอว ศัพท์
อวธารณ เข้ากับ เอวํ อยํ วิเสสน ของ ปุริโส ปิ ศัทพ์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ อยํ ปุริโส สยกตฺตา ใน
น กโรติ ๆ สามบท และ น อนุยุญฺชติ, น สี่ศัพท์ ปฏิเสธ ใน กโรติ สามบทและอนุยุญฺชติ, กโรติ สามบท
และอนุยุญฺชติ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อุปชฺฌายวตฺตํ อวุตฺตกมฺม ใน กโรติ อาจริยวตฺตํ อวุตฺตกมฺม ใน กโรติ
อาคนฺตุกวตฺตาทีนิ วิเสสน ของ วตฺตานิ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน กโรติ ภาวนามตฺตํ วิเสสน ของ กมฺมํ ปิ ศัพท์
อเปกฺขตฺถ เข้ากับ ภาวนามตฺตํ กมฺมํ อวุตฺตกมฺม ใน อนุยุญฺชติ, โส วิเสสน ของ ปุริโส ๆ สยกตฺตา ใน
ชีรติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก นิรตฺถกํ กิริยาวิเสสน ใน ชีรติ เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ นิรตฺถกํ, อยมฺปิ
น อุปชฺฌายวตฺตํ กโรติ, น อาจริยวตฺตํ, น อาคนฺตุกวตฺตาทีนิ, น ภาวนามตฺตมฺปิ อนุยุญฺชติ สญฺญี,
นิรตฺถกเมว ชีรติ สญฺญา อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ สรูป ใน อิติ ๆ ศัพท์ สรูป ใน คาถาปาทสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน อตฺโถ ,
ยถา ศัพท์ อุปมาโชตก มํสานิ สยกตฺตา ใน วฑฺฒนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก พลิพทฺทสฺส สามีสมฺพนฺธ ใน
มํสานิ เอโส วิเสสน ของ พลิพทฺโท ๆ ลิงฺคตฺถ ยุคนงฺคลาทีนิ วิเสสน ของ วตฺถูนิ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน วหิตุํ
ๆ ตุมตฺถสมฺปทาน ใน อสมตฺโถ ๆ วิเสสน ของ พลิพทฺโท อิติ ศัพท์ สรูป ใน จินฺตเนน ๆ กรณ ใน
วิสฺสฏฺฐสฺส อรญฺเญ อาธาร ใน วิสฺสฏฺฐสฺส, วิสฺสฏฺฐสฺส ก็ดี วิจรนฺตสฺส ก็ดี ขาทนฺตสฺส ก็ดี ปิวนฺตสฺส ก็ดี
วิเสสน ของ พลิพทฺทสฺส ตตฺถ วิเสสน ของ อรญฺเญ ๆ อาธาร ใน วิจรนฺตสฺส ขาทนฺตสฺส และ ปิวนฺตสฺส,
เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ ตตฺถ, เอวํ ศัพท์ อุปเมยฺยโชตก เอว ศัพท์ อวธารณ เข้ากับ เอวํ มํสานิ
สยกตฺตา ใน วฑฺฒนฺติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก อิมสฺส ก็ดี วิสฺสฏฺฐสฺส ก็ดี โปเสนฺตสฺส
ก็ดี วิเสสน ของ ปุริสสฺส ๆ สามีสมฺพนฺธ ใน มํสานิ ปิ ศัพท์ อเปกฺขตฺถ เข้ากับ อิมสฺส อุปชฺฌายาทีหิ

วิเสสน ของ ครุฏฺฐานิยปุคฺคเลหิ ๆ อนภหิตกตฺตา ใน วิสฺสฏฺฐสฺส, สงฺฆํ อวุตฺตกมฺม ใน นิสฺสาย ๆ
ปุพฺพกาลกิริยา ใน ลภิตฺวา จตฺตาโร วิเสสน ของ ปจฺจเย ๆ อวุตฺตกมฺม ใน ลภิตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน
กตฺวา อุทรวิเรจนาทีนิ วิเสสน ของ กิจฺจานิ ๆ อวุตฺตกมฺม ใน กตฺวา ๆ ปุพฺพกาลกิริยา ใน โปเสนฺตสฺส กายํ
อวุตฺตกมฺม ใน โปเสนฺตสฺส, โส วิเสสน ของ ปุริโส ๆ สยกตฺตา ใน วิจรติ ๆ อาขฺยาตบท กตฺตุวาจก ถูลสรีโร
วิกติกตฺตา ใน หุตฺวา ๆ สมานกาลกิริยา ใน วิจรติ, อิมิสฺสาปิ อุปชฺฌายาทีหิ วิสฺสฏฺฐสฺส สงฺฆํ นิสฺสาย
จตฺตาโร ปจฺจเย ลภิตฺวา อุทรวิเรจนาทีนิ กตฺวา กายํ โปเสนฺตสฺส มํสานิ วฑฺฒนฺติ วิวิริย ใน ถูลสรีโร หุตฺวา
วิจรติ ๆ วิวรณ อิติ ศัพท์ สรูป ใน อตฺโถ ๆ ลิงฺคตฺถ ฯ

พระเมธีปริยัตยาภรณ์ อคฺคธมฺโม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สัมพันธ์
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 3
บุรพภาค
สอบ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544
จงแก้ตัวอักษร ย่อหน้า และจัดวรรคตอน ให้ถูกต้องตามสมัยนิยม
ที่ศธ0307/14071 กลมกานสาสนา กระซวงศึกสาทิการ กทม.10300 27 พฤษจิกายน 2543 เรื่องห้าม
พระพิกษุสามเนรเกี่ยวข้องกับการเมือง นมัศกานเจ้าคนะพากทุกพาก สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาคำสั่งมหาเถรสมาคม
เรื่องห้ามพระพิกษุสามเนรเกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ. 2543 1 ฉะบับ ด้วยวันที่ 6 มกราคม 2544 จะมีการ
เรือกตั้งสมาชิกสะพาผู้แทนราษดร ในการนี้ คนะกำมการการเรือกตั้ง (กกต.) ผู้มีอำนาจหน้าที่ในกานจัดการเรือกตั้ง
เพื่อให้เกิดความบริศุทธิ์และญุติธรรม ได้ขอความร่วมมือไปยังกลมกานสาสนาให้ช่วยประสานงานกับทางคนะสงส์ โย
ขอให้พระพิกษุสามเนรวางตัวเป็นกรางในการเรือกตั้ง กลมกานสาสนาได้มีหนังสือของความอนุเคราะห์ไปยังเจ้าคนะจังหวัด
ทุกจังหวัดเพื่อแจ้งให้วัดทุกวัดในเขตปกครองปะติบัดตามคำสั่งมาหเถรสมาคม เรื่องห้ามพระพิกษุสามเนรเกี่ยวข้องกับ
การเมืองแล้ว จึงขอนมัสกานมาเพื่อโปรดซาบ ขอนมัศกานด้วยความเคารบอย่างสูง ไพบูลย์ เสียงก้อง (นายไพบูลย์
เสียงก้อง) อะธิบดีกลมกานสาสนา สัมนักงานเรขาธิกานมหาเถรสมาคม โทร.2815093 โทรสาน2815093
ให้เวลา 1 ชั่วโมง กับ 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
บุรพภาค
ที่ ศธ 0307/14070 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
กรุงเทพมหานตร 10300
27 พฤศจิกายน 2543
เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง
นมัสการ เจ้าคณะภาคทุกภาค
สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ. 2543 1 ฉบับ
ด้วยวันที่ 6 มกราคม 2544 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในการนี้ คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.) ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และยุติธรรม ได้ขอความร่วมมือ
ไปยังกรมการศาสนาให้ช่วยประสานงานกับทางคณะสงฆ์ โดยขอให้พระภิกษุสามเณรวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง
กรมการศาสนาได้มีหนังสือของความอนุเคราะห์ไปยังเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งให้วัดทุกวัดใน
เขตปกครองปฏิบัติตามคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว
จึงขอนมัสการมาเพื่อโปรดทราบ
ขอนนัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ไพบูลย์ เสียงก้อง
(นายไพบูลย์ เสียงก้อง)
อธิบดีกรมการศาสนา
สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม
โทร. 2815093 โทรสาร 2815093

ประโยค ป.ธ. 3
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
สอบ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544
1. พยัญชนะในภาษาบาลี มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ต่างจากสระอย่างไร ฯ
2. ในสนธิกิริโยปกรณ์ อาเทส กับ วิการ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ฯ จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ประกอบ ฯ ยเถวายํ, กาโลยนฺเต เป็นสนธิ อะไรบ้าง ฯ ตัดและต่ออย่างไร ฯ
3. จงตอบคำถามต่อไปนี้
ก. อะไรเรียกว่าการันต์ ฯ มีเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ
ข. ปกติสังขยา กับ ปูรณสังขยา ต่างกันอย่างไร ฯ
ค. อุปสัค กับ นิบาต ต่างกันอย่างไร ฯ
4. วิภัตติอาขยาตนั้น มีกี่หมวด ฯ หมวดไหนบอกกาลอะไร ฯ
5. รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ มีเท่าไร ฯ อย่างไหน เป็นสาธนะอะไรได้บ้าง ฯ
ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล ), คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ) ลงปัจจัยอะไร ฯ เป็นรูปและสาธนะอะไร ฯ จงตั้ง
วิเคราะห์มาดู ฯ
6. สมาสอะไรบ้าง ที่นิยมบทปลงเป็นนปุงสกลิงค์ ฯ จะทราบได้อย่างไรว่า เป็นสมาสไหน ฯ
ปวตฺติตปวรธมฺมจฺโก (ภควา) เป็นสมาสอะไร จงตั้งวิเคราะห์มาตามลำดับ ฯ
7. ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัยเท่าไร ฯ อะไรบ้าง ฯ ปัจจัยตัวไหน ใช้ลงแทนศัพท์อะไร ฯ พาลฺยํ,
ปาหุเนยฺโย
ลงปัจจัยอะไร ในตัทธิตไหน ฯ จงตั้งวิเคราะห์มาดูด้วย ฯ
ให้เวลา 3 ชั่วโมง

เฉลย ประโยค ป.ธ. 3
ปัญหา บาลีไวยากรณ์
1. มี 33 ตัว คือ ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ ฯ
ต่างจากสระอย่างนี้ คือ พยัญชนะ 33 ตัวนี้ ออกเสียงไม่ได้ตามลำพังตนเองเหมือนสระต้องอาศัย
สระจึงจะออกเสียงได้ ฯ
2. มีลักษณะต่างกันอย่างนี้ คือ อาเทส ได้แก่การแปลงสระให้เป็นพยัญชนะ คือ แปลง อิ-เอ
เป็น ย ตัวอย่างเช่น ปฏิสณฺฐารวุตฺติ-อสฺส เป็น ปฏิสณฺฐารวุตฺยสฺส เป็นต้น ฯ
แปลงพยัญชนะเป็นพยัญชนะ คือ แปลง ติ เป็น ตฺย แล้วให้เป็น จฺจ ตัวอย่าง เช่น ปติ
-อุตฺตริตฺวา เป็น ปจฺจุตฺตริตฺวา, อิติ-เอวํ เป็น อิจฺเจวํ เป็นต้น ฯ
แปลงนิคคหิต เป็นพยัญชนะ คือ เมื่อพยัญชนะวรรคอยู่หลัง นิคคหิตอยู่หน้า แปลงนิคคหิต
เป็นพยัญชนะสุดวรรค เช่น เอวํ-โข เป็น เอวงฺโข เป็นต้น ฯ
เมื่อ เอ และ ห อยู่หลัง แปลงนิคคหิตเป็น ญ ตัวอย่าง เช่น ตํ-เอว เป็น ตญฺเญว
ตํ-หิ เป็น ตญฺหิ เป็นต้น ฯ
ส่วน วิการ ได้แก่การแปลงสระเป็นสระเท่านั้น คือ การทำสระตัวหนึ่งให้เป็นสระอีกตัวหนึ่ง เช่น
ทำ อิ ให้เป็น เอ ทำ อุ ให้เป็น โอ ตัวอย่าง เช่น มุนิ-อาลโย เป็น มุเนลโย สุ-อตฺถี เป็น โสตฺถี
เป็นต้น ฯ

ยเถวายํ เป็น โลปสระสนธิ และทีฆสระสนธิ ตัดเป็น ยถา-เอว-อยํ ฯ
ระหว่าง ยถา-เอว ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลังก็ดี
เป็นทีฆะก็ดี ลบสระหน้า คือ อา ที่สุดแห่ง ยถา ต่อเป็น ยเถว ฯ
ระหว่าง ยเถว-อยํ ถ้าสระทั้ง 2 เป็นรัสสะ มีรูปเสมอกัน คือ เป็น อ หรือ อิ หรือ อุ ทั้ง
2 ตัว เมื่อลบแล้วต้องทีฆะสระที่ไม่ได้ลบ คือ อ ที่ อยํ เป็น อา ต่อเป็น ยเถวายํ ฯ
กาโลยนฺเต เป็นโลปสระสนธิและอาเทสนิคคหิตสนธิ ตัดเป็น กาโล-อยํ-เต
ระหว่าง กาโล-อยํ ถ้าสระทั้ง 2 คือ สระหน้า และสระหลัง มีรูปไม่เสมอกัน ลบสระหลัง คือ อ
ที่ อยํ ต่อเป็น กาโลยํ
ระหว่าง กาโลยํ-เต เมื่อมีพยัญชนะวรรคอยู่หลัง มีนิคคหิตอยู่หน้า อาเทสนิคคหิตที่ กาโลยํ
เป็นพยัญชนะสุดวรรค ต่อเป็น กาโลยนฺเต ฯ
3. ได้ตอบคำถามดังนี้
ก. สระที่สุดแห่งศัพท์ เรียกว่า การันต์ มี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู ฯ
ข. ต่างกันอย่างนี้ คือ ปกติสังขยาสำหรับนับโดยปกติ เป็นต้นว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
ส่วนปูรณะสังขยาสำหรับนับนามนามที่เต็มในที่นั้น ๆ คือ นับเป็นชั้น ๆ เป็นต้นว่า ที่หนึ่ง
ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ฯ
ค. ต่างกันอย่างนี้ คือ อุปสัคสำหรับใช้นำหน้านามและกิริยาให้วิเศษขึ้น เมื่อนำหน้านาม มีอาการ
คล้ายคุณศัพท์ เมื่อนำหน้ากิริยา มีอาการคล้ายกิริยาวิเสสนะ
ส่วนนิบาต สำหรับลงในระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง บอกอาลปนะ กาล ที่ ปริจเฉท
อุปไมย ปฏิเสธ ความได้ยินเล่าลือ ความปริกัป ความถาม ความรับ ความเตือน เป็นต้น ฯ
4. มี 8 หมวด ฯ
หมวด วตฺตมานา บอกปัจจุบันกาล
หมวด ปญฺจมี บอกความบังคับ ความหวัง ความอ้อนวอน
หมวด สตฺตมี บอกความยอมตาม ความกำหนด และความรำพึง เป็นต้น
หมวด ปโรกฺขา บอกอดีตกาลไม่มีกำหนด

หมวด หิยตฺตนี บอกอดีตกาลตั้งแต่วานนี้
หมวด อชฺชตฺตนี บอกอดีตกาลตั้งแต่วันนี้
หมวด ภวิสฺสนฺติ บอกอนาคตกาลแห่งปัจจุบัน
หมวด กาลาติปตฺติ บอกอนาคตกาลแห่งอดีต ฯ
5. มี ภ อย่าง ฯ คือ
1. กัตตุรูป เป็นได้ทุกสาธนะ เว้นภาวสาธนะ
2. กัมมรูป เป็นได้ 4 สาธนะ คือ กัมมสาธนะ กรณสาธนะ สัมปทานสาธนะ และอธิกรณ
สาธนะ
3. ภาวรูป เป็นภาวสาธนะได้อย่างเดียว ฯ
ธมฺมชีวิ (ปุคฺคโล) ลง ณี ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺเมน ชีวิตีติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล) เป็นกัตตุรูป ลงในอรรถตัสสีละ ตั้ง
วิเคราะห์ว่า ธมฺเมน ชีวติ สีเลนาติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล)
เป็นสมาสรูปตัสสีลสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า ธมฺเมน ชีวิตุํ สีลมสฺสาติ ธมฺมชีวี (ปุคฺคโล) ฯ
คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ) ลง ยุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กรณสาธนะ ตั้งวิเคราะห์ว่า คพฺภํ ปาเตติ
เตนาติ คพฺภปาตนํ (เภสชฺชํ) ฯ

6. สมาสที่นิยมบทปลงเป็นนปุงสกลิงค์ มี 3 คือ สมาหารทิคุสมาส 1 สมาหารทวันทวสมาส 1
อัพยยีภาวสมาส 1 จะทราบได้โดยความนิยมดังนี้
สมาหารทิคุสมาส นิยมสังขยาเป็นบทหน้า บทหลังเป็นประธาน ฯ
สมาหารทวันทวสมาส นิยมนามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกันและ
เป็นบทประธานทั้งสิ้น ฯ
ส่วนอัพยยีภาวสมาส นิยมอุปสัคหรือนิบาติเป็นบทหน้า และใช้เป็นประธานแห่งบทหลัง ฯ
ปวตฺติตปวรธมฺมจกฺโก (ภควา) เป็น ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส มีอวธารณบุพพบท
กัมมธารยสมาส และวิเสสนุบพพบท กัมมธารยสมาส เป็นภายใน ตั้งวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้
(อว. กัม. วิ.) ธมฺโม เอว จกฺกํ ธมฺมจกฺกํ

(วิ. บุพพ. กัม. วิ.) ปวรํ ธมฺมจกฺกํ ปวรธมฺมจกฺกํ
(ตติ. ตุลฺ. พหุพฺ. ว.) ปวตฺติตํ ปวรธมฺมจกฺกํ เยน โส ปวตฺติตปวรธมฺมจกฺโก (ภควา) ฯ
7. ตทัสสัตถิตัทธิต มีปัจจัย 9 ตัว คือ วี ส สี อิก อี ร วนฺตุ มนฺตุ ณ ฯ
ทั้งหมดใช้ลงแทน อตฺถิ ศัพท์เท่านั้น
พาลฺยํ ลง ณฺย ปัจจัยในภาวตัทธิต ตั้งวิเคราะห์ว่า
พาลสฺส ภาโว พาลฺยํ
ปาหุเนยฺโย ลง เอยฺย ปัจจัย ในฐานตัทธัต ตั้งวิเคราะห์ว่า
ปาหุนํ อรหตีติ ปาหุเนยฺโย
ปาหุนาย อนุจฺฉวิโก โหตีติ วา ปาหุเนยฺโย ฯ

พระราชปริยัติเวที เขมจารี วัดทองนพคุณ เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 4
แปล ไทยเป็นมคธ
สอบ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544
1. กุฏุมพีมหาปาละนั้น ได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักอาจารย์และอุปัชฌาย์ได้ 5 พรรษา
อยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระ
ศาสนานี้ มีธุระกี่อย่าง ฯ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ธุระมี 2 อย่างเท่านั้น คือ คันถธุระ (และ)
วิปัสสนาธุระ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็คันธุระเป็นไฉน วิปัสสนาธุระเป็นไฉน ฯ ธุระนี้ คือ การเรียนนิกาย
หนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี ก็หรือว่าจบพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้ว ทรงจำไว้ได้
บอก กล่าวพุทธพจน์นั้น ชื่อว่าคันถธุระ, ส่วนธุระนี้ คือ การที่ภิกษุผู้มีความประพฤติเบาพร้อม ยินดีอย่างยิ่งใน
เสนาสนะอันสงัด เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจความกระทำ
ติดต่อกันแล้ว ถือเอาพระอรหัตไว้ได้ ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าบวชเมื่อภายแก่
จักไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์ได้ ขอพระองค์
ทรงโปรดตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด ฯ ลำดับนั้น พระบรมศาสดาตรัสบอกพระกรรมฐานจนถึง
พระอรหัต แก่พระมหาปาละนั้นแล้ว ฯ พระมหาปาละนั้นถวายบังคมพระศาสดาแล้ว แสวงหาพระทั้งหลาย
ผู้จะไปพร้อมกับตนได้พระ 60 รูปแล้ว จึงออกไปพร้อมกับพระเหล่านั้น เดินทางไปได้ 120 โยชน์ ก็ถึงหมู่บ้าน
ชายแดนหมู่ใหญ่แห่งหนึ่ง จึงได้เข้าไปบิณฑบาต ณ หมู่บ้านนั้นพร้อมกับบริวาร ฯ
2. เมื่อพระอรหันต์เกิดในโลก 61 องค์แลวด้วยประการฉะนี้ พระบรมศาสดาทรงอยู่จำพรรษา
ปวารณาแล้ว ทรงส่งพระ 60 รูปไปในทิศทั้งหลาย ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริก
ไปเถิด ดังนี้เป็นต้น พระองค์เองเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ในระหว่างทาง ได้ทรงแนะนำภัทรวัคคีย์กุมาร 30
คน ณ ราวป่าฝ้าย ฯ บรรดาภัทรวัคคีย์เหล่านั้น อย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด ได้เป็นพระโสดาบัน อย่างสูงกว่าเขา
ทั้งหมดได้เป็นพระอนาคามี ฯ พระพุทธองค์ทรงให้ภัทรวัคคีย์แม้เหล่านั้นทั้งหมดบวชโดยความเป็นเอหิภิกขุอย่างเดียว
กันแล้ว ทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย พระองค์เองเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงปาฏิหาริย์ 3,500 อย่าง
แนะนำชฏิล 3 พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีชฏิล 1,000 คนเป็นบริวาร ให้บวชโดยความเป็นเอหิภิกขุ

เช่นเดียวกันแล้ว ให้นั่งประชุมกันที่คยาสีสะประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วยเทศนาอาทิตตปริยายสูตรแล้ว ผู้อัน
พระอรหันต์ 1,000 องค์นั้นแวดล้อม ทรงพระดำริว่า เราจักเปลื้องปฏิญญาที่ถวายไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร ดังนี้
จึงเสด็จไปยังอุทยานสวนตาลหนุ่ม ใกล้แดนพระนครราชคฤห์ ตรัสพระธรรมกถาอันไพเราะแด่พระราชาผู้ทรงสดับ
ข่าวว่า ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ จึงเสด็จมาพร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดี 12 นหุต ทรงให้พระ
ราชาพร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดี 11 นหุต ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อีกนหุตหนึ่งให้ดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย
วันรุ่งขึ้น ผู้มีพระคุณอันท้าวสักกเทวราชซึ่งแปลงเพศเป็นมาณพน้อยชมเชยแล้ว เสด็จเข้าไปยังพระนครราชคฤห์
ทรงทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์แล้ว ทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว สำเร็จการประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนารามนั้นแล ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 4
แปล ไทยเป็นมคธ
1. (โส) ลทฺธปพฺพชฺชูปสมฺปโท อาจริยุปชฺฌยานํ สนฺติเก ปญฺจ วสฺสานิ วสิตฺวา วุตฺถวสฺโส
ปวาเรตฺวา สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา วนฺทิตฺวา ปุจฺฉิ ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานีติ ฯ คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ
เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขูติ ฯ กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ กตมํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ฯ อตฺตโน ปญฺญานุรูเปน เอกํ
วา เทฺว วา นิกาเย สกลํ วา ปน เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อุคฺคณฺหิตฺวา ตสฺส ธารณํ กถนํ วาจนนฺติ อิทํ คนฺถธุรํ
นาม ฯ สลฺลหุกวุตฺติโน ปน ปนฺตเสนาสนาภิรตสฺส อตฺตภาเว ขยวยํ ปฏฺฐเปตฺวา สาตจฺจกิริยาวเสน วิปสฺสนํ
วฑฺเฒตฺวา อรหตฺตคฺคหนฺติ อิทํ วิปสฺสนาธุรํ นามาติ ฯ ภนฺเต อหํ มหลฺลกกาเล ปพฺพชิโต คนฺถธุรํ ปูเรตุํ
น สกฺขิสฺสามิ วิปสฺสนาธุรํ ปน ปูเรสฺสามิ กมฺมฏฺฐานํ เม กเถถาติ ฯ อถสฺส สตฺถา ยาว อรหตฺตา
กมฺมฏฺฐานํ กเถสิ ฯ โส สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อตฺตนา สหคามิโน ภิกฺขู ปริเยสนฺโต สฏฺฐี ภิกฺขู ลภิตฺวา
เตหิ สทฺธึ นิกฺขมิตฺวา วีสโยชนสตมคฺคํ คนฺตฺวา เอกํ มหนฺตํ ปจฺจนฺตคามํ ปตฺวา ตตฺถ สปริวาโร ปิณฺฑาย
ปาวิสิ ฯ
2. เ อวํ โลเก เอกสฏฺฐิยา อรหนฺเตสุ ชาเตสุ วุตฺถวสฺโส ปวาเรตฺวา จรถ ภิกฺขเว จาริกนฺติ
สฏฺฐิภิกฺขู ทิสาสุ เปเสตฺวา สยํ อุรุเวลํ คจฺฉนฺโต อนฺตรามคฺเค กปฺปาสิกวนสณฺเฑ ตึสชเน
ภทฺทวคฺคิยกุมาเร วิเนสิ ฯ เตสุ สพฺพปจฺฉิมโก โสตาปนฺโน สพฺพุตฺตโม อนาคามี อโหสิ ฯ เตปิ สพฺเพ
เอหิภิกฺขุภาเวเนว ปพฺพาเชตฺวา ทิสาสุ เปเสตฺวา สยํ อุรุเวลํ คนฺตฺวา ทฑฺฒุฑฺฒานิ ปาฏิหาริยสหสฺสานิ ทสฺเสตฺวา
อุรุเวลกสฺสปาทโย สหสฺสชฏิลปริวาเร เตภาติกชฏิเล วิเนตฺวา เอหิภิกฺขุภาเวเนว ปพฺพาเชตฺวา คยาสีเส
นิสีทาเปตฺวา อาทิตฺตปริยายเทสนาย อรหตฺเต ปติฏฺฐาเปตฺวา เตน อรหนฺตสหสฺเสน ปริวุโต พิมฺพิสารรญฺโญ
ทินฺนํ ปฏฺญฺญํ โมเจสฺสามีติ ราชคหนครุปจาเร ลฏฺฐิวนุยฺยานํ คนฺตฺวา สตฺถา กิร อาคโตติ สุตฺวา
ทฺวาทสนหุเตหิ พฺราหฺมณคหปติเกหิ สทฺธึ อาคตสฺส รญฺโญ มธุรธมฺมกถํ กเถนฺโต ราชานํ เอกาทสหิ นหุเตหิ
สทฺธึ โสตปตฺติผเล ปติฏฺฐาเปตฺวา เอกํ นหุตํ สรเณสุ ปติฏฺฐาเปตฺวา ปุนทิวเส สกฺเกน เทวรญฺญา
มาณวกวณฺณํ คเหตฺวา อภิตฺถุตคุโณ ราชคหนครํ ปวิสิตฺวา ราชนิเวสเน กตภตฺตกิจฺโจ เวฬุวนารามํ
ปฏิคฺคเหตฺวา ตตฺเถว วาสํ กปฺเปสิ ฯ

ประโยค ป.ธ. 4
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
1. ปณามคาถา
พุทฺโธ โย มงฺคลตฺถีนํ มงฺคลํ อิติ วิสฺสุโต
เทสโก มงฺคลตฺถานํ มงฺคลนฺตํ นมามิหํ ฯ
ธมฺโม โย มงฺคลตฺถีนํ มงฺคลํ อิติ วิสฺสุโต
โชตโก มงฺคลตฺถานํ มงฺคลนฺตํ นมามิหํ ฯ
สงฺโฆ โย มงฺคลตฺถีนํ มงฺคลํ อิติ วิสฺสุโต
การโก มงฺคลตฺถานํ มงฺคลนฺตํ นมามิหํ ฯ
อิจฺเจวํ มงฺคลานมฺเม ปณาโม สุกโต อหุ
ตพฺพาหสา อหํ หุตฺวา อนฺตรายวินาสโก
มงฺคลปีทกํ ยนฺตํ มงฺคเลน สุเทสิตํ
มงฺคลสุตฺตนาเมน วิสฺสุตํ อติอาณกํ
มงฺคลตฺถญฺจ ปาณีนํ กถิตสฺสิธ เกนจิ
โกฏิลกฺเขสุ ยสฺสาณา จกฺกวาเฬสุ ปตฺถฏา
นานาคนฺเถสุ สารตฺถํ วิโลเกตฺวา ตมาทิย
ตสฺสตฺถํ ทีปยิสฺสามิ ตํ สุณาถ สมาหิตาติ ฯ
2. มุสาวาทา เวรมณฺยาทิกํ จตุพฺพิธํ วจีวุจริตํ สุภาสิตวาจาย การณงฺคํ สุภาสิตภาสนาทิกํ จตุพฺพิธํ
อวยวงฺคนฺติ ทฏฺฐพฺพํ ฯ วจีกมฺมทฺวารกถาฏีกายมฺปิ สุภาสิตภาสนสงฺขาตา อปีสุณวาจา ธมฺมภาสนสงฺขาโต อสมฺผปฺปลาโป
ปิยภาสนสงฺขาตา อผรุสวาจา สจฺจภาสนสงฺขาโต อมุสาวาโท จาติ จตุพฺพิธํ อวยวงฺคํ วุตฺตํ ฯ ตสฺมา มุสาวาทาทีนํ
อาทีนวํ สมฺปสฺสนฺเตน สุภาสิตวจนเมว วตฺตพฺพํ ฯ โส จาทีนโว อฏฺฐกนิปาตงฺคุตฺตเร สพฺพลหุสฺสุตฺเตปิ อาคโต ฯ
วุตฺตญฺหิ ตตฺถ มุสาวาโท ภิกฺขเว อาเสวิโต ภาวิโต พหุลีกโต นิรยสํวตฺตนิโก โหติ ติรจฺฉานโยนิสํวตฺตนิโก

ปิตฺติวิสยสํวตฺตนิโก โย สพฺพลหุโส มุสาวาทสฺส วิปาโก มนุสฺสภูตสฺส อภูตพฺภกฺขามสํวตฺตนิโก โหติ ฯ ปิสุณา
ภิกฺขเว วาจา อาเสวิตา ฯเปฯ ปิตฺติวิสยสํวตฺตนิกา โย สพฺพลหุโส ปิสุณาย วาจาย วิปาโก มนุสฺสภูตสฺส
มิตฺตเภทสํวตฺตนิโก โหติ ฯ ผรุสา ภิกฺขเว วาจา ฯเปฯ โย สพฺพลหุโส ผรุสาย วาจาย วิปาโก มนุสฺสภูตสฺส
อมนาปสทฺทสํวตฺตนิโก โหติ ฯ สมฺผปฺปลาโป ภิกฺขเว อาเสวิโต ฯเปฯ โย สพฺพลหุโส สมฺผปฺปลาปสฺส วิปาโก
มนุสฺสภูตสฺส อนาเทยฺยวาจาสํวตฺตนิโก โหตีติ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 4
แปล มคธเป็นไทย
1. คาถาแสดงความนอบน้อม
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ปรากฏว่า เป็นมงคล ของเทพดาและมนุษย์ทั้ง
หลาย ผู้มีความต้องการมงคล เป็นผู้แสดงอรรถแห่งมงคล ข้าพเจ้าขอนอบ
น้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นมงคล พระธรรมใด ปรากฏว่า เป็น
มงคล ของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการมงคล ส่องอรรถ
แห่งมงคล ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมนั้น อันเป็นมงคล ฯ พระสงฆ์
ใด ปรากฏว่าเป็นมงคล ของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ
มงคล เป็นผู้กระทำอรรถแห่งมงคล ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์นั้น
ผู้เป็นมงคล ฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ทำการนอบน้อมดีแล้ว แด่พระรัตนตรัยอัน
เป็นมงคลอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งการนอบน้อมพระ
รัตนตรัยนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ยังอันตรายให้พินาศ จักเลือก สรรถือ
เอาอรรถอันเป็นสาระให้คำภีร์ต่าง ๆ นั้นแล้ว แสดงอรรถแห่งพระสูตรที่แสดง
มงคล อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นมงคล ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ปรากฏนามว่า
มงคลสูตร มีอาชญายิ่งนักและพระสูตรที่ใคร ๆ กล่าวไว้แล้ว เพื่อเป็น
มงคลแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ซึ่งมีอาชญาแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล
ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังอรรถแห่งมงคลสูตรนั้นเทอญ ฯ
2. วจีสุจริต 4 อย่าง มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นองค์ที่เป็น
เหตุแห่งวาจาสุภาสิต วจีสุจริต 4 อย่าง มีการกล่าวคำสุภาษิตเป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นองค์ประกอบแห่งวาจา
สุภาษิต ฯ แม้ในฎีกาที่กล่าวถึงวจีกรรมและวจีทวาร พระฎีกาจารย์กล่าวองค์ประกอบไว้ 4 อย่าง คือ อปิสุณาวาจา
คือการกล่าวคำสุภาษิต 1 อสัมผัปปลาปะ คือการกล่าวคำที่เป็นธรรม 1 อผรุสวาจา คือการกล่าวคำที่น่ารัก 1
อมุสาวาท คือการกล่าวคำจริง 1 ฯ

เพราะฉะนั้น บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นโทษแห่งวจีทุจริต 4 มีมุสาวาทเป็นต้น ควรพูดแต่คำสุภาษิต
เท่านั้น ฯ ก็โทษนั้น มาแล้วแม้ในสัพพลหุสูตร ในอัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ฯ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้ในสัพพลหุสูตรนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในเปรตวิสัย วิบาก
แห่งมุสาวาท ที่เพลากว่าวิบากทั้งหมด ย่อมยังการกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจา อันบุคคลเสพแล้ว ฯลฯ ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจา ที่เพลากว่า
วิบากทั้งหมด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจา ฯลฯ
วิบากแห่งผรุสวาจา ที่เพลากว่าวิบากทั้งหมด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะ อันบุคคลเสพแล้ว ฯลฯ วิบากแห่งสัมผัปปลาปะ ที่เพลากว่าวิบากทั้งหมด ย่อมยังคำ
ไม่น่าเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯ

พระเทพสุธี หาสธมฺโม วัดสามพระยา เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้

ประโยค ป.ธ. 5
แปล ไทยเป็นมคธ
สอบ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544
1. พระราชารับสั่งให้จัดเกวียนหลายร้อยเล่มส่งไป ให้ขนทรัพย์นั้นมา ให้ทำเป็นกองไว้ที่ท้องสนามหลวง
แล้ว รับสั่งให้ชาวพระนครราชคฤห์ประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า ในพระนครนี้ ใครมีทรัพย์ประมาณเท่านี้บ้างไหม?
เมื่อทวยราษฎร์กราบทูลว่า ไม่มี พระเจ้าข้า จึงทรงตั้งกุมภโฆสกนั้นไว้ในตำแหน่งเศรษฐี ด้วยเครื่องยกย่องเป็นอัน
มาก พระราชทานลูกสาวของหญิงนั้นให้แก่เขาแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระบรมศาสดาพร้อมกับเขา ถวายบังคมแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรชายคนนี้ ธรรมดาคนมีปัญญาแบบนี้ ย่อมไม่มี
เขาแม้จะมีสมบัติถึง 40 โกฏิ ก็ไม่ทำอาการเย่อหยิ่ง หรืออาการเพียงความทะนงตน เป็นเหมือนคนกำพร้า
นุ่งผ้าเก่า ๆ ทำการรับจ้างเป็นอยู่ที่ถนนอันเป็นที่อยู่ของคนรับจ้าง หม่อมฉันรู้ได้ด้วยอุบายชื่อนี้ ก็แลครั้นรู้แล้ว
จึงสั่งให้เรียกมา ไล่เลียงให้ยอมรับว่ามีทรัพย์แล้ว ให้ขนทรัพย์นั้นมา ตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐีแล้ว หม่อมฉันยังให้
แม้ลูกสาวแก่เขาด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้มีปัญญาแบบนี้ หม่อมฉันยังไม่เคยเห็น ฯ พระบรมศาสดาทรงสดับ
เรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า มหาบพิตร ชีวิตของผู้เป็นอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าความเป็นอยู่ประกอบด้วยธรรม ความจริง ความ
เป็นใหญ่ทั้งหลาย ย่อมเจริญฝ่ายเดียว แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร ผู้สมบูรณ์ด้วยสติ ผู้มีการงานบริสุทธิ์ ทางกาย
และวาจาเป็นต้น ผู้มีปกติใคร่ครวญด้วยปัญญาแล้วจึงทำ ผู้สำรวมทางกายเป็นต้น ผู้เลี้ยงชีวิตอยู่โดยธรรม ผู้ดำรง
อยู่ในความเป็นอยู่ไม่ปราศจากสติ แบบนั้น ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
ยศย่อมเจริญยิ่งขึ้น แก่ผู้มีความขยัน ผู้มีสติ ผู้มีการงานสะอาด ผู้มีปกติ
ใคร่ครวญแล้วจึงทำ ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท
ดังนี้ ฯ
2. ชายผู้เป็นบัณฑิตนั้นเข้าไปหมู่บ้านแล้ว เที่ยวเดินบอกบุญว่า พ่อแม่ทั้งหลาย วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้า
นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธองค์ทรงเป็นประธานแล้ว ขอเชิญท่านทั้งหลายถวายแก่พระเท่าจำนวนที่สามารถ (จะถวาย
ได้) เมื่อชนทั้งหลายกำหนดกำลังของตนแล้ว กล่าวว่า พวกเราจักถวาย 10 รูป พวกเรา 20 รูป พวกเรา
100 รูป พวกเรา 500 รูป ดังนี้เป็นต้นแล้ว จึงจดคำของชนทั้งหมดลงไว้ในบัญชีตั้งแต่ต้นมา ฯ ก็สมัยนั้น

ในพระนครนั้น มีชายคนหนึ่งปรากฏว่า เป็นคนเข็ญใจมาก เพราะเขาเป็นคนจนอย่างยิ่ง ๆ ชายบัณฑิตนั้นเห็นชาย
เข็ญใจแม้นั้นมาถึงเฉพาะหน้า จึงบอกว่า เพื่อนมหาทุคคตะ ข้าพเจ้านิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธองค์ป็นประธานไว้
เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว วันพรุ่งนี้ พวกชาวเมืองจักถวายทานกัน เพื่อนจักเลี้ยงพระสักกี่รูปเล่า ฯ เจ้านาย ข้าพ
เจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระทั้งหลายเล่า ธรรมดาความต้องการด้วยพระทั้งหลาย เป็นเรื่องของพวกคนมีทรัพย์ ส่วน
ข้าพเจ้าแม้เพียงข้าวสารทะนานหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่ข้าวต้มในวันพรุ่งนี้ ก็ยังไม่มี ข้าพเจ้าทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพ
ข้าพเจ้าต้องการอะไรด้วยพระทั้งหลายเล่า ฯ ชายผู้เป็นบัณฑิตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนมหาทุคคตะ ชนเป็นอันมาก
ในพระนครนี้ บริโภคโภชนะอย่างดี นุ่งผ้าเนื้อละเอียด แต่งตัวด้วยเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ นอนบนที่นอนอันงามสง่า
ย่อมเสวยสมบัติกัน ส่วนเพื่อทำงานรับจ้างทั้งวัน ยังไม่ได้อาหารแม้เพียงเต็มทอง แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนยัง
ไม่รู้สึกหรือว่า เราไม่ได้อะไร ๆ เพราะไม่ได้ทำบุญอะไร ๆ ไว้แม้ในปางก่อน ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 5
แปล ไทยเป็นมคธ
1. ราชา อเนกสตานิ สกฏานิ โยชาเปตฺวา ปหิณิตฺวา ตํ ธนํ อาหราเปตฺวา ราชงฺคเณ ราสึ
กาเรตฺวา ราชคหาวาสิโน สนฺนิปาตาเปตฺวา อตฺถิ กสฺสจิ อิมสฺมึ นคเร เอตฺตกํ ธนนฺติ ปุจฺฉิตฺวา นตฺถิ เทวาติ
มหนฺเตน สกฺกาเรน ตํ เสฏฺฐิฏฺฐาเน ฐเปตฺวา ตสฺสา ธีตรํ ตสฺส ทตฺวา เตน สทฺธึ สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา
วนฺทิตฺวา ภนฺเต ปสฺสถิมํ ปุริสํ เอวรูโป ธีติมา นาม นตฺถิ จตฺตาฬีสโกฏิวิภโว โหนฺโตปิ อุพฺพิลฺลาวิตาการํ วา
อสฺมิมานมตฺตํ วา น กโรติ กปโณ วิย วิโลติกํ นิวาเสตฺวา ภตกวีถิยํ ภตึ กตฺวา ชีวนฺโต มยา อิมินา
นาม อุปาเยน ญาโต ชานิตฺวา จ ปน ปกฺโกสาเปตฺวา สธนภาวํ สมฺปฏิจฺฉาเปตฺวา ตํ ธนํ อาหราเปตฺวา
เสฏฺฐิฏฺฐาเน ฐปิโต ธีตาปิสฺส มยา ทินฺนา ภนฺเต มยา เอวรูโป ธีติมา น ทิฏฺฐปุพฺโพติ อาห ฯ ตํ สุตฺวา
สตฺถา เอวํ ชีวนิตสฺส ชีวิตํ ธมฺมิกชีวิตํ นาม มหาราช เอวรูปสฺส หิ วิริยสมฺปนฺนสฺส สติสมฺปนฺนสฺส
กายวาจาทีหิ ปริสุทฺธกมฺมสฺส ปญฺญาย นิสมฺมการิโน กายาทีหิ สญฺญตสฺส ธมฺมชีวิตํ ชีวนฺตสฺส สติปวิปฺปวาเส
ฐิตสฺส อิสฺสริยา วฑฺฒนฺติเยวาติ วตฺวา อิมํ คาถมาห
อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒตีติ ฯ
2. โส (ปณฺฑิโต) คามํ ปวิสิตฺวา อมฺมตาตา เสฺว มยา พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ นิมนฺติโต ตุมฺเห
ยตฺตกานํ ภิกฺขูนํ สกฺโกถ ตตฺตกานํ เทถาติ อาโรเจตฺวา วิจรนฺโต อตฺตโน พลํ สลฺลกฺขเตฺวา มยํ ทสนฺนํ ทสฺสาม
มยํ วีสติยา มยํ สตสฺส มยํ ปญฺจนฺนํ สตานนฺติ วุตฺเต สพฺเพสํ วจนํ อาทิโต ปฏฺฐาย ปณฺเณ อาโรเปสิ ฯ
เตน จ สมเยน ตสฺมึ นคเร อติทุคฺคตภาเวเนว มหาทุคฺคโตติ ปญฺญาโต เอโก ปุริโส อตฺถิ ฯ โส ตํปิ
สมฺมุขาคตํ ทิสฺวา สมฺม มหาทุคฺคต มยา สฺวาตนาย พุทฺธปฺปมุโข ภิกฺขุสงฺโฆ นิมนฺติโต เสฺว นครวาสิโน ทานํ
ทสฺสนฺติ ตฺวํ กตี ภิกฺขู โภเชสฺสสีติ ฯ สามิ มยฺหํ กึ ภิกฺขูหิ ภิกฺขูหิ นาม สธนานํ อตฺโถ มยฺหํ ปน เสฺว
ยาคุอตฺถาย ตณฺฑุลนาฬีมตฺตํปิ นตฺถิ อหํ ภตึ กตฺวา ชีวามิ กึ เม ภิกฺขูหีติ ฯ เอวมาห สมฺม มหาทุคฺคต
อิมสฺมึ นคเร สุโภชนํ ภุญฺชิตฺวา สุขุมวตฺถนิวตฺถา นานาภรณปฺปฏิมณฺฑิตา สิริสยเน สยมานา พหู ชนา
สมฺปตฺตึ อนุภวนฺติ ตฺวํ ปน ทิวสํ ภตึ กตฺวา กุจฺฉิปูรมตฺตํปิ น ลภสิ เอวํ สนฺเตปิ อหํ ปุพฺเพปิ กิญฺจิ
อกตตฺตา กิญฺจิ น ลภามีติ น ชานาสีติ ฯ

ประโยค ป.ธ. 5
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
1. ยา เจสา ปุตฺตรติธีตุรติอุตฺถีรตินจฺจคีตวาทิตาทิตาทิรติปฺปเภทา อเนกปฺปเภทา จ รติ สาปิ วฏฺเฏ
ปาเตตฺวา ทุกฺขานุภวนสฺเสว ปจฺจโย ฯ ยา ปเนสา ธมฺมํ กเถนฺตสฺส วา สุณนฺตสฺส วา อนฺโ
อุปฺปชฺชมานา ปีติ อุทคฺคภาวํ ชเนติ อสฺสูนิ ปวตฺเตติ โลมหํสนํ ชเนติ สายํ สํสารวฏฺฏสฺส อนฺตํ กตฺวา
อรหตฺตปริโวสานา โหตีติ สพฺพรตีนํ เอวรูปา ธมฺมรติเยว เสฏฺฐา ฯ เตน วุตฺตํ สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาตีติ
ธมฺมปทวณฺณนา ฯ
ธมฺมํ เทเสนฺเตนปิ หิตผรณมุทุจิตฺเตเนว ภวิตพฺพํ น ลาภครุเกน ฯ ลาภครุกสฺส หิ ธมฺมทานํ
น มหปฺผลํ เตน สงฺคีติสุตฺตวณฺณนายํ เอโก เอวํ มํ ธมฺมกถิโกติ ชานิสฺสนฺตีติ อิจฺฉาย ฐตฺวา ลาภครุโก
หุตฺวา เทเสติ ตํ น มหปฺผลํ ฯ เอโก อตฺตโน ปคุณํ ธมฺมํ อปฺปจฺจาสึสมาโน ปเรสํ เทเสติ อิทํ
เทสนามยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ นามาติ วุตฺตํ ฯ
ธมฺมํ เทเสนฺเตน หิ อตฺตนิ ปญฺจ ธมฺมา อุปฏฺฐาเปตพฺพา ฯ วุตฺตญฺเหตํ ภควตา ปญฺจกงฺคุตฺตเร
จตุตฺถปณฺณาสกสฺส ปฐมวคฺเค น โข อานนฺท สุกรํ ปเรสํ เทเสตุํ ปเรสํ อานนฺท ธมฺมํ เทเสนฺเตน
ปญฺจ ธมฺเม อชฺฌตฺตํ อุปฏฺฐาเปตฺวา ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ ฯ กตเม ปญฺจ ฯ อนุปุพฺพีกถํ กเถสิสามีติ
ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ ปริยายทสฺสาวี กถํ กเถสฺสามีติ อนุทฺทยตํ ปฏิจฺจ กถํ กเถสฺสามีติ น อามิสนฺตโร
กถํ กเถสฺสามีติ อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนูปจฺจ กถํ กเถสฺสามีติ ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพ ฯ น โข อานนฺท
สุกรํ ปเรสํ ธมฺมํ เทเสตุํ ปเรสํ อนนฺท ธมฺมํ เทเสนฺเตน อิเม ปญฺจ ธมฺเม อชฺฌตฺตํ อุปฏฺฐาเปตฺวา
ปเรสํ ธมฺโม เทเสตพฺโพติ ฯ
2. นิพฺพานํ นาม ปริยาเยน ทุวิธํ โหติ ฯ เตนาห อิติวุตฺตเก ทุติยวคฺคสฺส สตฺตมสุตฺเต
เทฺวมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย ฯ กตมา เทฺว ฯ สอุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ อนุปาทิเสสา จ นิพฺพานธาตุ ฯ
เอตมตฺถํ ภควา อโวจ ฯ ตตฺเถตํ อิติ วุจฺจติ

เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา
นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา
เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา
สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา
อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา
ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส
เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ
วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา
เต ธมฺมสาราธิคมา ขเย รตา
ปหํสุ โว สพฺพภวานิ ตาทิโนติ ฯ
ให้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที

เฉลย ประโยค ป.ธ. 5
แปล มคะเป็นไทย
1. อรรถกถาธรรมบทว่า อนึ่ง แม้ความยินดี มีความยินดีในบุตร ความยินดีในธิดา ความยินดีในสตรี
และความยินดีในการฟ้อนรำ การขับร้อง และการประโคมดนตรีเป็นต้นเป็นประเภท และความยินดีที่มีประเภทไม่ใช่
น้อย ก็เป็นปัจจัยแก่การให้สัตว์ตกไปในวัฏฏะแล้วเสวยทุกข์นั่นเอง ฯ ส่วนปีติ ที่เกิดขึ้นภายในของผู้กล่าวธรรมก็ดี
ผู้ฟังธรรมก็ดี ย่อมให้เกิดความเบิกบานใจ ให้น้ำตาไหล ให้เกิดขนชูชัน ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ มีพระอรหัต
เป็นที่สุด เพราะเหตุนั้น ความยินดีในธรรมเห็นปานนี้นั่นแหละ ประเสริฐกว่าความยินดีทุกอย่าง ฯ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ฯ
ภิกษุแม้เมื่อจะแสดงธรรม ควรเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนมุ่งแผ่ประโยชน์เกื้อกูลเท่านั้น ไม่ควรเป็นผู้หนักใน
ลาภ ฯ เพราะธรรมทานของภิกษุผู้หนักในลาภ ไม่มีผลมาก ฯ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวไว้ใน
อรรถกถาสังคีติสูตรว่า ภิกษุบางรูป ตั้งอยู่ในความปรารถนาว่า ประชาชนจักรู้จักเราว่า เป็นพระธรรมกถึก
ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้แล้ว เป็นผู้หนักในลาภ แสดงธรรม ธรรมทานนั้น จึงไม่มีผลมาก ฯ ภิกษุบางรูป ไม่มุ่งหวัง
ลาภอย่างนั้น แสดงธรรมที่คล่องแคล่วของตนแก่ชนเหล่าอื่น ธรรมทานนี้ ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยการแสดง
ธรรม ฯ
แท้จริง ภิกษุเมื่องจะแสดงธรรม ควรตั้งธรรม 5 ประการไว้ในตน ฯ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในปฐมวรรค แห่งจตุตถปัณณาสก์ ในปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย ว่า อานนท์ การแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น มิใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายนักแล อานนท์ ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นควรตั้งธรรม 5 ประการ
ไว้ภายในแล้วจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ฯ ธรรม 5 ประการ คืออะไรบ้าง ฯ คือ พึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ด้วยตั้งใจว่า เราจักกล่าวถ้อยคำตามลำดับ (1) พึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นด้วยตั้งใจ ว่า เราจักแสดงเหตุผล
กล่าวถ้อยคำ (1) พึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นด้วยตั้งใจ ว่า เราจักอาศัยความเอ็นดูกล่าวถ้อยคำ (1) พึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่นด้วยตั้งใจ ว่า เราจักไม่มีอามิสเป็นเหตุกล่าวถ้อยคำ (1) พึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นด้วยตั้งใจ
ว่า เราจักกล่าวถ้อยคำ ไม่กระทบทั้งตนเองทั้งผู้อื่น (1) ฯ อานนท์ การแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น มิใช่สิ่งที่จะ
ทำได้ง่ายนักแล อานนท์ ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ควรตั้งธรรม 5 ประการเหล่านี้ไว้ภายในแล้วจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ฯ

2. ชื่อว่านิพพาน โดยปริยาย มี 2 อย่าง ฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ใน
สัตตมสูตรแห่งทุติยวรรค ในอิติวุตตกะ ว่า ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 อย่างเหล่านี้ ฯ 2 อย่าง คืออะไร
บ้าง ฯ คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1 อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้แล้ว ฯ
พระองค์จึงตรัสพระดำรัสอันเป็นคาถานี้ไว้ในสัตตมสูตรนั้นดังนี้ ว่า
พระตถาคตเจ้า ผู้มีพระจักษุ อันตัณหาและทิฏฐิ อิงอาศัยไม่ได้
แล้ว ผู้คงที่ ทรงประกาศนิพพานธาตุ 2 อย่างเหล่านี้ไว้แล้ว ก็
ธาตุอย่างหนึ่งเป็นไปในทิฏฐธรรม ในอัตภาพนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
นิพพานธาตุ เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนธาตุอีกอย่าง
หนึ่ง เป็นไปในสัมปรายภพ ซึ่งเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งภพทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวง ชื่อว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ชนเหล่าใด รู้บท
นั่น ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายินดีแล้ว
ในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุสารธรรม เป็นผู้คงที่
ละภพทั้งปวงได้แล้วแล ฯ
พระธรรมปริยัติโสภณ ชานปญฺโญ วัดไตรมิตรวิทยาราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้


ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับบาลีสนามหลวง


การทำบัญชีบาลีสนามหลวง

1. บัญชี ศ. 2 และ ศ. 3 (บัญชีรายชื่อผู้ขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี
และบัญชีเรียกชื่อนักเรียนเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี) ให้เจ้าสำนักเรียนส่วนกลางและ
เจ้าคณะจังหวัดส่วนภูมิภาคขอเบิกได้ที่กรมการศาสนาโดยประมาณให้พอใช้แต่ละปี อย่าใช้
กระดาษอื่น เช่น กระดาษฟุลสแก๊ป เป็นต้น
2. สำนักเรียนส่วนกลาง และสำนักเรียนคณะจังหวัดเฉพาะที่สอบส่วนกลาง
ไม่ต้องทำบัญชี ศ. 3 ส่งไป
3. สำนักเรียนคณะจังหวัดที่สอบในส่วนภูมิภาค ต้องทำบัญชี ศ. 3 เอง
ถ้าสอบรวมกันหลายจังหวัด ให้จังหวัดที่เป็นสนามสอบเรียงเลขที่ไว้หน้า ส่วนจังหวัดที่
มาสมทบสอบเรียงเลขที่ต่อไป และการทำบัญชี ศ. 3 นั้น ต้องเรียงชื่อนักเรียนให้ตรงกับ
บัญชี ศ. 2 ที่ได้ส่งไปยังเจ้าคณะภาคแล้วนั้น ห้ามส่งนักเรียนที่มิได้สมัครขอเข้าสอบ
แทนที่นักเรียนที่ขาดสอบ และจะส่งเพิ่มเติมอีกไม่ได้
4. การทำบัญชี ศ. 2 และ ศ. 3 ให้พิมพ์แผ่นละหน้าเดียว
5. กำหนดส่งบัญชี ศ. 2 สำนักเรียนส่วนกลาง ส่งถึงกรมการศาสนา หรือ
กองบาลีสนามหลวงโดยตรงก่อนสิ้นเดือนอ้าย คณะจังหวัดส่วนภูมิภาคควรส่งถึงเจ้า
คณะภาคก่อนกลางเดือนอ้าย และเจ้าคณะภาครวบรวมส่งถึงกรมการศาสนาหรือกองบาลี
สนามหลวงก่อนสิ้นเดือนอ้ายเช่นเดียวกัน
6. เจ้าสำนักเรียนจะต้องตรวจดูหลักฐานของนักเรียนผู้สมัครของเข้าสอบ
คือประกาศนียบัตร หรือบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีได้ ที่ทางสนามหลวงแผนกบาลี
ส่งมาถวายให้เก็บไว้เป็นหลักฐานทุกปีแล้วนั้น การทำบัญชี ศ. 2 ในช่องประโยคเดิม ต้อง
ลงหมายเลขประกาศนียบัตร และ พ.ศ. ที่สอบได้ของนักเรียนให้แน่ชัดทุกรูป ตัวอย่าง
เช่น นักเรียนสอบประโยค 1-2 ได้ พ.ศ. 2524 วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ สมัครขอเข้า
สอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. 3 ต้องลงบัญชี ดังนี้
ประโยคเดิม
ชั้น เลขที่ใบประกาศนียบัตร วัด สำนักเรียน
ฯลฯ จังหวัด พ.ศ. หรือคณะจังหวัด หมายเหตุ
น.ธ. ตรี 1101/2523 ราชบุรณะฯ วัดราชบุรณะฯ
ป.ธ. 1 2 535/2524 กลาง คณะจังหวัดบุรีรัมย์