เมนู

จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม


บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ ดังนี้ ที่ชื่อว่า
โลกธรรม เพราะเป็นธรรมของชาวโลก. สัตว์โลกทั้งหลาย ชื่อว่า พ้นจาก
โลกธรรมเหล่านี้ย่อมไม่มีเลย โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมมีแม้แก่พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายเทียว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โลกธรรม ดังนี้.
บทว่า ปฏิฆาโต ได้แก่อาการคือ การกระทบจิต. คำว่า ลาเภ สาราโค
(แปลว่า ความยินดีในลาภ) ได้แก่ ความยินดี อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
โสมนัสอันอิงอาศัยเรือนอย่างนี้ว่า เราย่อมได้ลาภ ดังนี้ ความยินดีนั้นจึง
ชื่อว่า กระทบจิต. คำว่า อลาเภน ปฏิวิโรโธ (แปลว่า ความยินร้ายใน
ความเสื่อมลาภ) ได้แก่ ความยินร้ายอันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งโทมนัส
ว่า เราย่อมไม่ได้ลาภ ดังนี้ ความยินดียินร้ายแม้นั้น ย่อมกระทบจิต เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ปฏิฆาตะ. แม้ในคำว่า ความ
ยินดีในยศเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า
เรามีบริวารมาก เรามีบริวารน้อย เราได้รับความสรรเสริญ เราได้รับการ
นินทา เราถึงสุข เราถึงทุกข์ ดังนี้. คำว่า อนริยโวหารา ได้แก่ โวหาร
(คำพูด) ของบุคคลผู้มิใช่พระอริยะ.
โทษทั้งหลายของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสโทส. คำว่า น สรามิ ได้แก่
ย่อมแก้ตัว ย่อมให้คนหลุดพ้น โดยความเป็นผู้ไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึก
ไม่ได้ กำหนดไม่ได้ซึ่งฐานะแห่งกรรมนอันเราทำแล้ว. คำว่า โจทกํเยว
ปฏิปฺผรติ
ได้แก่ เป็นผู้ขัดเเย้งกันแผ่ไป คือย่อมตั้งอยู่ด้วยความเป็น ผู้โต้-
เถียงกัน. คำว่า กินฺนุ โข ตุยฺหํ ความว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการ
กล่าวของท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด คือ ย่อมแสดงว่า ท่านย่อมไม่รู้เรื่องวัตถุ

แห่งอาบัติ ย่อมไม่รู้จักการตำหนิ. อธิบายว่า แม้ท่านเองก็ไม่รู้จักอาบัติ
ท่านจึงสำคัญคำอะไร ๆ อันบุคคลพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนั้น โทษนั้นย่อมครอบงำ
ท่าน. คำว่า ปจฺจาโรเปติ ความว่า ย่อมกล่าวยกอาบัติขึ้นว่า ท่านนั่นแหละ
ต้องอาบัติ เป็นต้น. คำว่า ปฏิกโรหิ ได้แก่ ย่อมแสดงว่า ท่านจงแสดง
เทสนาคามินี (คือการแสดงอาบัติตั้งแต่ถุลลัจจัย จนถึงอาบัติต่ำสุด) จงออก
จากวุฏฐานคามินี (คือ ออกจากอาบัติสังฆาทิเสส) เมื่อตั้งมั่นอยู่ในความ
บริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้น จึงควรทักท้วงผู้อื่น ดังนี้. คำว่า อญฺเญนญฺญํ
ปฏิจรติ
ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อนซึ่งเหตุอย่างอื่นด้วยเหตุอื่น หรือว่า กลบ-
เกลื่อนซึ่งถ้อยคำด้วยถ้อยคำ. คำว่า อาปตฺตึ อาปนฺโนสิ ได้แก่ ย่อม
กล่าวว่า ใครพูดว่าเราต้องอาบัติ เราต้องอาบัติอะไร ต้องอาบัติอย่างไร
ต้องอาบัติที่ไหน ย่อมพูดอะไร ๆ อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสงฆ์กล่าวว่า อาบัติอะไร ๆ เห็นปานนี้ ท่านเห็น
หรือ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่พึง ย่อมไม่น้อมโสตเข้าไป. คำว่า พหิทฺธา
กถํ อปนาเมติ
ได้แก่ ถูกสงฆ์ถามว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้หรือ. ภิกษุผู้ถูก
ถามนั้น ก็จะพูดเป็นอย่างอื่นว่า กระผมจะไปเมืองปาฏลีบุตร. เมื่อสงฆ์ถาม
อีกว่า พวกเราย่อมไม่ถามการไปเมืองปาฏลีบุตรของเธอ ดังนี้. ภิกษุนั้นก็จะ
พูดต่อไปว่า เราไปสู่เมืองราชคฤห์. สงฆ์กล่าวว่า ท่านจะไปเมืองราชคฤห์
หรือไปบ้านพราหมณ์ก็ตาม เธอก็ต้องอาบัติ ดังนี้. บรรดาคำพูดนอกเรื่อง
เหล่านั้น เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า เนื้อสุกรอันเราได้แล้ว เป็นต้น ชื่อว่า ย่อม
พูดสับสน. คำว่า โกปํ ได้แก่ ความเป็นผู้โกรธแล้ว. คำว่า โทสํ ได้แก่
เป็นผู้ประทุษร้ายแล้ว. คำแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นชื่อของความโกรธนั่นแหละ.
คำว่า อปฺปจฺจยํ ได้แก่ กิริยาที่ไม่สันโดษ. คำนี้เป็นชื่อของโทมนัส. คำว่า

ปาตุกโรติ ได้แก่ ย่อมแสดง ย่อมประกาศ. คำว่า พาหาวิกฺเขปกํ ภณติ
ได้แก่ แกว่งแขนพูดถ้อยคำอันไม่มียางอาย. คำว่า วิเหเสติ ได้แก่ ย่อม
เบียดเบียน ย่อมเสียดสี. คำว่า อนาทยิตฺวา ได้แก่ ไม่ถือเอาด้วยความ
เคารพยำเกรง คือ ดูหมิ่น และไม่เอื้อเฟื้อ. คำว่า อติพาฬฺหํ ได้แก่
แน่วแน่ยิ่งเกินประมาณ. คำว่า มยิ พฺยาวฏา ได้แก่ ถึงการขวนขวายใน
เรา. คำว่า หีนายาวตฺติตฺวา อธิบายว่า ลาเพศมาเป็นคฤหัสถ์ เพื่อต้อง
การเป็นคนเลว. ค่าว่า อตฺตมนา โหถ ได้แก่ ย่อมกล่าวโดยประสงค์ว่า
ท่านทั้งหลาย จงมีจิตยินดี จงได้สิ่งอันเราพึงได้ จงอยู่ในที่อันเราพึงอยู่ จง
อยู่อย่างผาสุกอันเราทำแล้วเพื่อท่านทั้งหลาย ดังนี้.
วาทะอันเป็นไปในคำว่า อัตตาไม่มีสัญญา ชื่อว่า อสัญญีวาทะ.
อสัญญีวาทะนั้น มีอยู่แก่บุคคลเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึง
ชื่อว่า อสัญญีวาทะ. ความเห็นผิดว่า อัตตามีรูป ในคำว่า รูปี อตฺตา
เป็นต้น ความว่า ทิฏฐิว่า อัตตามีรูป ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้ฌาน เพราะยึด
ถือกสิณรูปว่าเป็นอัตตา. ส่วนความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌานย่อมมีด้วยสักว่าการ
ตรึกเท่านั้น เหมือนความเห็นผิดของอาชีวกทั้งหลาย. ก็แล ความเห็นผิดว่า
อัตตาไม่มีรูป ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ได้ฌานเท่านั้น เพราะถือเอานิมิตในอรูปสมาบัติ
ว่าเป็นอัตตา. ความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌาน ย่อมมีเพียงความตรึกอย่างเดียว
เหมือนความเห็นผิดของพวกนิครนถ์. ก็ในที่นี้ บัณฑิตพึงสอบสวนถึงเหตุให้
แน่นอนในความเป็นแห่งอัตตาอันไม่มีสัญญาทีเดียว. เพราะว่า บุคคลผู้มีความ
เห็นผิด ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ย่อมเป็นราวกะคนบ้า. คำว่าอัตตาทั้งที่มีรูป
และไม่มีรูป
ได้แก่ ความเห็นผิดที่ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ยึด
ถือเอารูปฌานและอรูปฌานปะปนกัน. ทิฏฐินี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้รูปาวจร
และอรูปาวจรสมาบัติบ้าง แก่ผู้ตรึกเอาเองบ้าง.

ก็คำว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เป็นทิฏฐิของผู้ชอบ
ตรึกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. คำว่า อนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุด) ได้แก่
ทิฏฐิของบุคคลผู้ถือปริตตกสิณ (กสิณมีอารมณ์เล็กน้อย) โดยความเป็นอัตตา.
คำว่า อนนฺตวา ได้แก่ ทิฏฐิของผู้ถือกสิณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ. คำว่า
อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (แปลว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ได้แก่
ทิฏฐิอันเกิดขึ้น เพราะถือเอากสิณในเบื้องบนและเบื้องต่ำที่มีที่สุด และถือ
เอากสิณในเบื้องขวางที่ไม่มีที่สุดว่าเป็นอัตตา. คำว่า เนวนฺตวา นานนฺตวา
(แปลว่า อัตตามีที่สุดก็มิใช่ หาที่สุดมิได้ก็มิใช่) ได้แก่ทิฏฐิของพวกชอบคิด
เท่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อัฏฐกนิทเทส จบ

อรรถกถานวกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 9


คำว่า อาฆาตวัตถุ 9 นี้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย. ธรรม
ทั้งหลายที่ชื่อว่า ปุริสมละ เพราะเป็นมลทินต่อบุรุษ. คำว่า นววิธา ได้แก่
มลทิน 9 อย่าง หรือว่า 9 ประเภท.

ตัณหามูลธรรม


คำว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหา คำว่า ปริเยสนา
ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตัณหายังมีอยู่ อารมณ์
มีรูปเป็นต้นนั้นก็มีอยู่. คำว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น.
จริงอยู่ เมื่อการแสวงหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็มีอยู่.