จตุตถสมันตปาสาทิกา
[275] จุลลวรรค วรรณนา
กัมมักขันธก วรรณนา
[ว่าด้วยตัชชนียกรรม]
วินิจฉัยในกัมมักขันธกะเป็นที่ 1 แห่งจุลลวรรค พึงทราบก่อน
ดังนี้ :-
บทว่า ปณฺฑุกโลหิตกา ได้แก่ ชน 2 ในพวกฉัพพัคคีย์ คือ
ปัณฑุกะ 1 โลหิตกะ 1. แม้นิสิตทั้งหลายของเธอทั้ง 2 ก็ปรากฏ
ชื่อว่า ปัณฑุกะ และ โลหิตกะ เหมือนกัน.
สามบทว่า พลวา พลวํ ปฏิมนฺเตถ มีความว่า ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้ดี ให้แข็งแรง.
บทว่า อลมตฺถตรา จ คือเป็นผู้สามารถกว่า.
ในองค์ 3 มี อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีความว่า กรรมที่ทำ
คือ ฟ้องร้องไม่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรมวินัย และบุคคล, ไม่สอบถามก่อน
ทำ, ทำด้วยไม่ปฏิญญาแห่งบุคคลนั้นแล.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำด้วยอาบัติปาราชิก หรือ
สังฆาทิเสส.
บรรดาติกะเหล่านี้ 9 บท ใน 3 ติกะต้น ทรงผสมทีละบท ๆ
กับ 2 บทนี้ คือ อธมฺเมน กตํ วคฺเคน กตํ ตรัสเป็น 9 ติกะ.
รวมทั้งหมดจึงเป็น 12 ติกะ ด้วยประการฉะนี้.
12 ติกะนี้แล ตรัสไว้แม้ในสุกกปักษ์ ด้วยอำนาจแห่งฝ่ายเป็น
ข้าศึกกัน.
สองบทว่า อนนูโลมิเกหิ คิหิสํสคฺเคหิ มีความว่า ด้วยการ
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ มีความเป็นผู้พลอยเศร้าโศกกับเขาเป็นต้น ซึ่ง
ไม่สมควรแก่บรรพชิต.
ข้อว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพํ เป็นต้น มีความว่า เป็นอุปัชฌาย์
อยู่แล้ว ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท, ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุอาคันตุกะ,
ไม่พึงรับสามเณรอื่นไว้.
สองบทว่า อญฺญา วา ตาทิสิกา ได้แก่ อาบัติที่เสมอกัน.
บทว่า ปาปฺฏฺฐตรา ได้แก่ อาบัติที่หนักกว่า.
[276] กรรมนั้น ได้แก่ ตัชชนียกรรม.
การอันภิกษุเหล่าใดทำแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ทำกรรม.
ข้อว่า น สวจนียํ กาตพฺพํ มีความว่า ตนอันภิกษุใดโจทย์
แล้วอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้าจะฟ้องท่านเป็นจำเลยในคดีนี้ และท่านอย่าก้าว
ออกจากอาวาสนี้แม้ก้าวเดียว ตลอดเวลาที่อธิกรณ์นั้นยังระงับไม่เสร็จ"
ภิกษุนั้นอันตนไม่พึงทำให้เป็นผู้ให้การ.
บทว่า น อนุวาโท มีความว่า ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าในวัด.
บทว่า น โอกาโส มีความว่า ไม่พึงให้ภิกษุอื่นทำโอกาสอย่างนี้
ว่า "ท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่จะพูดกะท่าน."
ข้อว่า น โจเทตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงโจทย์ภิกษุอื่นด้วยวัตถุ
หรืออาบัติ, คือไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การด้วยคำว่า "นี้เป็นโทษของ
ท่านหรือ ?"
ข้อว่า นํ สมฺปโยเชตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงช่วยกันและกัน
ให้ทำความทะเลาะ.
คำว่า ติณฺณํ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
เพื่อแสดงว่า "สงฆ์สมควรลงตัชชนียกรรม ด้วยองค์แม้อันหนึ่ง ๆ."
จริงอยู่ ความเป็นผู้ทำความบาดหมาง พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขู่. ความเป็นผู้มีอาบัติเนือง ๆ
ตรัสไว้เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุควรไร้ยศ, ความเป็นผู้ประทุษร้าย
สกุล ตรัสไว้เป็นองค์พิเศษ สำหรับภิกษุผู้ควรขับไล่. แต่สงฆ์สมควร
จะทำกรรมแม้ทั้งหมด ด้วยองค์อันใดอันหนึ่งใน 3 องค์นี้.
หากจะมีคำท้วงว่า "ถ้าเป็นเช่นนั้น, คำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ในจับเปยยักขันธกะว่า "สงฆ์ทำนิยสกรรมแต่ภิกษุผู้ควรจะลงตัชชนีย-
กรรม ฯ ล ฯ อัพภานผู้ควรอุปสมบท, อุบาลี กรรมไม่เป็นธรรม
และกรรมไม่เป็นวินัย ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แล เมื่อเป็นอย่างนั้น สงฆ์
ย่อมเป็นผู้มีโทษ" ดังนี้ ย่อมแย้งกับคำว่า ติณฺณํ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ
เป็นต้นนี้.
เฉลยว่า อันคำนี้จะแย้งกันหามิได้.
เพราะเหตุไร ?
เพราะใจความแห่งคำต่างกัน.
จริงอยู่ กรรมสันนิษฐานเป็นใจความแห่งคำนี้ว่า ตชฺชนีย-
กมฺมารหสฺส เป็นต้น. สภาพแห่งองค์เป็นใจความแห่งคำ เป็นต้นว่า
ติณฺณํ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น สงฆ์ประชุมกันทำ
กรรมสันนิษฐานว่า 277 "จะทำกรรมชื่อนี้ แก่ภิกษุนี้" ดังนี้ ใน
กาลใด, ในกาลนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่า ควรแก่กรรม เพราะเหตุนั้น
โดยลักษณะนี้ พึงเข้าใจว่า "กระทำนิยสกรรมเป็นต้น แก่ภิกษุผู้ควร
แก่ตัชชนียกรรมเป็นต้น เป็นกรรมผิดธรรม และเป็นกรรมผิดวินัย."
ก็ในองค์ทั้งหลาย มีความเป็นผู้ทำความบาดหมางเป็นต้น องค์
อันใดอันหนึ่งมีแก่ภิกษุใด, สงฆ์ปรารถนาจะทำแก่ภิกษุนั้น พึงกำหนด
กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยองค์อันใดอันหนึ่ง ในองค์ และกรรม
ทั้งหลายตามที่ตรงอนุญาตไว้แล้ว พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ควรแก่กรรม
แล้วทำกรรมเถิด. วินิจฉัยในคำทั้ง 2 นี้เท่านี้ เมื่อถือเอาวินิจฉัยอย่าง
นี้ คำหลังกับคำต้นย่อมสมกัน.
ในบาลีนั้น กรรมวาจาในตัชชนียกรรม พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ทำความบาดหมาง แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อ
จะทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก สงฆ์พึง
ทำกรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด, จริงอยู่ เมื่อทำ
อย่างนั้น กรรมเป็นอันทำแล้วด้วยวัตถุที่มี, และไม่เป็นอันทำด้วยวัตถุ
แห่งกรรมอื่น.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า แม้ตัชชนียกรรมนี้ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ให้นำด้วยวัตถุ กล่าวคือความเป็นผู้พาล เป็นผู้ไม่ฉลาด ดังนี้แล.
ในกรรมทั้งปวงมีนัยเหมือนกัน.
ข้าพเจ้าพรรณนาวัตถุแห่งความประพฤติชอบ 18 อย่าง ใน
ปาริวาสิกักขันธกะ.
สองบทว่า โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า เป็นผู้หายเย่อหยิ่ง.
อธิบายว่า "ประพฤติตามภิกษุทั้งหลาย."
สองบทว่า เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า วัตรนี้เป็นของภิกษุ
ทั้งหลายผู้ออก เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เนตฺถารํ วัตรของผู้ออก.
อธิบายว่า "ตนสามารถจะออกจากนิสสารณาด้วยวิธี 18 อย่างใด,
ย่อมประพฤติวิธี 18 อย่างอันนั้นโดยชอบ."
ถามว่า "ภิกษุผู้ถูกนิสสารณา บำเพ็ญวัตรสิ้นกาลเท่าไร ?"
ตอบว่า "10 วัน หรือ 20 วันก็ได้."
จริงอยู่ ในกัมมักขันธกะนี้ วัตรเป็นของที่ภิกษุพึงบำเพ็ญโดย
เท่านี้เท่านั้น.
[ว่าด้วยปัพพาชนียกรรม]
วินิจฉัยในเรื่องพระเสยยสกะ พึงทราบดังนี้ :-
ข้อว่า อปิสฺสุ ภิกฺขู ปกตตฺตา มีความว่า ก็แต่ว่าภิกษุทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้ขวนขวายเป็นนิตย์.
คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
[278] เรื่องพระอัชสชิและพระปุนัพพสุกะ ข้าพเจ้าได้กล่าว
แล้วในวรรณนาแห่งสังฆาทิเสส1 แต่วินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า กายิเกน
ทเวน ในเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การเล่นเป็นไปทางกาย เรียกชื่อว่า ความคะนองเป็นไปทางกาย.
แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความละเมิดสิกขาบทที่ทราบบัญญัติไว้ ในกายทวาร เรียกชื่อว่า
อนาจารเป็นไปทางกาย. แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความลบล้างด้วยข้อที่ไม่ศึกษาสิกขาบทที่ทราบบัญญัติไว้ ในกาย-
ทวาร เรียกชื่อว่า ความลบล้างเป็นไปทางกาย.
อธิบายว่า การผลาญ คือล้างผลาญ. แม้ใน 2 บทที่เหลือ
ก็นัยนี้แล.
การหุงน้ำมันและดองยาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทำแก่
คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไปทางกาย การรับ
และบอกข่าวสาสน์เป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพ
เป็นไปทางวาจา. กิจทั้ง 2 นั้น ชื่อว่ามิจฉาชีพ เป็นไปทั้งทางกาย
ทั้งทางวาจา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.
[ว่าด้วยปฏิสารณียกรรม]
ก็แล วินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้ :-
1. สมนฺต. ทุติย. 127