อธิบายสมัญญาภิธานและสนธิ
พระอมราภิรักขิต (ทองดำ จนฺทูปโม ป. 7) วัดบรมนิวาส
เรียบเรียง
บาลีไวยากรณ์
บาลีไวยากรณ์ เป็นตำรับแสดงหลักแห่งภาษาที่ใช้พูดหรือ
เขียน ซึ่งนักปราชญ์จัดขึ้นไว้ เพื่อกุลบุตรรู้จักและเข้าใจในการที่
จะใช้ถ้อยคำให้ลงระเบียบเป็นอันเดียวกัน และไวยากรณ์ในภาษา
บาลีนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น 4 ภาค คือ :-
1. อักขรวิธี.
2. วจีวิภาค.
3. วากยสัมพันธ์.
4. ฉันทลักษณะ.
1. อักขรวิธี (อักขระ+วิธี) แบบแสดงอักษร จัดเป็น 2 คือ
สมัญญาภิธาน แสดงชื่ออักษรที่เป็นสระและพยัญชนะ พร้อมทั้ง
ฐานกรณ์ 1. สนธิ ต่ออักษรที่อยู่ในคำอื่น ให้เนื่องเป็น 6 ส่วน คือ
2. วจีวิภาค (วจี+วิภาค) แบ่งคำพูดออกเป็น 6 ส่วน คือ
นาม 1. อัพยยศัพท์ 1. สมาส 1. ตัทธิต 1. อาขยาต 1. กิตก์ 1.
3. วากยสัมพันธ์ (วากย+สัมพันธ์) ว่าด้วยการก คือผู้ทำ
และผู้ถูกทำ ตลอดถึงประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาร ให้เข้า
ประโยคเป็นอันเดียวกัน.
4. ฉันทลักษณะ (ฉันท+ลักษณะ) แสดงวิธีแต่งฉันท์ คือ
คาถาที่เป็นวรรณพฤทธิและมาตราพฤทธิ.
อักขรวิธี ภาคที่ 1
สมัญญาภิธาน
เนื้อความของถ้อยคำทั้งปวง ต้องหมายรู้กันด้วยอักขระ เมื่อ
อักขระวิบัติ เช่นผิดพลาดตกหล่น เนื้อความก็บกพร่อง เข้าใจได้ยาก
บางทีถึงเสียความ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดหรือเขาไปได้ต่าง ๆ เช่น
โจร ซึ่งแปลว่า โจร แต่ผู้อื่นว่าอักขระไม่ชัด ว่าเป็น โจล ผู้ฟังอาจ
เข้าใจเป็นอย่างอื่นไป เพราะ โจล เป็นชื่อของผ้าท่อนเล็กท่อนน้อย
เช่น ปริกฺขารโจลํ ผ้าท่อนเล็กที่ใช้เป็นบริขารของภิกษุ ดังนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ฉลาดในอักขระ จึงเป็นอุปการะในการที่จะใช้
ถ้อยคำ ให้ผู้อื่นเข้าใจตามความประสงค์ของตนได้ถูกต้อง.
อักขระมี 2 อย่าง คือ 1. สระ คือเสียง 2. พยัญชนะ คือ
ตัวหนังสือ. สระและพยัญชนะทั้ง 2 นั้น รวมกันเรียกว่าอักขระ.
(อักขระ ตัดหรือแยกออกเป็น อ=ขร, อ แปลว่า ไม่ ขร แปล
ว่า สิ้น, แข็ง) โดยนัยนี้ คำว่า อักขระ ท่านจึงแปลไว้ 2 อย่าง คือ
ไม่รู้จักสิ้น อย่าง 1 ไม่เป็นของแข็ง อย่าง 1.
ที่แปลงว่า ไม่รู้จักสิ้น นั้น เพราะสระและพยัญชนะทั้ง 2 อย่างนั้น
จะใช้พูดหรือเขียนสักเท่าใด ๆ ก็ไม่หมดสิ้นไปเลย.
ที่แปลว่า ไม่เป็นของแข็ง นั้น เพราะสระและพยัญชนะนั้น ๆ
ที่เป็นของชาติใดภาษาใด ก็ใช้ได้สะดวกตามชาตินั้นภาษานั้น ไม่
ขัดข้อง
อักขระ ในภาษาบาลี มี 41 ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ
โอ, ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฎ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น,
ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ ํ (อํ).
สระ
ในอักขระ 41 ตัวนั้น อักขระเบื้องต้น 8 ตัว คือ ตั้งแต่ อ จน
ถึง โอ เรียกว่า สระ. ออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำพยัญชนะ
ให้ออกเสียงได้. ที่ออกเสียงได้ตามลำพังตนเองนั้น พึงเห็นตัวอย่าง
ดังต่อไปนี้.
อ. เช่น อ-มโร อุ เช่น อุ-ฬุ
อา " อา-ภา อู " อู-กา
อิ " อิ-ณํ เอ " เอ-สิกา
อี " อี-สา โอ " โอ-ชา
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ซึ่งเป็นพยางค์หน้าของคำนั้น ๆ ล้วน
เป็นสระซึ่งออกเสียงได้ตามลำพึงตนเอง ส่วนที่ทำพยัญชนะให้ออก
เสียงนั้น เช่น
สขา นี้เสียง อ กับ อา สิขี นี้เสียง อิ กับ อี
อุฬู " อุ " อู เสโข " เอ " โอ
เพราะ สระ ทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้เช่นนั้น ท่านจึงเรียกว่า
นิสัย คือเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะต้องอาศัยสระ
จึงออกเสียงได้ ในสระ 8 ตัวนั้น อ อิ อุ 3 ตัวนั้น จัดเป็นรัสสะ
มีเสียงสั้น เช่น อุทธิ ส่วน อ อี อู 3 ตัวนี้ จัดเป็นทีฆะ มีเสียง
ยาว เช่น ภาคี วธู แต่ เอ โอ 2 ตัวนี้ เป็นทีฆะก็มี รัสสะก็มี คือ
ถ้าไม่มีพยัญชนะสังโยค คือตัวสะกดที่ซ้อนอยู่เบื้องหลัง เช่น เสโข
ดังนี้เป็นทีฆะมีเสียงยาว แต่ถ้ามีพยัญชนะสังโยค คือตัวสะกดที่ซ้อน
อยู่เบื้องหลัง เช่น เสยฺโย โสตฺถิ ดังนี้เป็นต้นเป็น รัสสะ มีเสียงสั้น.
สระที่เป็น รัสสะ ล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยค (ตัวสะกด) และ
ไม่มี นิคคหิต อยู่เบื้องหลัง เรียก ลหุ มีเสียงเบา เช่น ปติ มุนิ.
สระที่เป็น ทีฆะ ล้วนก็ดี สระที่เป็น รัสสะ มีพยัญชนะสังโยค
ก็ดี สระที่มี นิคคหิต อยู่เบื้องหลังก็ดี เรียก ครุ มีเสียงหนัก เช่น
ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ เป็นต้น.
สระนั้น จัดเป็นคู่ได้ 3 คู่ คือ :-
1. อ อา เรียก อ วัณโณ
2. อิ อี " อิ วัณโณ
3. อุ อู " อุ วัณโณ
ส่วน เอ โอ 2 ตัวนี้ เป็น สังยุตสระ คือประกอบเสียงสระ
2 ตัวเป็นเสียงเดียวกัน ดังนี้ :-
อ กับ อิ ผสมกันเป็น เอ
อ กับ อุ " " โอ
พยัญชนะ
อักขระที่เหลือจากสระนั้น 33 ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็น
ที่สุด ชื่อพยัญชนะ คำว่า พยัญชนะ แปลว่าทำเนื้อความให้ปรากฏ
และเป็นนิสิต คือต้องอาศัยสระ จึงจะออกเสียงได้ โดยนัยนี้ สระ
กับ พยัญชนะ ต่างกัน สระ แปลว่า เสียง ออกเสียงได้ตามลำพังตน
เอง และทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ เรียกว่า นิสัย เป็นที่อาศัย
ของพยัญชนะ ส่วน พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ และ
เป็นนิสิต ต้องอาศัยสระออกสำเนียง.
สระ และ พยัญชนะ จะใช้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นย่อมไม่ได้
เพราะลำดังสระเอง แม้ออกเสียงได้ ถ้าพยัญชนะไม่อาศัยแล้ว ก็จะ
มีเสียงเป็นอย่างเดียวกันหมด ถ้าพยัญชนะไม่ชัด ยากที่จะ
สังเกตได้ เช่นจะถามว่า ไปไหนมา ถ้าพยัญชนะไม่อาศัย สำเนียง
ก็จะเป็นตัว อ เป็นอย่างเดียวไปหมดว่า "ไอ ไอ๋ อา" ต่อพยัญชนะ
เข้าอาศัยจึงจะออกสำเนียงปรากฏชัดว่า "ไปไหนมา" ดังนี้ ส่วน
พยัญชนะถ้าไม่อาศัยสระ ก็ไม่มีสำเนียงออกมาได้ ฉะนั้น พยัญชนะ
ทุกตัวจึงต้องอาศัยสระออกสำเนียง.
พยัญชนะ 33 ตัวนี้ จัดเป็น 2 พวก คือ ที่เป็นพวก ๆ กัน
ตามฐานกรณ์ที่เกิด เรียก วรรค 1. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตาม
ฐานกรณ์ที่เกิด เรียก อวรรค 1. พยัญชนะวรรค จัดเป็น 5 วรรค
มีวรรคละ 5 ตัว เรียกตามพยัญชนะที่อยู่ต้นวรรค ดังนี้ :-
ก ข ค ฆ ง 5 ตัวนี้ เรียกว่า ก วรรค
จ ฉ ช ฌ ญ 5 ตัวนี้ " จ "
ฏ ฐ ฑ ฌ ณ 5 ตัวนี้ " ฏ "
ต ถ ท ธ น 5 ตัวนี้ " ต "
ป ผ พ ภ ม 5 ตัวนี้ " ป "
ในพยัญชนะ 5 วรรคนี้ วรรคใด มีพยัญชนะตัวใดนำหน้า
วรรคนั้น ก็ชื่อว่าเรียกตามพยัญชนะตัวนั้น เช่นวรรคที่ 1 มี นำหน้า
เรียกว่า ก วรรค และวรรคที่ 2 มี จ นำหน้า เรียกว่า จ วรรค
ดังนี้เป็นต้น.
พยัญชนะอีก 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ํ แต่ละตัวมี
ฐานกรณ์ต่างกัน ไม่เกิดร่วมฐานกรณ์เดียวกัน จึงจัดเป็น อวรรค
แปลว่าไม่เป็นพวกกัน ตามฐานกรณ์ที่เกิด.
5. พยัญชนะ คือ ํ เรียกว่านิคคหิต ก็มี เรียกว่า อนุสาร
ก็มี. นิคคหิต แปลว่า กดสระ คือ กดเสียงหรือกดกรณ์ คือ กด
อวัยวะที่ทำเสียง เวลาที่จะว่า ไม่ต้องอ้าปากเกินกว่าปกติ เหมือน
ว่าทีฆสระ ส่วนคำว่า อนุสาร แปลว่า ไปตาม คือพยัญชนะ คือ ํ
นี้ต้องไปตามหลังสระที่เป็นรัสสะ คือ อ อิ อุ เสมอ เช่นคำว่า อหํ
เสตุํ อกาสึ เป็นต้น พยัญชนะ คือ ํ นี้ นับว่าแปลกกว่าพยัญชนะ
อื่น ๆ เพราะพยัญชนะอื่น ๆ ตามที่เขียนด้วยอักษรไทย เอาสระเรียง
ไว้ข้างหน้าบ้าง ช้างหลังบ้าง ข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง และอาจ
เรียงได้ไม่จำกัด เช่น