เมนู

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 8


กิเลสวัตถุ1 คือ กิเลสทั้งหลายนั่นแหละ. คำว่า กุสตวตฺถูนิ ได้แก่
วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน คือความขี้เกียจ อธิบายว่าเป็นเหตุแห่งความ
เกียจคร้าน. คำว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ (แปลว่า เราจักต้องทำการงาน)
ได้แก่ การงานที่ต้องทำมีการพิจารณาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น. คำว่า น วิริยํ
อารภติ
(แปลว่า ไม่ปรารภความเพียร) ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียร แม้ทั้ง
2 อย่าง. คำว่า อุปฺปตฺสฺส ได้แก่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง มีฌาน วิปัสสนา
มรรคและ ผล. คำว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
อันนั้นนั่นแหละ. คำว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งฌาน
วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง. คำว่า อิทํ ปฐมํ
อธิบายว่า การจมลงอย่างนี้ว่า เชิญท่านเถิด เราจะนอน ดังนี้ นี้เป็นกุสีต-
วัตถุข้อที่หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
ก็ในคำว่า มาสาจิตํ มญฺเญ (แปลว่า เป็นเหมือนถั่วหมัก) ได้แก่
ถั่ว อันบุคคลให้เปียกชุ่มแล้วด้วยน้ำ ชื่อว่า ถั่วหมัก. อธิบายว่า ถั่วหมัก
เปียกชุ่มแล้วย่อมเป็นของหนัก ฉันใด กายของผู้เกียจคร้านนั้นย่อมหนัก ฉัน
นั้น.
คำว่า คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ ได้แก่ ภิกษุเพิ่งจะหายป่วย.

1. กิเลสวัตถุ 8 คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ

จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม


บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐสุ โลกธมฺเมสุ ดังนี้ ที่ชื่อว่า
โลกธรรม เพราะเป็นธรรมของชาวโลก. สัตว์โลกทั้งหลาย ชื่อว่า พ้นจาก
โลกธรรมเหล่านี้ย่อมไม่มีเลย โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมมีแม้แก่พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายเทียว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โลกธรรม ดังนี้.
บทว่า ปฏิฆาโต ได้แก่อาการคือ การกระทบจิต. คำว่า ลาเภ สาราโค
(แปลว่า ความยินดีในลาภ) ได้แก่ ความยินดี อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
โสมนัสอันอิงอาศัยเรือนอย่างนี้ว่า เราย่อมได้ลาภ ดังนี้ ความยินดีนั้นจึง
ชื่อว่า กระทบจิต. คำว่า อลาเภน ปฏิวิโรโธ (แปลว่า ความยินร้ายใน
ความเสื่อมลาภ) ได้แก่ ความยินร้ายอันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งโทมนัส
ว่า เราย่อมไม่ได้ลาภ ดังนี้ ความยินดียินร้ายแม้นั้น ย่อมกระทบจิต เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ปฏิฆาตะ. แม้ในคำว่า ความ
ยินดีในยศเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า
เรามีบริวารมาก เรามีบริวารน้อย เราได้รับความสรรเสริญ เราได้รับการ
นินทา เราถึงสุข เราถึงทุกข์ ดังนี้. คำว่า อนริยโวหารา ได้แก่ โวหาร
(คำพูด) ของบุคคลผู้มิใช่พระอริยะ.
โทษทั้งหลายของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสโทส. คำว่า น สรามิ ได้แก่
ย่อมแก้ตัว ย่อมให้คนหลุดพ้น โดยความเป็นผู้ไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึก
ไม่ได้ กำหนดไม่ได้ซึ่งฐานะแห่งกรรมนอันเราทำแล้ว. คำว่า โจทกํเยว
ปฏิปฺผรติ
ได้แก่ เป็นผู้ขัดเเย้งกันแผ่ไป คือย่อมตั้งอยู่ด้วยความเป็น ผู้โต้-
เถียงกัน. คำว่า กินฺนุ โข ตุยฺหํ ความว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการ
กล่าวของท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด คือ ย่อมแสดงว่า ท่านย่อมไม่รู้เรื่องวัตถุ