อธิบายสมาส
พระธรรมวราลังการ (จับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. 9) วัดโสมนัสวิหาร
เรียบเรียง
คำพูดในภาษาหนึ่ง ๆ มีทั้งคำพูดพิสดาร คือพูดอย่างเต็มความ
มีทั้งคำพูดย่อ คือพูดอย่างสั้น แต่เข้าใจความหมายกัน ได้เนื้อ
ความมาก และชัดเจน ในภาษาไทยเรา ก็มีความย่อเช่นนั้นเหมือนกัน
เช่น รถเทียมด้วยม้า ย่อมเป็นรถม้าเป็นต้น แม้ในภาษาบาลี ก็มีคำ
ย่อดุจเดียวกัน ถ้าย่อนามศัพท์ตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ให้เข้าเป็นบท
เดียวกัน เรียกว่า สมาส แปลว่าศัพท์ที่ย่อเข้า คือย่อให้สั้นเพื่อ
ใช้วิภัตติให้น้อมลงบ้าง เพื่อจะให้เนื้อความเข้ากันในทางสัมพันธ์
ืคือไม่ให้เข้าใจเขวไปว่า เนื้อความนั้น ๆ แยกไปเข้ากันบทอื่น ถึง
แม้ว่าเมื่อเข้าสมาสกันแล้ว วิภัตติจะไม่ลบก็ดี แต่มีประโยชน์ในอัน
ที่จะทำความแน่นอนลงไปว่าศัพท์นั้นเป็นอันเดียวกัน จะแยกจากกัน
ไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และบางคราวให้มีเนื้อความพิเศษขึ้นก็มี เช่น
พหุพพิหิสมาส ท่านนิยมให้แปลว่า มี ข้างหน้า ดัง อุ. ว่า กตกิจฺโจ
แปลว่า ผู้มีกิจอันทำแล้ว ดังนี้ และ อุ. ว่า ทูเรนิทานํ (วัตถุ)
มีนิทานในที่ไกล สมาสมีประโยชน์ดังกล่าวนี้ ฉะนั้น ท่านจึง
ได้จัดไว้เป็นไวยากรณ์ประเภทหนึ่ง ในบรรดาบาลีไวยากรณ์ทั้งหลาย.
วิเคราะห์แห่งสมาส
นามศัพท์ที่ยังไม่ประกอบด้วยวิภัตติ เรียก ศัพท์ เช่น มหนฺต
ศัพท์ ปุริสศัพท์ เป็นต้น ส่วนที่ประกอบด้วยวิภัตติแล้ว เรียกว่า
บท เช่น มหนฺโต เป็นบทหนึ่ง ปุรุโส เป็นบทหนึ่ง เมื่อกำหนด
ความต่างแห่งคำว่าศัพท์และบท ได้ดังนี้แล้ว พึงกำหนดคำว่าวิเคราะห์
ต่อไป.
วิเคราะห์แห่งสมาสนั้น ต้องประกอบพร้อมด้วยลักษณะดังนี้
ก. อนุบท บทน้อย ที่เรียงไว้หน้าบทปลง.
ข. บทปลงคือบทสมาส ที่ย่ออนุบทนั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน.
อุทาหรณ์
มหนฺโต ปุริโส มหาปุริโส. มหนฺโต ก็ดี ปุริโส ก็ดี เป็น
บทที่ยังแยกกันอยู่ จึงจัดเป็นอนุบท แต่ละบท ๆ, เมื่อเอา มหนฺโต
และ ปุริโส มาย่อมให้เข้ากัน เป็น มหาปุริโส คำว่า มหาปุริโส
ในวิเคราะห์นี้จึงเรียกว่า บทปลง หรือบทสมาส คือสำเร็จรูปเป็น
บทสมาส. โดยนัยนี้ วิเคราะห์หนึ่ง ๆ จึงมีทั้งอนุบทและบทปลง
แต่อนุบท (นอกจากทวันทวสมาส) ย่อมมี 2 บท และมี
ชื่อเรียกต่างกัน ตามที่อยู่หน้าหรือหลัง อนุบทที่อยู่หน้า เรียกว่า
บุพพบท ที่อยู่หลังเรียก อุตตรบท เหมือนอย่าง มหนฺโต ปุริโส
ทั้ง 2 นี้ มหนฺโต อยู่หน้า เรียกบุพพบท ปุริโส อยู่หลัง เรียก
อุตตรบท พึงกำหนดอนุบทซึ่งแยกเป็นบุพพบทและอุตตรบท และ
บทปลง ตามที่บรรยายมาฉะนี้.
สมาสนี้ เมื่อว่าโดยกิจคือการกระทำหรือรูปสำเร็จของวิเคราะห์
มี 2 คือ :-
1. ลุตตสมาส สมาสที่ลบวิภัตติ.
2. อลุตคสมาส สมาสที่ไม่ได้ลบวิภัตติ.
ก. ลุตตสมาส ได้แก่บทปลงหรือบทสำเร็จของสมาส ซึ่งท่าน
ลบวิภัตติแล้ว เพื่อจะใช้วิภัตติให้น้อยลง ถึงแม้จะมีกี่บทก็ตาม เมื่อ
เข้าสมาสกันแล้ว ใช้วิภัตติแต่บทเดียวเฉพาะบทหลังเท่านั้น เช่น
นีลํ อุปปลํ นีลุปฺปลํ.
ข. อลุตตสมาส ได้แก่บทสำเร็จของสมาส ซึ่งเมื่อเข้าสมาส
แล้ว คงวิภัตติได้ตามเดิม ถึงแม้จะนำไปใช้ในประโยคคำพูดใน
วิภัตติอะไรก็ตาม ก็คงใช้วิภัตติที่ต่อกันไว้เดิมนั้นคงที่ เป็นแต่
เปลี่ยนวิภัตติบทหลังไปเท่านั้น เช่น อุรสิโลมสฺส (พรหฺมณสฺส)
ปุตฺโต บุตรของพราหมณ์ผู้มีขนที่อก คำว่า อุรสิโลมสฺส เป็นอลุตตสมาส
คือ สฺมึ วิภัตติ ที่ อุร ซึ่งแปลงเป็น สิ ตามแบบมโนคณะ ยังคงอยู่
เมื่อเข้ากับ โลมศัพท์แล้ว นำไปใช้ สฺส วิภัตติ ก็คงใช้ลงที่บทหลัง
คือ โลม เท่านั้น อุรสิ คงไว้ตามเดิม.
รูปสำเร็จของสมาสเกี่ยวด้วยการันต์เป็นทีฆะ
บทหน้าของสมาส ถ้ามี อา. อี. อู การรันตี เมื่อเข้าสมาสกันแล้ว
ต้องรัสสะบ้าง คงไว้ตามเดิมบ้าง ดังกฎเกณฑ์ต่อไปนี้:-
อา การันต์
ก. ถ้าเป็นบทคุณ คือ วิเสสนะ เดิมเป็น อะ การันต์ แจกได้
ทั้ง 3 ลิงค์ เมื่อเป็นวิเสสนะของบทที่เป็นอิตถีลิงค์ เป็น อา การันต์
เข้าสมาสแล้วต้องรัสสะให้สั้น ตามสภาพเดิมของศัพท์นั้น เช่น อญฺญตรา
อิตฺถี อญฺญตริตฺถี หรือ อญฺญตรอิตฺถี หญิงคนใดคนหนึ่ง ปฏิมณฺฑิตา
อิตฺถี ปฏิมณฺฑิติตฺถี หรือ ปฏิมณฺฑิตอิตฺถี หญิงผู้ประดับแล้ว.
อญฺญตรา เป็นสัพพนาม เดิมเป็น อญฺญตร เป็นบทวิเสสนะ
ปฏิมณฺฑิตา เป็นคุณศัพท์ ทั้ง 2 นี้เมื่อเป็นวิเสสนะของ อิตฺถี ซึ่ง
เป็นอิตถีลิงค์ จึงเป็นอาการันต์ไปตามตัวประธาน เวลาเข้าสมาสแล้ว
ต้องรัสสะให้เป็นอย่างเดิมเสีย.
ข. อา การันต์ ที่เป็นบทนามนาม อิตถีลิงค์ เข้าสมาสแล้วไม่
ต้องรัสสะ เช่น :=
กญฺญานํ สหสฺสํ กญฺญาสหสฺสํ พันแห่งนางสาวน้อย.
ตารานํ คโณ ตาราคโณ หมู่แห่งดาว.
อี การันต์
ก. อี การันต์ ที่สำเร็จมาจาก อี ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต
เช่น เสฏฺฐี สิปฺปี หตฺถี และ ณี ปัจจัยในนามกิตก์ เช่น โยคี โยธี
เวธี เป็นต้น ต้องรัสสะ เป็น อิ อย่างนี้ :-
เสฏฺฐิโน ปุตฺโต เป็น เสฏฺฐิปุตฺโต บุตรแห่งเศรษฐี.
โยคิโน วตฺตํ เป็น โยคิวตฺตํ วัตรแห่งโยคี.
ข. อี การันต์ ที่เป็นบทนามนามมาเดิม หรือที่สำเร็จจาก
ปัจจัยอื่น เช่น สี. ตาวี. และ นี. ซึ่งเป็นเครื่องหมายอิตถีลิงค์
ทั้ง ปุํ. และ อิตฺ. เมื่อเข้าสมาสแล้วคงไว้ตามเดิม ไม่ต้องรัสสะ เช่น
ปุํ. ตปสฺสิโน กิจฺจํ ตปสฺสีกิจฺจํ กิจของผู้มีความเพียร.
เมธาวิโน สุขํ เมธาวีสุขํ สุขของคนมีปัญญา.
อิตฺ. อิตฺถี เอว รตนํ อิตฺถีรตนํ แก้วคือหญิง.
นทิยา ตีรํ นทีตีรํ ฝั่งแห่งแม่น้ำ.
เภริยา สทฺโท เภรีสทโท เสียงแห่งกลอง.
ภิกฺขุนีนํ สีลํ ภิกฺขุนีสีลํ ศีลของภิกษุณี.
อู การันต์
อู การันต์นี้ แม้ทั้งศัพท์เดิมและศัพท์ที่สำเร็จมาจากปัจจัย ก็คง
ไว้ตามเดิมทั้ง 2 ลิงค์ ไม่ต้องรัสสะ เช่น:-
ปุํ. กตญฺญู จ กตเวที จ กตญฺญูกตเวที ชนทั้งกตัญญูทั้งกตเวที.
อิตฺ. วธุยา สทฺโท วธูสทฺโท เสียงแห่งหญิงสาว.
บทสำเร็จของสมาสเนื่องด้วยสนธิ
เวลาเข้าสมาสกันแล้ว เพื่อจะให้อักษรให้น้อยลงอีก ควรสนธิ
บทที่สนธิกันได้ตามวิธีสนธินั้น ๆ จะอำนวยให้ ดังให้อุทาหรณ์ต่อไปนี้:-
ก. เพื่อไพเราะ เช่น อุ. เทวานํ อินฺโท เทวานมินฺโท ผู้เป็น
จอมแห่งเทวดา.
ข. เพื่อใช้อักษรให้น้อย เช่น อุ. ปญฺจ อินฺทฺริยานิ ปญฺจินฺทฺริยํ
อินทรีย์ 5.
ยังมีบทสนธิอีกอย่างหนึ่ง ที่มีข้อบังคับให้ใช้ในเวลาเข้าสมาส
กันแล้ว คือสัญโญคะ การซ้อนอักษร ก็การซ้อนอักษรนี้ มีกฎอยู่ว่า
้ถ้าบทหลัง เป็นพยัญชนะที่ 2 ในวรรคทั้ง 5 คือตัว ข ฉ ฐ ถ ผ
ต้องซ้อนอักษรที่ 1 ในวรรคนั้น ๆ เข้าข้างหน้า ให้เป็นตัวสะกดบท
หน้าเสมอไป ดังนี้:-
ก วรรค ปุญฺญสฺส เขตฺตํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ นาแห่งบุญ.
จ วรรค วฑฺฒมานกา ฉายา ยสฺสํ สา วฑฺฒมานกจฺฉายา (เวลา)
เวลามีเงาเจริญอยู่.
ฏ วรรค เสฏฺฐีโน ฐานํ เสฏฺฐิฏฺฐานํ ตำแหน่งแห่งเศรษฐี.
ต วรรค สารีปุตฺโต เถโร สารีปุตฺตตฺเถโร พระสารีบุตรเถระ.
ป วรรค มหนฺตํ ผลํ มหปฺผลํ ผลใหญ่.
สมาสมีชื่อ 6 อย่าง
1. กัมมธารยะ
2. ทิคุ
3. ตัปปุริสะ
4. ทวันทวะ
5. อัพยยีภาวะ
6. พหุพพิหิ.
1. กัมมธารยสมาส
นามศัพท์ที่มีวิภัตติและวจนะเสมอกันทั้ง 2 บท บทหนึ่งเป็น
ประธาน คือเป็นนามนาม อีกบทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม
หรือเป็นคุณนามทั้ง 2 บท มีบทอื่นเป็นประธานต่างหาก ที่ย่อเข้า
เป็นบทเดียวกัน ชื่อกัมมาธารยสมาส ๆ นั้น มีวิธีอยู่ 6 อย่าง ตาม
รูปขอคุณนามที่ท่านย่อมเข้า คือวิเสสนบุพพบท 1 วิเสสนุตตรบท 1
วิเสสโนภยบท 1 วิเสสโนปมบท 1 สัมภาวนบุพพบท 1 อวธารณ-
บุพพบท1.