เมนู

ก็คำว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เป็นทิฏฐิของผู้ชอบ
ตรึกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. คำว่า อนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุด) ได้แก่
ทิฏฐิของบุคคลผู้ถือปริตตกสิณ (กสิณมีอารมณ์เล็กน้อย) โดยความเป็นอัตตา.
คำว่า อนนฺตวา ได้แก่ ทิฏฐิของผู้ถือกสิณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ. คำว่า
อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (แปลว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ได้แก่
ทิฏฐิอันเกิดขึ้น เพราะถือเอากสิณในเบื้องบนและเบื้องต่ำที่มีที่สุด และถือ
เอากสิณในเบื้องขวางที่ไม่มีที่สุดว่าเป็นอัตตา. คำว่า เนวนฺตวา นานนฺตวา
(แปลว่า อัตตามีที่สุดก็มิใช่ หาที่สุดมิได้ก็มิใช่) ได้แก่ทิฏฐิของพวกชอบคิด
เท่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อัฏฐกนิทเทส จบ

อรรถกถานวกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 9


คำว่า อาฆาตวัตถุ 9 นี้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย. ธรรม
ทั้งหลายที่ชื่อว่า ปุริสมละ เพราะเป็นมลทินต่อบุรุษ. คำว่า นววิธา ได้แก่
มลทิน 9 อย่าง หรือว่า 9 ประเภท.

ตัณหามูลธรรม


คำว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหา คำว่า ปริเยสนา
ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตัณหายังมีอยู่ อารมณ์
มีรูปเป็นต้นนั้นก็มีอยู่. คำว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น.
จริงอยู่ เมื่อการแสวงหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็มีอยู่.