เมนู

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสวิตักกสวิจารธรรมที่เกิดภายหลัง วิตก และรูป-
ชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

22. นัตถิปัจจัย


23. วิคตปัจจัย


[425] วิตักกสวิจารธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกสวิจาร-
ธรรมด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของวิคต-
ปัจจัย.

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.
อวิคตปัจจัย เหมือนกับ อัตถิปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม แห่งปัญหาวาระ


สุทธมูลกนัย


[426] ในเหตุปัจจัย มี 11 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 21 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 23 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 25 วาระ ในสมนันตร-
ปัจจัย มี 25 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 30 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี
28 วาระ ในนิสสยปัจจัย มี 30 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 25 วาระ
ในปุเรชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอาเสวน-
ปัจจัย มี 21 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 11 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 21 วาระ

ในอาหารปัจจัย มี 11 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 11 วาระ ในฌานปัจจัย
มี 21 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 16 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 11 วาระ ใน
วิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 30 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 25
วาระ ในวิคตปัจจัย มี 25 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 30 วาระ.
ปัจจัยฆฏนา เหมือนกับ กุสลติกะ นั่นเทียว. การนับปัญหาวาระ
ผู้มีปัญญาพึงกระทำอย่างนี้.
อนุโลม จบ

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ


[427] 1. สวิตักกสวิจารธรรม เป็นปัจจัยแก่สวิตักกสวิจาร-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[428] 2. สวิตักกสวิจารธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิตักกวิจาร-
มัตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.