เมนู

อธิบายสมาส
พระธรรมวราลังการ (จับ ฐิตธมฺโม ป.ธ. 9) วัดโสมนัสวิหาร
เรียบเรียง
คำพูดในภาษาหนึ่ง ๆ มีทั้งคำพูดพิสดาร คือพูดอย่างเต็มความ
มีทั้งคำพูดย่อ คือพูดอย่างสั้น แต่เข้าใจความหมายกัน ได้เนื้อ
ความมาก และชัดเจน ในภาษาไทยเรา ก็มีความย่อเช่นนั้นเหมือนกัน
เช่น รถเทียมด้วยม้า ย่อมเป็นรถม้าเป็นต้น แม้ในภาษาบาลี ก็มีคำ
ย่อดุจเดียวกัน ถ้าย่อนามศัพท์ตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ให้เข้าเป็นบท
เดียวกัน เรียกว่า สมาส แปลว่าศัพท์ที่ย่อเข้า คือย่อให้สั้นเพื่อ
ใช้วิภัตติให้น้อมลงบ้าง เพื่อจะให้เนื้อความเข้ากันในทางสัมพันธ์
ืคือไม่ให้เข้าใจเขวไปว่า เนื้อความนั้น ๆ แยกไปเข้ากันบทอื่น ถึง
แม้ว่าเมื่อเข้าสมาสกันแล้ว วิภัตติจะไม่ลบก็ดี แต่มีประโยชน์ในอัน
ที่จะทำความแน่นอนลงไปว่าศัพท์นั้นเป็นอันเดียวกัน จะแยกจากกัน
ไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และบางคราวให้มีเนื้อความพิเศษขึ้นก็มี เช่น
พหุพพิหิสมาส ท่านนิยมให้แปลว่า มี ข้างหน้า ดัง อุ. ว่า กตกิจฺโจ
แปลว่า ผู้มีกิจอันทำแล้ว ดังนี้ และ อุ. ว่า ทูเรนิทานํ (วัตถุ)
มีนิทานในที่ไกล สมาสมีประโยชน์ดังกล่าวนี้ ฉะนั้น ท่านจึง
ได้จัดไว้เป็นไวยากรณ์ประเภทหนึ่ง ในบรรดาบาลีไวยากรณ์ทั้งหลาย.
วิเคราะห์แห่งสมาส
นามศัพท์ที่ยังไม่ประกอบด้วยวิภัตติ เรียก ศัพท์ เช่น มหนฺต