เมนู

อรรถกถาและอรรถกถาจารย์


โดย รังษี สุทนต์1
บทนำ
คัมภีร์ที่บันทึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่พระสาวกทั้งหลายได้รวบรวม
ทรงจำสั่งสอนสืบต่อ คือ พระไตรปิฎก และได้อธิบายขยายความพระไตรปิฎก คือ
อรรถกถา ต่อมาพระสาวกทั้งหลายเห็นว่า " ข้อความที่อรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎกนั้น
ยังอธิบายไม่บริบูรณ์สิ้นเชิงและในอรรถกถาเองก็มีเนื้อหาบางตอนที่ยังเข้าใจยาก " จึงแต่ง
หนังสืออธิบายพระไตรปิฎกส่วนที่ยังไม่บริบูรณ์และอธิบายอรรถกถาส่วนที่เข้าใจยาก เรียกว่า
ฎีกา
พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ของพระสาวกทั้งหลาย
ของพระโพธิสัตว์ ของฤาษี และของเทวดา อรรถกถาเป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำอธิบาย
พระไตรปิฎก ฎีกาเป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำอธิบายพระไตรปิฎกและอรรถกถา สรุปแล้วคัมภีร์
ที่สำคัญมี 3 ระดับ คือ
1. พระไตรปิฎก2
2. อรรถกถา3
3. ฎีกา4
แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระไตรปิฎกและอรรถกถามิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
พระสาวกทั้งหลายได้ทรงจำนำสืบต่อกันมาด้วยวิธีมุขปาฐะ5

1 ป.ธ. 9, พธ.ม. ( พระพุทธศาสนา ), หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
2 พระไตรปิฎก แบ่งจัดพิมพ์เป็น พระวินัยปิฎก 8 เล่ม พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม พระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม.
3 อรรถกถา หนังสือที่อธิบายพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ จัดพิมพ์เร็จแล้วจำนวน 47 เล่ม ( ขาดเฉพาะ ธมฺมปทฏฺฐกถา )
ฉบับมหามกุฏ ฯ จัดพิมพ์ครบทั้งหมด และยังมี ธมฺมปทฏฺฐกถา 8 ภาค ฉบับที่ใช่เรียนด้วย.
4 ฎีกา ที่อธิบายอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาจัดพิมพ์ครบทั้งหมด จำนวน 23 เล่ม ( เฉพาะที่อธิบายสายพระไตรปิฎก ).
5 มุขปาฐะ หรือมุขปาฐ คือ คำที่ออกจากปาก, ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า ไม่ได้เขียนไว้, ต่อปากกันมา, พระ
ธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, 2543), หน้า 235.