เมนู

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริต กล่าวคือ ตัณหา
108 ดังนี้นั่นแหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ตัณหาวิจริตนิทเทส จบ

ในทิฏฐิคตนิทเทส


คำว่า พฺรหฺมชาเล เวยฺยากรเณ ได้แก่ พระสูตรที่หนึ่งแห่ง
คัมภีร์ทีฆนิกาย อันเป็นคำไวยากรณ์ ชื่อว่า พรหมชาละ. คำว่า วุตฺตานิ
ภควตา
ได้แก่ ภาษิตที่พระศาสดา ตรัสโดยพระองค์เอง. ในคำว่า จตฺตาโร
สสฺสตวาทา
เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบประเภท และเนื้อความแห่งทิฏฐิ
โดยนัยที่กล่าวในพรหมชาลสูตร มีคำว่า เต จ โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา
กิมาคมฺม กิมารพฺภ สสฺสตวาทา สสฺสตํ อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ปญฺญ-
เปนฺติ จตูหิ วตฺถูหิ
เป็นต้น นั่นแหละ (แปลว่า ก็สมณพราหมณ์ ผู้
เจริญ ซึ่งมีวาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติว่า
อัตตา และโลกเที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ) ดังนี้.
วรรณนาขุททกวัตถุวิภังค์ในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี จบ

18. ธัมมหทยวิภังค์


สัพพสังคาหิกวาระ


[1073] ขันธ์มีเท่าไร ? อายตนะมีเท่าไร ? ธาตุมีเท่าไร ?
สัจจะมีเท่าไร ? อินทรีย์มีเท่าไร ? เหตุมีเท่าไร ? อาหารมีเท่าไร ?
ผัสสะมีเท่าไร ? เวทนามีเท่าไร ? สัญญามีเท่าไร ? เจตนามีเท่าไร ?
จิตมีเท่าไร ?

[1074] ขันธ์มี 5 อายตนะมี 12 ธาตุมี 18 สัจจะมี 4 อินทรีย์มี
22 เหตุมี 9 อาหารมี 4 ผัสสะมี 7 เวทนามี 7 สัญญามี 7 เจตนามี 7
จิตมี 7.
[1075] ในธรรมเหล่านั้น ขันธ์ 5 เป็นไฉน ?
คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ 5.
[1076] อายตนะ 12 เป็นไฉน ?
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ
คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ
ธัมมายตนะ.
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ 12.
[1077] ธาตุ 18 เป็นไฉน ?
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต-
วิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ