วิสุทธิมรรคแปล ภาค 3
ตอนจบ
ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ
บัดนี้ วิสุทธิทั้งหลายใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "วิสุทธิอันเป็นมูล
2 คือ สีลวิสุทธิ 1 จิตตวิสุทธิ 1 อันพระโยคาวจรทำความพอกพูน
ความรู้โดยการเล่าเรียนและสอบถาม ในธรรมทั้งหลายที่เป็นภูมิ (แห่ง
วิปัสนามีขันธ์เป็นต้น) เหล่านี้แล้วพึงทำให้ถึงพร้อมเถิด " ดังนี้ ใน
วิสุทธิ 2 นั้น ศีล 4 อย่าง มีปาฏิโมกขสังสรศีลเป็นต้น ที่บริสุทธิ์ดี
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ อันศีล 4 อย่างนั้นข้าพเจ้าก็ได้ (กล่าว) ให้พิสดารใน
สีลนิเทศนั่นแล้ว สมาบัติ 8 พร้อมทั้งอุปจาร ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ แม้
สมาบัตินั้นเล่า ข้าพเจ้าก็ได้ (กล่าว) ให้พิสดารโดยอาการทั้งปวงใน
สมาธินิเทศที่กล่าวโดยหัวข้อคือจิตแล้วเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นวิสุทธิ
2 นั้น บัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้าได้ (กล่าว) ให้พิสดารแล้ว
ในนิเทศทั้งสองนั้นเถิด ส่วนคำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "วิสุทธิ 5 นี้
คือ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคญาณทัสนวิสุทธิ ปฏิปทา-
ญาณทัสนาวิสุทธิ ญาณทัสนวิสุทธิ เป็นสรีระ (คือเป็นตัวปัญญา)"
ดังนี้ ความเห็นนามและรูปโดยถ่องแท้ ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ ในคำนั้น
วิปัสนาวิธีแห่งสมภยานิกะ
พระโยคาวจรผู้ใคร่จะทำทิฏฐิวิสุทธินั้นให้ถึงพร้อม (ว่าด้วย) ผู้
ที่เป็นสมถยานิกะ1ก่อน ออกจากรูปาวจรฌาน และอรูปวจรฌานที่เหลือ
อันใดอันหนึ่ง ยกเว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ2 แล้วพึงกำหนดจับ
องค์ฌานทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับองค์ฌาน
นั้น โดยลักษณะและรสเป็นอาทิ ครั้นกำหนดจับได้แล้วพึงกำหนดลง
ว่าทั้งหมดนั่นเป็นนาม ด้วยอรรถว่าเป็นสิ่งที่น้อมไปได้ เพราะมันโน้ม
มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ ลำดับนั้น อุปมาดังบุรุษเห็นงูอยู่ในเรือนแล้ว
ติดตามมันไปก็จะพบที่อยู่ของมัน ฉันใดก็ดี แม้พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อสำรวจนามนั้นหาดูไปว่านามนี้อาศัยอะไรเป็นไป ก็จะ
พบหทัยรูปอันเป็นที่อาศัยของนามนั้น ต่อนั้นจึงกำหนดจับรูป คือภูตรูป
ทั้งหลายอันเป็นที่อาศัยแห่งหทัยรูป และอุปทายรูปที่เหลือ อันอาศัย
ภูตรูปอยู่ (ครั้นกำหนดจับได้แล้ว) เธอจึงกำหนดลงว่าทั้งปวงนั่นเป็น
รูป เพราะเป็นสิ่งสลายได้ แต่นั้นจึงกำหนดลงว่าทั้งปวงนั่นเป็น
โดยสังเขปว่า สิ่งที่มีความน้อมไปได้เป็นลักษณะเป็นนาม สิ่งที่มีอัน
สลายได้เป็นลักษณะเป็นรูป
1. สมถยานิกะ มหาฎีกาแปลว่า พระโยคาจรผู้มียานคือสมถะ และว่าคำนี้เป็นชื่อของพระโยคา-
วจรผู้ตั้งอยู่ในฌานหรืออุปจารแห่งฌานแล้วประกอบวิปัสนา
2. มหาฎีกาว่า ที่ท่านให้เว้นนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะภวัคคธรรม (ธรรมแห่งภพชั้นสูง)
กำหนดได้ยาก สำหรับอาทิกัมมิกะ
[วิปัสนาวิธัแห่ววิปัสนายานิกะ]
[กำหนดนามรูปโดยจตุธาตุววัฏฐาน]
ส่วนพระโยคาวจรผู้ที่เป็นวิปัสนายานิกะล้วน1 หรือผู้ที่เป็น
สมถยานิกะ (ตามที่กล่าวแล้ว) นี่เองก็ตาม กำหนดจับธาตุ 4 อย่าง
สังเขปหรืออย่างพิสดาร โดยธาตุปริคหมุข (ทางกำหนดธาตุ) นั้น ๆ
ที่กล่าวแล้วในจตุธาตุววัฏฐานมุขใดมุขหนึ่ง2 (ครั้นกำหนดจับได้แล้ว)
ลำดับนั้น ในธาตุทั้งหลายอันปรากฏชัดโดยรส (คือสภาวะที่พึงรู้แจ้ง)
และลักษณะของตนตามเป็นจริงแล้ว (จะว่า) ในผมซึ่งมีกรรมเป็น
สมุฏฐาน3ก่อน รูป 10 (ในผมนั้น) โดยบังคับแห่งกายทสกะ (กลุ่ม
รูป 10 ทั้งกาย) ดังนี้คือ ธาตุ 4 สี กลิ่น รส โอชา ชีวิต กายประสาท
รูป 10 โดยบังคับแห่งภาวทสกะ (กลุ่มรูป 10 ทั้งภาวะคือเพศ)
เพราะในผมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นและมีภาวะด้วย4 รูป 24 แม้
อื่นอีกในกลุ่มรูปที่มีชื่อว่าผมนั้นเหมือนกัน คือ โอชัฏฐมกรูป (กลุ่ม
รูปมีโอชาเป็นที่ 8) ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน โอชัฏฐมกรูปมีฤดูเป็น
สมุฏฐาน โอชัฏฐมกรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน (กลุ่มละ 8 รวมเป็น 24
กับข้างต้นอีก 20 รวมเป็น 44) ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นแล
1. วิปัสนายานิกะ คือผู้ประกอบววิปัสนาโดยไม่อาศัยสมถะ ใช้วิปัสนาเป็นยานเลยทีเดียว ที่ว่า
วิปัสนายานิกะล้วน ก็หมายความว่าไม่เจือปนด้วยสมถภาวนานั่นเอง
2. เช่นกำหนดโดยมุขสังเขปว่า สิ่งใดมีลักษณะแข้นแข็ง สิ่งนั้นเป็นปฐวีธาตุ เป็นต้น
3. มหาฎีกาว่า ผมนั้นเกิดติดอยู่ในหนัง จึงนับเป็นกรรมสมุฏฐาน
4. มหาฎีกาว่า ภาวะก็มีเอิบอาบอยู่ทั่วร่าง เช่นเดียวกับกายประสาทเหมือนกัน
(ในผม มีรูป 44 ฉันใด) ในโกฏฐาส 24 ที่เป็นจตุสมุฏฐาน
(หักโกฏฐาสที่จะแยกกล่าวต่อไปเสีย 8) ก็มีรูป (อย่างละ) 44 ๆ
ฉันนั้น ส่วนในโกฏฐาสที่มีฤดูและจิต (2 อย่าง) เป็นสมุฏฐาน 4 นี้
คือ เหงื่อ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก มีรูป (อย่างละ) 16 ๆ โดยบังคับ
แห่งโอชัฏฐมกรูป 2 กลุ่ม ในโกฏฐาสที่มีฤดูเป็นสมุฏฐาน (อย่าง
เดียว) 4 นี้ คืออาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำหนอง น้ำมูตร ก็มีรูป
(อย่างละ) 8 ๆ โดยบังคับแห่งโอชัฏฐมกรูป อันมีฤดูเป็นสมุฏฐาน
อย่างเดียว ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นแล นี่เป็นนัยในอาการ 32
เป็นดับแรก
อนึ่ง ครั้นอาการ 32 นี้ ปรากฏชัดแล้ว อาการ 10 อื่นอีก
(คือเตโชโกฏฐาส 4 และวาโยโกฏฐาส 6) เหล่าใด ย่อมปรากฏชัด
ในอาการเหล่านั้น ก่อนอื่นในเตโชโกฏฐาสอันเกิดแต่กรรมที่ยังอาหาร
ที่กินเข้าไปเป็นต้นให้ย่อย มีรูป 9 คือ โอชัฏฐมกรูป (8) และชีวิต-
รูป (1) นัยเดียวกัน ในโกฏฐาสคือลมหายใจอันเกิดแต่จิตก็มีรูป 9 คือ
โอชัฏฐมกรูป (8) และสัททรูป (1) ในโกฏฐาสที่เหลืออีก 8 (คือ
เตโช 3 วาโย 5) อันเป็นจตุสมุฏฐานมีรูป 33 ๆ คือ ชีวตินวกรูป
(9) และโอชัฏฐมกรูป 3 (=24) ปรากฏ (แก่พระโยคาวจรนั้น)
ครั้นภูตรูปและอุปทาทายรูปเหล่านี้เกิดปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น
โดยเป็นอาการ 42 อย่างพิสดารดังนี้แล้ว แม้รูปอื่นอีก 60 คือ รูป-
กลาป 5 มีจักขุทสกะเป็นต้น และหทยวัตถุทสกะ โดยเป็นวัตถุและ
ทวาร ก็ย่อมปรากฏ
พระโยคาวจรนั้น รวมรูปทั้งปวงนั้นเข้ากันโดยลักษณะ คือ
ความสลาย ก็เห็นว่า "นั่นเป็นรูป"
อรูปธรรมทั้งหลายก็ย่อมปรากฏ โดยเป็นทวาร แก่พระโยคาวจร
นั้นแหละผู้กำหนดจับรูปได้แล้ว อรูปธรรมนี้ได้อะไรบ้าง ได้แก่
โลกิยจิต 81 คือทวิปัญจวิญญาณ (=10) มโนธาตุ 3 มโนวิญญาณ
ธาตุ 68 อนึ่ง (ว่า) โดยไม่แปลกกัน (คือเป็นสาธารณะ) ได้แก่
เจตสิก 7 นี้ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา ชีวิต จิตตฐิติ (ความ
หยุดแห่งจิต คือสมาธิอย่างอ่อน)* มนสิการ อันเกิดร่วมกับจิตเหล่านั้น
แล
ส่วนโลกุตรจิตทั้งหลายจะถึงซึ่งความกำหนดจับเอาได้ แก่พระ
โยคาวจรสุทธวิปัสสก (ผู้เจริญวิปัสนาล้วน) ก็หามิได้ แก่พระโยคาวจร
สมถยานิกะก็หามิได้ เพราะยังมิได้บรรลุ
พระโยคาวจรนั้น รวมอรูปธรรมทั้งปวงนั้นเข้ากันโดยลักษณะ
คือความน้อมไปได้ ก็เห็นว่า "นั่นเป็นนาม"
พระโยคาวจรผู้หนึ่ง กำหนดนามรูปอย่างพิสดารโดยมุขจตุธาตุ-
ววัฏฐาน ดังพรรณนามาฉะนี้
[กำหนดนามรูปทางธาตุ 18]
พระโยคาวจรอีกผู้หนึ่งกำหนดนามรูปทางธาตุ 18 กำหนดอย่าง
ไร คือ ภิกษุในพระศาสนานี้อาวัชนาการถึงธาตุทั้งหลายว่า "มีอยู่ใน
* มีอธิบายในวิสุทธิมรรคแปล ขันธนิเทศ ภาค 3 ตอน 1 หน้า 96
อัตภาพนี้ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ" ดังนี้แล้ว ไม่ถือเอาก้อนเนื้อที่สายเอ็น
ยึดติดไว้ในเบ้าตา มีสัณฐานรี ๆ งดงาม (แปลก ๆ) ด้วยแววสีเทา
(ก็มี) และสีดำสนิท (ก็มี) ซึ่งชาวโลกรู้จักกันว่าจักษุ (ว่าเป็นจักขุ-
ธาตุ) (แต่) กำหนดเอาจักษุประสาท มีประการดังกล่าวไว้ในพวก
อุปาทายรูปในขันธนิเทศว่าเป็นจักขุธาตุ อนึ่ง รูปที่เหลือ 53 เหล่าใด
มีอยู่ดังนี้ คือ สหชาตรูป (ของจักษุประสาท) 9 ได้แก่ธาตุ 4 อัน
เป็นที่อาศัยแห่งจักษุประสาทนั้น รูป 4 คือ สี กลิ่น รส โอชา อัน
เป็นรูปแวดล้อม ชีวิตนทรีย์อันเป็นรูป (เจ้าหน้าที่) อนุบาย กรรมช-
รูป 20 โดยเป็นกายทสกรูป (10) และภาวทสกรูป (10) อันตั้ง
อยู่ในจักษุประสาทนั้นแหละ อนุปาทินนกรูป (คือกรรมชรูป) 24
โดยเป็นโอชัฏฐมกรูป 3 แห่งรูปที่เป็นอาหารสมุฏฐานเป็นต้น (9+
20+24=53) ก็ไม่กำหนดเอารูป 53 นั้นว่าเป็นจักขุธาตุ แม้ใน
ธาตุทั้งหลายมีโสตธาตุเป็นต้นก็นัยนี้ แต่ในกายธาตุ รูปที่เหลือเป็น
431 ฝ่ายอาจารย์ลางเหล่ากล่าวว่ามี 45 โดยทำรูปที่เป็นอุตุสมุฏฐาน
และจิตตสมุฏฐานเป็นกลุ่มละ 9 กับสัททรูป 2
พระโยคาวจรนั้นกำหนดว่า "รูป 10 คือ ประสาท 5 ดังกล่าว
มานี้ และวิสัยแห่งประสาทเหล่านั้น 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-
1. 2. มหาฎีกาว่า เพราะไม่ถือเอาเสียทสกะ 1 จึงเหลือ 43 รูปที่ไม่ถือเอานั้นดูเหมือนจะเป็น
สัททรูป ด้วยว่าสัททรูปเป็นอนิยตะ คือเป็นเสียงเกิดแต่ฤดู เช่นเสียงฟ้า เสียงลมพัด ฯลฯ
เรียกว่าสุทธสัททะ-เสียงแท้ก็มี เป็นเสียงเกิดแต่จิต คือเสียงที่คนพูด สัตว์ร้อง ทีเรียกว่าวจีวิญญัติ
ก็มี (?)