ปัญหาและเฉลยธรรม น.ธ. เอก
[สำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก]
ธรรมวิจารย์
ข้อความทั่วไป
ถาม. ธรรมวิจารณ์ แปลว่ากระไร ? ทำไมท่านจึงว่าเป็นกิจ
จำปรารถนาและเป็นอุปการะแก่ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติ จะเป็นได้อย่างไร ?
ตอบ. ธรรมวิจารณ์ แปลว่าการเลือกฟั้นธรรม เป็นกิจ
จำปรารถนา และเป็นอุปการะแก่ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างเยี่ยม
ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติ ถ้าไร้ความพิจารณาสอดส่องเลือกฟั้นข้อธรรม
แล้ว ก็ไม่อาจทราบได้ว่า เรื่องนั้น ๆ ท่านผู้กล่าวในท้องเรื่อง มุ่ง
กล่าวด้วยหมายความอย่างไร สมจริงหรือฝืนคติธรรมดา กินความ
กว้างแคบตื้นลึกเพียงไหน ถ้าศึกษาไปด้วยมีการพิจารณาเลือกฟั้น
ไปด้วย ก็สามารถรู้เนื้อความนั้น ๆ ได้โดยตลอด และจักรู้ได้ว่า
อย่างไหนเป็นสัทธรรมแท้ อย่างไหนเป็นสัทธรรมปฏิรูป ก็จักแหวก
ธรรมปฏิรูปอันเข้ามากำบังปัญญาจักษุเสียได้ เป็นแนวทางให้ลง
สันนิษฐานได้โดยถนัด ถ้ายิ่งเป็นผู้ปฏิบัติก็ยิ่งสำคัญ ถ้าไม่ใช้ความ
สอดส่องเลือกฟั้น เห็นท่านว่าไว้อย่างไร ก็จักปฏิบัติไปอย่างนั้น
ไม่รู้จักผิด ไม่รู้จักถูก ก็จักต้องตกอยู่เกณฑ์ที่ปฏิบัติไปด้วยความ
งมงาย ถ้าความเข้าใจผิด หรือท่านแสดงไว้ผิด ก็จักต้องปฏิบัติผิด
เรื่อยไปไม่มีทางที่จะถอนตัวออกจากทางที่ผิดได้ ถ้ามุ่งศึกษาปฏิบัติ
ไปด้วยความสอดส่องพิจารณาเลือกฟั้น ก็จักปฏิบัติดำเนินไปแต่ใน
แนวทางที่ถูก ย่อมบรรลุผลอันเป็นที่ต้องประสงค์ได้โดยไม่ลำบาก
เพราะเหตุนี้ การพิจารณาเลือกฟั้นธรรม จึงเป็นกิจประจำปรารถนา
เป็นอุปการะแก่ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติ.
ส. ป.
ถ. สัทธรรมชนิดไหน เรียกสัทธรรมปฏิรูป ? สัทธรรมปฏิรูป
นั้นเกิดขึ้นจากอะไร ?
ต. สัทธรรมชนิดที่ปลอมหรือเทียมไม่ใช่สัทธรรมแท้ เรียกว่า
สัทธรรมปฏิรูป. เกิดขึ้นจากความเห็นผิดหรือเข้าใจผิดของผู้เรียบเรียง
เมื่อเรียบเรียงไปแม้ผิดก็หารู้ไม่ ด้วยเข้าใจว่าของตนถูก แล้วได้นำมา
ปนไว้ในสัทธรรมที่แท้.
ส. ป.
ถ. เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ปรากฏว่า ได้
ทำสังคายนาร้อยกรองธรรมวินัยกันเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ และได้นำ
ต่อ ๆ กันมา เช่นนี้ สัทธรรมปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ? จงแสดง.
ต. เกิดขึ้นได้. เพราะเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ใหม่ ๆ พระอรหันต์ท่านได้ร้อยกรองนำสืบ ๆ กันมา มาถึงรุ่นหลัง ๆ
นี้ ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นเพียงกัลยาณชน แม้เช่นนั้นก็ยังดี มิหนำ
ซ้ำต่อ ๆ มาอีก ก็ปรากฏว่าเป็นปุถุชน เมื่อจะทำก็มักจะเป็นไปโดย
สันนิษฐานเอาบ้าง เป็นไปตามความเคยชินเชื่อถือกันบ้าง แล้วก็
เอามาปนคละไว้กับสัทธรรมที่แท้ ต่อมาใคร่ไม่ทันได้พิจารณา พอ
เห็นเข้าหรือได้ยินเจ้า ก็พาให้เข้าใจว่าเป็นสัทธรรมแท้ เลยจำกัน
ต่อ ๆ มาอีก นี่แลสัทธรรมปฏิรูป มีทางที่จะเกิดขึ้นด้วยอาการ
อย่างนี้.
ส.ป.
ถ. ในที่มาบางแห่งท่านกล่าวไว้ว่า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่มี
เพียงใด พระสัทธรรมก็ยังทรงอยู่เพียงนั้น เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิด
ขึ้น พระสัทธรรมย่อมอันตรธาน ท่านทั้งหมายทราบหรือไม่ว่า ใคร
อย่างนี้.
ต. พอทราบบ้าง. โมฆบุรุษ คือบุรุษเปล่าในพระศาสนานี้
นั่นเอง เป็นผู้ยังพระสัทธรรมให้อันตรธาน.
ส.ป.
ถ. มีพระบาลีว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาาย ธมฺมานุธมฺม-
ปฏิปนฺโน โหติ รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นี้ท่านประสงค์ความอย่างไร ? จงแสดง
ต. ท่านประสงค์ความว่า ผู้ที่จะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมนั้น ต้องเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึง การที่จะรู้ได้เช่นนั้น
ต้องอาศัยการศึกษาโดยใช้ความวิจารณ์ในธรรมนั้น ๆ ในถ่องแท้
ให้รู้พร้อมทั้งความหมายและเหตุผล แล้วน้อมนำมาปฏิบัติ นี้ย่อม
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ส. ป.
นิพพิทา
ถ. ในปรมัตถปฏิปทา มีธรรมเป็นที่ตั้งเป็นกระทู้เท่าไร ? อะไร
บ้าง ? ข้อไหนหมายความอย่างไร ?
ต. มี 6 คือ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน.
นิพพิทา หมายความว่าหน่ายในสังขารซึ่งเกิดด้วยปัญญา, วิราคะ
หมายความว่าสิ้นกำหนัดในสังขาร สืบมาจากนิพพิทา, วิมุตติ หมาย
ความว่าความหลุดพ้นจากอาสวะ 3 เพราะสิ้นกำหนัด, วิสุทธิ หมาย
ความว่าผ่องแผ้วแห่งจิต เพราะพ้นจากความเศร้าหมอง ด้วยสำรอก
จากกิเลสกามหรือจากอาสวะแล้ว, สันติ หมายความว่าความสงบแห่ง
จิตที่ผ่องแผ้ว, นิพพาน หมายความว่าดับกิเลสและกองทุกข์สิ้นเชิง.
2473
ถ. คำว่า โลก ท่านยกขึ้นกล่าวไว้ในธรรมวิจารณ์ส่วนนิพพิทา
นั้น ท่านหมายเอาอะไร ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชวนให้มาดูโลก
โดยมีพระประสงค์อย่างไร ?
ต. คำว่าโลก โดยตรงหมายเอาแผ่นดินอันเป็นที่อาศัย โดย
อ้อมหมายเอาหมู่สัตว์ที่อาศัย การที่ชวนให้มาดูโลก ก็โดยมีพระ
ประสงค์จะให้พิจารณาดูให้รู้จักของจริง เพราะในโลกซึ่งกล่าวนี้
ย่อมประกอบด้วยสิ่งทั้งมีคุณและมีโทษ สิ่งที่ให้โทษโดยส่วนเดียว
เปรียบด้วยยาพิษก็มี สิ่งที่ให้โทษในเมื่อเกินพอดี เปรียบด้วยของ
มึนเมาก็มี สิ่งอันเป็นอุปการะเปรียบด้วยอาหารและเภสัชอันสบายก็มี
แต่ใช้ในทางผิดอาจให้โทษได้. รวมความว่า ในโลกย่อมมีพร้อมมูล
บริบูรณ์ด้วยสิ่งที่มีคุณและมีโทษ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงชวน
ให้ดู ก็ด้วยมีพระประสงค์เพื่อให้ผู้รู้จักสิ่งที่เป็นจริง จักได้ละสิ่งที่
เป็นโทษ ไม่ข้องไม่ติดในสิ่งที่เป็นคุณ.
ส. ป.
ถ. โลกที่ตระการตาย่อมเป็นที่ติดของคนทุกคนมิใช่หรือ เหตุ
ไฉน พระบรมศาสดาจึงทรงชวนให้มาดูเล่า ก็เท่ากับพระองค์ทรงล่อ
ให้ติดน่ะซิ ?
ต. ไม่เป็นเช่นนั้น จะคิดก็แต่คนโว่คนพาล ผู้มีปัญญาย่อม
ไม่ติด ที่พระองค์ชักชวนให้ดู ก็ให้ดูซึ่งลงไปต่างหาก คือให้ดูถึง
คุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์แห่งเรื่องนั้น ๆ มิให้ตื่นเต้นติดไป
ตาม เช่นเดียวกับดูละคร มิใช้หลงชมความสวยงามต่าง ๆ ให้เพ่งดู
คติดีและชั่ว กำหนดเล่ห์เหลี่ยมของคนฉลาดและคนเขลา มิใช่เพื่อ
ให้เมาไปตามสิ่งนั้น แม้พระองค์ก็ยังได้ตรัสไว้ว่า ยตฺถ พาลา
วิสีทนฺติ เป็นที่ซึ่งคนพาลหมกอยู่ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ผู้รู้ทัน
ไม่ข้องไม่ติด. นี้ก็แสดงให้เห็นว่า คนพาลต่างหากที่หมกหลงละเลิง
ไปในโลก บัณฑิตทั้งหลายหาหลงละเลิงไม่ เป็นวิธีชี้แนะอยู่ในตัว
แล้วว่า โลกซึ่งตระการนั้น ถ้าผู้ใดหมกอยู่ ผู้นั้นก็เป็นพาล ถ้า
ผู้ใดรู้เท่า ผู้นั้นก็เป็นบัณฑิต เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอันว่าพระองค์
ทรงล่อให้ติด.
ส. ป.
ถ. เพราะเหตุไร คนพาลจึงต้องหมกอยู่ในโลก ? ต่างจาก
บัณฑิตอย่างไร ?
ต. เพราะว่าในโลกคือชุมนุมมนุษย์ ทั้งถิ่นที่สำนัก ย่อม
ประกอบด้วยสิ่งอันให้โทษโดยส่วนเดียว เปรียบด้วยยาพิษก็มี สิ่งอัน
ให้โทษในเมื่อเกินพอดี เปรียบด้วยของมึนเมาก็มี สิ่งอันเป็นอุปการะ
เปรียบด้วยอาหารและเภสัชอันสบายก็ดี แต่ใช้ในทางผิดอาจให้โทษ
ก็ได้. คนพาล ผู้ไร้พิจารณ์ ไม่หยั่งเห็นโทษโดยถ่องแท้ ย่อม
เพลิดเพลินติดในสิ่งอันให้โทษ ย่อมละเลิงตนเกินพอดีในสิ่งอันอาจ
ให้โทษ ย่อมติดในส่งเป็นอุปการะ ชื่อว่าหมกอยู่ในโลก ถอนตน
ไม่ออก. ได้รับผลต่างจากบัณฑิต คือย่อมได้เสวยทุกข์บ้าง สุขบ้าง
อันสิ่งนั้น ๆ พึงอำนวย แม้สุขก็เป็นเพียงสามิส คือมีเหยื่อเจือด้วย
ของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความคิดดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้ เป็น
ผู้อันจะพึงจูงไปตามปรารถนา. ต่างจากบัณฑิต เพราบัณฑิตย่อม
พิจารณาเห็นความจริงแห่งสิ่งนั้น ๆ แล้ว ไม่ข้องไม่พัวพันในสิ่งอัน
ล่อใจ อันใคร ๆ ไม่อาจยั่วให้ติดด้วยประการใดประการหนึ่ง ย่อม
เป็นอิสระด้วยตน เช่นนี้ย่อมได้สุขเป็นนิรามิส คือหาเหยื่อมิได้ เป็น
สุขสุขุมเกิดภายใน.
ส. ป.