เมนู

หลักการตรวจบาลีสนามหลวง


1. ตรวจบริบท

คือ ส่วนข้างเคียงคำตอบที่ผู้สอนทำไว้ในกระดาษคำตอบ เช่น
ความสะอาด การเว้นวรรคตอน การทำเครื่องหมายความตั้งใจในการตอบ ดูจากการเขียน
และอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคำตอบของผู้ตอบ คือ ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ไม่ถูก อยู่ในเกณฑ์เกือบ
จะตก แต่ถ้าพิจารณาบริบทดูแล้วเห็นว่าไม่เรียบร้อย ยังไม่สมควรให้ผ่าน จะตรวจให้ละเอียด
อีกครั้งเพื่อเก็บคะแนน หรือจะให้เป็นตกก็ไม่น่าเกลียดอะไร ฯลฯ
2. ตรวจภูมิ คือ ความรู้ที่ผู้สอบในแต่ละระดับชั้นจะต้องรู้ ภูมิจะสูงหรือต่ำอยู่
ที่ระดับชั้น เช่น ภูมิ ป.ธ. 6 ย่อมต่ำกว่าภูมิ ป.ธ. 7 ภูมินี้สำคัญมาก สมควรที่ผู้ตรวจจะ
ต้องพิถีพิถัน ละเอียดละออให้มาก เป็นการกลั่นกรองผู้ที่เหมาะสมจะเป็นครูอาจารย์และเป็น
ผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคตส่วนหนึ่งด้วย ฯลฯ
ตรวจภูมินั้น คือ ตรวจหลักต่าง ๆ เช่น หลักการแปลไทยเป็นมคธ หรือ หลักการ
เรียงหลักไวยากรณ์ หลักการเขียนหนังสือ หลักการสะกดการันต์ หลักภาษา เป็นต้น
3 ตรวจเนื้อหา คือ คำตอบที่เป็นตัวหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการตรวจ
การสอบได้หรือสอบตก อยู่ที่เนื้อหาคำตอบนี้ ถ้าผู้สอบทำได้เหมือนแบบหรือตรวจโดย
ละเอียดแล้วไม่พบข้อผิดพลาดมากเกินไป อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ผ่านได้ก็ต้องให้ผ่าน แม้ว่า
บางรายจะมีบริบทไม่ดี แต่เนื้อหาใช้ได้ก็ต้องยกผลประโยชน์ให้ผู้สอบนั้นไป
การตรวจเนื้อหาผู้ตรวจจะต้องเคร่งครัดในหลักเกณพ์วางใจเป็นอุเบกขา มีความ
ยุติธรรมเห็นแก่พระศาสนามากว่าเห็นแก่บุคคล ไม่มักง่าย ไม่สุกเอาเผากิน ไม่ฆ่าผู้สอบ
เพราะความรีบร้อนหรือสะเพร่า ไม่ช่วยผู้สอบด้วยอ้างว่ามีเมตตาธรรมสูง เพราะการกระทำ
เช่นนั้นมิใช่เมตตา ที่แท้จริง เป็นการขาดความรับผิดชอบเป็นการทำลายวงการบาลีและพระ
ศาสนาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือจะทำให้ได้พระเปรียญที่มีภูมิปัญญาไม่สมกับระดับชั้นมาเป็น
ครูอาจารย์ หรือบริหารกิจการพระศาสนาต่อไป เป็นเรื่องที่พึงตระหนัก ขอให้เป็นไปตาม
หลักกรรม คือทำได้ก็สอบได้ ทำไม่ได้หรือทำไม่ดีก็สอบตก พึงตระหนักคุณภาพมากกว่า
ปริมาณ

"ปริมารแม้มีมาก แต่ไม่สามารถ ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ได้ ส่วนปริมาณที่มีน้อย
แต่มีความสามารถก็อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ เหมือนหมู่คนโง่ไม่อาจทำการใหญ่ให้สำเร็จ
ได้ ส่วนบัณฑิตแม้เพียงคนเดียว ก็อาจทำการใหญ่ให้สำเร็จได้"

4. หลักเกณฑ์ความผิด (ศ.) ในเนื้อหาสำหรับวิชาแปลไทยเป็นมคธ มีเกณฑ์
ความผิดอยู่ 3 อย่าง คือ
4.1 ผิดศัพท์ หมายถึงความผิดในกรณีต่อไปนี้
ศ. ใช้ศัพท์ผิดหรือใช้ศัพท์ที่มีความหมายต่างไปจากความหมาย
ที่ต้องการในภาษาไทย
ศ. ใช้ศัพท์ที่แม้จะแปลเป็นไทยได้เหมือนกันแต่มีความหมายไป
คนละอย่าง
ศ. ประกอบศัพท์ผิดหลักไวยากรณ์ เช่น ผิดวิภัตติ ผิดกาล ผิด
วจนะ ฯลฯ
ศ. ตกศัพท์ คือไม่เขียนศัพท์ที่ต้องใช้ไว้ในคำตอบ ทำให้เนื้อความ
ไม่ชัดเจน หรือเสียความไป กรณีอย่างนี้เก็บทุกศัพท์ที่ตกไป
ศ. แม้การเขียนบาลีผิด ก็อาจปรับเป็นผิดศัพท์ได้
4.2 ผิดสัมพันธ์ (ส.) หมายถึงความผิดในกรณีต่อไปนี้
ส. ประกอบวิภัตติผิดทำให้เรียกชื่อสัมพันธ์ผิดไป หรือไม่อาจจะ
เข้าสัมพันธ์กับศัพท์ที่ต้องการได้ เพราะผิดหลักสัมพันธ์
ส. เรียงศัพท์ไว้ผิดที่ คือ ศัพท์ซึ่งมีเนื้อความที่จะต้องเข้ากับศัพท์
นี้ แต่ไปเรียงไว้ใกล้ศัพท์อื่น ซึ่งสามารถแปลหรือสัมพันธ์เข้ากับ
ศัพท์อื่นนั้นได้ เช่น เรียงไว้หน้าศัพท์นั้น เป็นต้น
4.3 ผิดประโยค (ป.) หมายถึงความผิดในกรณีต่อไปนี้
ป. เรียงเลขนอก เลขในผิด คือ นำความในเลขในไปไว้ข้างนอก
นำความข้างนอกเข้ามาไว้ในเลขใน
ป. ใช้ประธานกับกิริยาผิดบุรุษ
ป. แต่งผิดจนไม่อาจจับใจความได้ทั้งประโยค

ความผิดต่าง ๆ นี้ บางอย่างชัดแจ้ง บางอย่างไม่ชัดแจ้ง จึงต้องใช้ดุลยพินิจให้
มาก หรืออาจปรึกษากรรมการที่ตรวจด้วยกัน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดคะแนนเป็นอย่าง
เดียวกัน เพื่อความยุติธรรม
5. เกณฑ์การให้คะแนน
ศ. ผิดศัพท์ 1 ศัพท์ เก็บ 1 คะแนน โดยขีดเส้นใต้คำที่ผิด แล้วเขียน
ตัว "ศ" ไว้บนศัพท์นั้น เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าผิดอะไร
ส. ผิดสัมพันธ์ 1 แห่ง เก็บ 2 คะแนน โดยขีดเส้นใต้ศัพท์ที่ผิด แล้ว
เขียนตัว "ส" ไว้บนศัพท์นั้น
ป. ผิดประโยค 1 ประโยค เก็บ คะแนน โดยขีดเส้นใต้ทั้งประโยค
หรือเฉพาะส่วนแล้ว เขียนตัว "ป" ไว้ด้านบนประโยคนั้น
ในกรณีที่แต่งผิดจนไม่อาจจับใจความได้ทั้งประโยคแม้จะมีเนื้อความเพียงประโยค
เดียว แต่ม่ความยาวหลายบรรทัด มีเกณฑ์การเก็บคะแนนพิเศษ คือ...
ถ้าประโยคยาวเกิน 3 บรรทัด ให้นับเป็นผิดเกิน 18
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้นับเป็นผิดไม่เกิน 18
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ให้นับเป็นผิดเกิน 12
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 1 บรรทัด ให้นับเป็นผิดเกิน 6
6. เกณฑ์การปรับคะแนน ในการสอบบาลีนั้น ท่านกำหนดให้สอบได้หรือสอบ
ไม่ได้ด้วยการนับคะแนนที่ปรับเป็น "ให้" หรือเรียกกันโดยติดปากว่า "ห" โดยมีเกณฑ์
การปรับดังนี้
ผิด 1 ถึง 6 ให้ 3 ให้
ผิด 7 ถึง 12 ให้ 2 ให้
ผิด 13 ถึง 18 ให้ 1 ให้
ผิดเกิน 18 ถึง 0 ให้ทั้งหมด

วิธีตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
วิชาแปลมคะเป็นไทย -สัมพันธ์ -ไวยากรณ์
1. แปลผิดศัพท์ หรือเรียกชื่อสัมพันธ์ผิดในวิภัตติเดียวกัน เช่น สัตตมีวิภัตติ
มีชื่อเรียก อาธาร หลายอย่าง ศัพท์ที่สัมพันธ์ที่ถูกเป็น อุปสิเลสิกาธาร แต่เรียกผิดเป็น
วิสยาธาร ดังนี้ ชื่อว่า ผิดศัพท์
2. แปลเสียสัมพันธ์ หรือเรียกชื่อสัมพันธ์ผิดต่างวิภัตติ เช่น เรียก อาธาร เป็น
สัมพันธะหรือสัมพันธ์เข้าผิดที่ในประโยคเดียวกัน ชื่อว่า ผิดสัมพันธ์
3. แปลสับประโยค หรือสัมพันธ์สับประโยค เช่น เอาประโยคเลขนอกกับ
เลขในปนกันก็ดี ใช้ประธานกับกิริยาผิดบุรุษกันก็ดี แปลหรือสัมพันธ์ผิดจนไม่เป็นรูปก็ดี
เหล่านี้ชื่อว่า ผิดประโยค
การเก็บคะแนน
ผิด 1 ศัพท์ เก็บ 1 คะแนน
ผิดสัมพันธ์ 1 แห่ง เก็บ 2 คะแนน
ผิดประโยค 1 ประโยค เก็บ 6 คะแนน
การปรับ
นับคะแนนที่เก็บแล้วนั้น ๆ รวมกันเข้า
ผิด 1 ถึง 6 ให้ 3 ให้
ผิด 7 ถึง 12 ให้ 2 ให้
ผิด 13 ถึง 18 ให้ 1 ให้
ผิดเกิน 18 ลง 0 ทั้งหมด

แต่ข้อว่า "แปลหรือสัมพันธ์ผิดจนไม่เป็นรูป" นั้น
ถ้าประโยคยาวกว่า 3 บรรทัด นับเป็นผิดเกิน 18
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 3 บรรทัด นับเป็นผิดไม่เกิน 18
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 2 บรรทัด นับเป็นผิด 12
ถ้าประโยคยาวไม่เกิน 1 บรรทัด นับเป็นผิด 6
วิธีตรวจวิชาบุรพภาค ประโยค ป.ธ.3
การปรับและการเก็บคะแนนวางรูปจดหมายราชการผิดหมดเป็นตก และนอกจากนี้
ผิดย่อหน้า 1 แห่ง เก็บ 2 คะแนน
ผิดวรรคตอนถึงเสียรูปหรือเสียความ 1 แห่ง เก็บ 1 คะเนน
ผิดอักษร 1 ตัว เก็บ 1 คะแนน
เมื่อรวมคะแนนเข้าได้เกิน 12 เป็นตก
วิธีตรวจวิชาไวยากรณ์
ให้คะแนนข้อละ 10
วิชาไวยากรณ์ให้นับคะแนนที่ถูกเก็บทั้ง 7 ข้อ แล้วรวมคะแนนไว้ที่มุมบนด้านขวา
ของกระดาษใบตอบ
วิธีรวมคะแนนวิชาไวยากรณ์
ผิด 1 ถึง 15 ให้ 3 ให้
ผิด 16 ถึง 20 ให้ 2 ให้
ผิด 21 ถึง 25 ให้ 1 ให้
ผิดเกิน 25 ถึง 1 คือตก

ตัวอย่าง วิชาไวยากรณ์ ให้ 2 ให้
ให้ (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 1 *20
ให้ (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 2
0 (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 3
* คะแนนที่มุมขวาเป็นคะแนนที่ผิด (ที่ถูกเก็บ)
กำหนดชั้นและวิชาที่สอบได้
ประโยค ป.ธ.3
3 วิชชา
ก. 3,3,3 ได้ชั้นเอก
ข. 3,3,2 ได้ชั้นโท
ค. 3,2,2 ได้ชั้นตรี
ฆ. 2,2,2 ได้ชั้นตรี
ง. 3,2,1 ได้นอกชั้น
จ. 3,2,1 ได้นอกชั้น
ฉ. 2,3,1 ได้นอกชั้น
(เฉพาะวิชาแปลมคธเป็นไทย ต้องได้ 2 หรือ 3 ให้)

ประโยค 1-2 และ ป.ธ. 4,5,6,7
2 วิชา
ก. 3,3 ได้ชั้นเอก
ข. 3,2 ได้ชั้นโท
ค. 2,2 ได้ชั้นตรี
ประโยค ป.ธ. 8,9
3 วิชา
ก. 3,3,3 ได้ชั้นเอก
ข. 3,3,2 ได้ชั้นโท
ค. 3,2,2 ได้ชั้นตรี
ฆ. 2,2,2 ได้ชั้นตรี
นอกนี้ตก
วิธีตรวจวิชาสัมพันธ์
1.ลำดับการสัมพันธ์
- อาลปนะ
- นิบาตต้นข้อความ - กาลสัตตมี
- ตัวประธาน
- กิริยาคุมพากย์
- บทที่เหลือ
หมายเหตุ
1) ต้นเรื่อง ต้องเติม มยา... วุจฺจเต
2) จบเรื่อง ต้องเติม นิฏฺฐิโต - นิฏฺฐิตา - นิฏฺฐิตํ สุดแต่ตัวประธาน
3) คาถา หรือ อรรถกถา ต้องเติม (ประธาน) อิมํ คาถมาห หรือ อิมา คาถา
อภาสิ, อตฺโถ ปณฺฑิเตน...เวทิตพฺโพ วินิจฺฉโย, วิคฺคโห ปณฺฑิเตน...กาตพฺโพ

4) การสัมพันธ์ให้ใช้หลัก 3 ต ดังนี้
- ตาม สัมพันธ์ตามศัพท์ที่มีอยู่ในประโยคนั้น ๆ
- เติม สัมพันธ์ที่เติมเข้ามาให้ประโยคนั้น ๆ สมบูรณ์
- ตัด ศัพท์สนธิต้องตัดก่อนจึงสัมพันธ์
2. กลุ่มศัพท์และบทสัมพันธ์ลอย
- อาลปนะ
- นิบาตต้นข้อความ
- ลิงฺคตฺถ
- กิริยาคุมพากย์
- วิวรณ
- สัญญี - สัญญา
- อิติ (นิทสฺสน, เหตฺวตฺถ, ปการตฺถ, สมาปนฺน, ปริสมาปนฺน)
- กิริยาปรามาส
- ปุจฺฉนตฺถ
- ยถา เอวํ (ฉันใมด - ฉันนั้น) (โดยประการใด - โดยประการนั้น)
3. คำเชื่อมในการสัมพันธ์มี 3 คำ
คำ ใน - ของ - เข้ากับ
- ใน...ตัวประธาน และทุติยาสัตตมีวิภัตติ เว้น สหตฺถตติยา (เข้ากับ)
- กิริยาวิเสสน
- อัพภันตรกิริยา เข้ากับกิริยา "ใน"
- เข้ากับตัวประธาน "ของ"
- ของ...วิเสสน, อพฺภนฺตรกิริยา, วิเสสลาภี, วิเสสนลิงฺควิปลฺลาส, วิเสสนวจนวิปลฺลาส
- เข้ากับ...อิติ (ชื่อว่า) และนิบาต คือ ว, เอว, วา, ปิ, จ, อปิ, อิว, วิย, นาม เป็นต้น
วิธีรวมคะแนน
เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รวมคะแนนเสียทั้งหมดแล้วเขียนไว้มุมบนด้านขวา
ของกระดาษใบตอบ โดยเขียนเป็นเลขไทย แต่ถ้านับเกิน 18 ก็ไม่ต้องนับต่อ ให้เขียนลงไป
ว่า ผิดเกิน 18

เมื่อเขียนคะแนนแล้ว ใหเ้ขียนคะแนนที่ปรับเป็น "ให้" หรือ "0" ไว้ที่มุมบนด้าน
ซ้าย ของกระดาษใบตอบ แล้วเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกรูป การให้คะแนนจึงจะถือว่าสมบูรณ์
กรรมการหนึ่งรูปสามารถให้คะแนนได้เพียงหนึ่ง "ให้" หรือ หนึ่ง "0" เท่านั้น
แล้วเซ็นชื่อกำกับ
(ใบแรกของทุก ๆ ปึก ให้เซ็นชื่อเต็มกำกับไว้ ใบต่อไปให้เซ็นชื่อเต็มหรือย่อก็ได้
ตามสะดวก)
ตัวอย่างการวมคะแนน
ให้ (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 1 *8
ให้ (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 2
0 (เซ็นชื่อ) กรรมการรูปที่ 3
ห้ามเขียนชื่อกำกับคะแนนที่ได้
โดยใช้ปากกาหมึกสีเดียวกัน

จากคู่มือ...กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง พ.ศ. 2540
โดยสำนักงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม.
ปรับปรุงแก้ไขโดยสำนักอบรมบาลีก่อนสอบ ภาค 2 ปี พ.ศ. 2545