วิธีเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท
ความเบื้องต้น
ตั้งแต่สนามหลวงแผนกธรรม ได้ประกาศให้ใช้หนังสือพุทธ-
ศาสนสุภาษิต เล่ม 2 เป็นหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโทแล้ว
เวลาออกข้อสอบไล่ท่านออกเพียงข้อเดียว แต่มาในรูปคาถาคือครบ
ทั้ง 4 บาท ( อันต่างจากสมัยก่อนซึ่งท่านออกไม่ครบคาถา คือคัดเลือก
ออกมาเพียง 2 บาท ท่านเรียกว่า 2 ข้อ ) มีคำสั่งบังคับไว้ว่า
" แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร อ้างสุภาษิตอื่น
มาประกอบไม่น้อยกว่า 2 ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่ง
สุภาษิตนั้นด้วย ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน แต่จะอ้างซ้ำคัมภีร์
ได้ไม่ห้าม สุภาษิตที่อ้างมานั้นต้องเรียงเชื่อมความให้สนิท
ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในกระดาษสอบ ตั้งแต่ 3 หน้า
( เว้นบรรทัด ) ขึ้นไป "
ตามคำสั่งนี้ จะเห็นได้ว่าในการเรียงความแก้กระทู้ธรรม น.ธ.
โท และ ธ.ศ. โท นั้น มีข้อสำคัญที่นักเรียนจะพึงกำหนดหมาย 3
ประการ คือ :-
1. ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง.
2. แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร.
3. อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า 2 ข้อ และบอกชื่อ
คัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย ไม่อ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน แต่
อ้างซ้ำคัมภีร์ได้.
ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นองค์แห่งการเรียนความแก้กระทู้ธรรม
น. ธ. โท และ ธ. ศ. โท ในการแต่งของนักเรียน ถ้าไม่ครบองค์ 3
คือขาดเสียแต่องค์ใดองค์หนึ่ง หรือเพียงแต่บกพร่องเท่านั้น เป็นอัน
ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น นักเรียนจะต้องตระหนักในองค์ทั้ง 3 นั้นให้
มาก และองค์ที่ต้องตระหนักให้มากที่สุด ก็คือองค์ที่ 1 คือเชื่อม
ความ เพราะเป็นองค์ที่สำคัญ เป็นองค์ที่เป็นเครื่องแสดงความรู้และ
ความสามารถของนักเรียน ในคราวสอบซ้อมและสอบไล่ ครูและ
คณะกรรมการย่อมเพ่งเล็งถึงองค์นี้ก่อนทีเดียว และเพ่งเล็งมากที่สุด
ส่วนอีก 2 องค์นอกนี้ ถึงจะสำคัญเหมือนกันก็จริง แต่ยังเป็นรอง
องค์ที่ 1 เพราะฉะนั้น ในการเรียน นักเรียนต้องพยายามฝึกฝนองค์
ที่ 1 ให้มากที่สุด และให้ชำนิชำนาญที่สุด ที่กล่าวมาแล้วนี้ ดูเป็น
ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อองค์ที่ 2 และองค์ที่ 3 เลย อันที่แท้หาเป็นเช่นนั้นไม่
ความมุ่งหมายมีอยู่ว่า ถ้าได้ฝึกฝนองค์ที่ 1 มากที่สุด และชำนิ
ชำนาญที่สุดแล้ว ก็เป็นอันได้ฝึกฝนองค์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหมือนกัน
เพราะองค์ทั้ง 3 นั้นเกี่ยวเนื่องกันอยู่ในตัว ซึ่งนักเรียนคงจะทราบได้
ในภายหลัง.
แต่นี้ จักบรรยายองค์ทั้ง 3 นั้นให้พิสดารออกไปสักเล็กน้อย
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ไว้ และเพื่อให้เป็นคู่คิดสำหรับการเรียงความ
แก้กระทู้ธรรม หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มาก็น้อย.
องค์ที่ 1
เรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อสมกับเรื่องกระทู้ตั้ง
การที่จะเข้าใจในองค์ที่ 1 นี้ นักเรียนพึงศึกษาให้เข้าใจ ภาพ
สังเขป ของกระทู้สำเร็จรูปเสียก่อน ดังต่อไปนี้
กระทู้ตั้ง
คำเริ่มต้น
ประเด็นที่ 1
1 เบื้องต้นตีความหมาย ประเด็นที่ 2
อธิบายประเด็นที่ 1 1 ที่เชื่อมสำคัญที่สุด
อ้างสุภาษิตมาประกอบ
อธิบายสุภาษิตที่อ้าง 2 ที่เชื่อม
น้อมเข้าหาประเด็นที่ 1 อีก
นำไปเชื่อมกับประเด็นที่ 2 3 "
2 ท่ามกลางขยายความ อธิบายประเด็นที่ 2
อ้างสุภาษิตมาประกอบ 1 ที่เชื่อมสำคัญที่สุด
อธิบายสุภาษิตที่อ้าง
น้อมเข้าหาประเด็นที่ 2 อีก 2 ที่เชื่อม
นำไปเชื่อมกับประเด็นที่ 3 3 "
( ถ้ามี )
เก็บใจความที่สำคัญทุก ๆ ประเด็นมาเรียงย่อติดต่อ
เป็นเรื่องสั้นบรรจุความมาก.
3 ที่สุดสรุปความ สมาทปนะ ชักชวนให้ปฏิบัติ.
ชักกระทู้ตั้งมารับสมอ้างเป็นการย้ำหัวตะปูให้แน่น.
อธิบายภาพสังเขป
เมื่อนักเรียนเขียนกระทู้ตั้งพร้อมทั้งคำแปลเรียบร้อยแล้ว ควร
เขียนคำเริ่มต้นเป็นการปรายหน้าธรรมาสน์สักเล็กน้อยก่อน ประมาณ
2-3 บรรทัดเป็นอย่างมาก.
อันดับแรก ก่อนที่จะเรียงความ นักเรียนพึงทำความเข้าใจใน
เรื่องของกระทู้ตั้งที่ท่านให้มานั้นโดยรอบคอบ ซึ่งเรียกกันว่า ตีความ
หมาย ตีให้แตกว่าในกระทู้นั้นมีธรรม มีบุคคล มีเหตุ มีผล เกี่ยว
เนื่องกันอย่างไรบ้าง แล้วคิดหาข้อธรรมที่จะนำมาแสดงพร้อมทั้งข้อ
อ้างหรือตัวอย่างสาธก แล้วจึงวางเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์แยกเป็น
ประเด็น ๆ อย่างน้อย 2 ประเด็น อย่างมาก ไม่มีจำกัดกี่ประเด็นก็ได้
การวางหลักเกณฑ์นี้ประดุจการวางแผนผังสร้างอาคารฉะนั้น.
อันดับที่ 2 นักเรียนพึงพิจารณาเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์ที่ตน
วางไว้ว่าควรจะแต่งเติมเสริมต่ออย่างไร ตอนนี้เรียกกันว่า ขยายความ
แล้วก็แต่งขยายไปตามเค้าโครงนั้นเฉพาะประเด็นที่ 1 ก่อน การขยายนี้
ต้องขยายให้เด่นชัดยิ่ง ๆ ขึ้น แต่ระวังอย่าให้พลความเหลือเฟือเป็น
น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง การจะขยายให้เด่นชัดนี้จำต้องมีหลักมุ่งไป
หาหลักคือสุภาษิต เราจะเอาสุภาษิตบทใดมาอ้างก็ต้องพูดให้เนื้อความ
สนิทสนมกลมกลืนกับบทนั้น แล้วอ้างคือวางสุภาษิตนั้นยืนยันไว้
แล้วอธิบายสุภาษิตที่อ้างนั้นให้เนื้อความชัดเจน ไม่ใช่ยกมาวางไว้
เฉย ๆ แล้วพ้นไป และอธิบายน้อมเข้าหาประเด็นที่ 1 อีก เพื่อให้
เนื้อความสนิทกับเรื่องของกระทู้ตั้ง เมื่อเชื่อมความในประเด็นนี้
เรียบร้อยแล้ว พึงพลิกกลับไปดูเค้าโครงประเด็นที่ 2 ว่าตนวางไว้
อย่างไร แล้วก็พูดชักเนื้อความจากประเด็นที่ 1 นำไปเชื่อมกับประเด็น
ที่ 2 และอธิบายขยายความในประเด็นที่ 2 ให้เด่นชัดยิ่ง ๆ ขึ้น
อธิบายติดต่อกันไปโดยนัยนี้ทุก ๆ ประเด็น ( โปรดสังเกตภาพให้ดี )
การอธิบายขยายความไปตามเค้าโครงหรือหลักเกณฑ์เช่นนี้ มีอุปมาดั่ง
นางช่างผู้ฉลาดสามารถสร้างอาคารได้ตามแผนผังฉะนั้น.
อันดับที่ 3 เมื่อนักเรียนมาแก้ขยายความให้กว้างออกไปชัดเจน
ดีทุก ๆ ประเด็นแล้ว ในที่สุดต้องวกกลับเข้าหาจุดเดิมอีก ตอนนี้
เรียกว่า สรุปความ คือนักเรียนพึงพลิกกลับไปอ่านดูตั้งแต่ต้นจนตลอด
แล้วเก็บใจความที่สำคัญทุก ๆ ประเด็นมาเรียงโดยย่อ ๆ ติดต่อเป็นเรื่อง
สั้น แต่บรรจุความมากให้พอเหมาะพอสมกับกระทู้ตั้ง แล้วยักย้าย
สำนวนชวนให้ผู้อ่านผู้ฟังหรือผู้ใคร่ในธรรมเกิดความเชื่อความเลื่อมใส
สนใจปฏิบัติ แล้วยกเอากระทู้ตั้งมารับสมอ้างเป็นการย้ำหัวตะปูให้แน่น
กระชับเข้าอีกครั้งหนึ่ง การสรุปความเช่นนี้ก็เพื่อจะให้รูปความแห่ง
กระทู้งดงามยิ่งขึ้น เปรียบประดุจการสร้างอาคารเสร็จแล้ว หากยัง
ไม่ได้ทาสีก็ยังดูไม่งาม ต่อเมื่อได้ทาสีให้พอเหมาะพอควรก็จะชวนให้
น่าดูน่าชมยิ่งขึ้นฉะนั้น.
กระทู้ที่แต่งได้ตามภาพสังเขปดังกล่าว ย่อมได้ชื่อว่ามีความงาม
3 อย่าง คือ :- อาทิกลฺยาณํ งามในเบื้องต้น
มชฺเฌกลฺยาณํ งามในท่ามกลาง
ปริโยสานกลฺยาณํ งามในที่สุด.
ตัวอย่างโดยสังเขป
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ย่อมนำประโยชน์มาทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติชื่อว่า
เป็นผู้ขึ้นสู่ทางเป็นที่ไปสวรรค์และนิพพาน.
บัดนี้จะได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ลิขิตไว้
ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ สำหรับผู้สนใจ
ในทางธรรมเป็นลำดับไป
ในธรรมภาษิตนี้มีข้อความเป็น 3 ประเด็น คือ 1. กล่าวถึง
บุคคลผู้มีขันติ 2. สรรเสริญผู้มีขันติว่าเป็นผู้นำประโยชน์คือความสุข
ความเจริญมาให้ทั้งแก่ตนและผู้อื่น 3. ผู้มีขันติมีโอกาสได้ไปสู่สวรรค์
ตลอดถึงพระนิพพาน. ประเด็นแรกเป็นเหตุของ 2 ประเด็นหลัง,
2 ประเด็นหลังเป็นผลของประเด็นแรก, ดังจะแยกขยายอธิบายเนื้อ
ความเป็นข้อ ๆ ต่อไปนี้ :-
บรรดาประเด็นทั้ง 3 นั้น เฉพาะประเด็นที่ 1 ท่านกล่าวถึง
บุคคลผู้มีขันติ คือผู้ตั้งอยู่ในขันติธรรมนั่นเอง ก็คำว่าขันติธรรม