เมนู

18. ธัมมหทยวิภังค์


สัพพสังคาหิกวาระ


[1073] ขันธ์มีเท่าไร ? อายตนะมีเท่าไร ? ธาตุมีเท่าไร ?
สัจจะมีเท่าไร ? อินทรีย์มีเท่าไร ? เหตุมีเท่าไร ? อาหารมีเท่าไร ?
ผัสสะมีเท่าไร ? เวทนามีเท่าไร ? สัญญามีเท่าไร ? เจตนามีเท่าไร ?
จิตมีเท่าไร ?

[1074] ขันธ์มี 5 อายตนะมี 12 ธาตุมี 18 สัจจะมี 4 อินทรีย์มี
22 เหตุมี 9 อาหารมี 4 ผัสสะมี 7 เวทนามี 7 สัญญามี 7 เจตนามี 7
จิตมี 7.
[1075] ในธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 เป็นไฉน ?
คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5.
[1076] อายตนะ 12 เป็นไฉน ?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ
คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ
ธัมมายตนะ.
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 12.
[1077] ธาตุ 18 เป็นไฉน ?
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต-
วิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ
ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ 18.
[1078] สัจจะ 4 เป็นไฉน ?
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ
เหล่านั้นเรียกว่า สัจจะ 4.
[1079] อินทรีย์ 22 เป็นไฉน ?
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์
มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์1 อัญญินทรีย์
อัญญาตาวินทรีย์.
เหล่านั้นเรียกว่า อินทรีย์ 22.
[1080] เหตุ 9 เป็นไฉน ?
คือ กุศลเหตุ 3 อกุศลเหตุ 3 อัพยากตเหตุ 3
ในเหตุ 9 เหล่านั้น กุศลเหตุ 3 เป็นไฉน ?
คือ กุศลเหตุ คือ อโลภะ กุศลเหตุ คือ อโทสะ กุศลเหตุ คือ อโมหะ
เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ 3.
อกุศลเหตุ 3 เป็นไฉน ?
คือ อกุศลเหตุ คือ โลภะ อกุศลเหตุ คือ โทสะ อกุศลเหตุ คือ โมหะ
เหล่านี้ เรียกว่า อกุศลเหตุ 3.
อัพยากตเหตุ 3 เป็นไฉน ?

1. ม. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
หรือในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย.
เหล่านั้นเรียกว่า อัพยากตเหตุ.
[1081] อาหาร 4 เป็นไฉน ?
คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร 4.
[1082] ผัสสะ 7 เป็นไฉน ?
คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.
เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ 7
[1083] เวทนา 7 เป็นไฉน ?
คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิด
แต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนา
เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา 7.
[1084] สัญญา 7 เป็นไฉน ?
คือ สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาเกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาเกิด
แต่ฆานสัมผัส สัญญาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาเกิดแต่กายสัมผัส สัญญาเกิด
แต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา 7.

[1085] เจตนา 7 เป็นไฉน ?
คือ เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาเกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาเกิด
แต่ฆานสัมผัส เจตนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาเกิดแต่กายสัมผัส เจตนาเกิด
แต่มโนธาตุสัมผัส เจตนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา 7.
[1086] จิต 7 เป็นไฉน ?
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาน ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.
เหล่านี้เรียกว่า จิต 7.

อุปปัตตานุปปัตติวาระ


กามธาตุ


[1087] ในกามธาตุมีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ?
ในกามธาตุ มีขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 สัจจะ 3 อินทรีย์ 22
เหตุ 9 อาหาร 4 ผัสสะ 7 เวทนา 7 สัญญา 7 เจตนา 7 จิต 7
บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 ในกามธาตุ เป็นไฉน ?
คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5 ใน
กามธาตุ.

อายตนะ 12 ในกามธาตุ เป็นไฉน ?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้
เรียกว่า อายตนะ 12 ในกามธาตุ.
ธาตุ 18 ในกามธาตุ เป็นไฉน ?