เมนู

ทิฏฐินิทเทส


คำว่า รูปี ได้แก่ มีรูป. คำว่า จาตุมหาภูติโก ความว่า สำเร็จ
ด้วยมหาภูตรูป 4. คำว่า มาตาปิตูนํ เอตํ ได้แก่รูปอันเป็นของมารดาและ
บิดา. ถามว่ารูปอะไร ตอบว่า รูปคือ น้ำสุกกะและโลหิต (น้ำสุกกะอันเป็นของ
บิดาและโลหิตของมารดา) ชื่อว่ามาตาเปตติกสัมภวะ เพราะเกิดขึ้นแต่น้ำ
สมภพของมารดาและบิดา. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวซึ่งความ
เป็นแห่งมนุษย์ด้วยรูปกายอันเป็นประธานนั้นว่านี้เป็นอัตตา. ในวาระที่ 2 สมณ-
พราหมณ์บางคนปฏิเสธรูปกายอันเกิดแต่มารดาบิดานั้น แต่ย่อมกล่าวรับรอง
ซึ่งความเป็นอัตตาอันเป็นทิพย์. คำว่า ทิพฺโพ ได้แก่ อัตตาที่บังเกิดขึ้นใน
เทวโลก. คำว่า กามาวจโร ได้แก่ อัตตาอันนับเนื่องด้วยสวรรค์ 6 ชั้น. คำว่า
กพฬิงฺการํ ภกฺขยติ ได้แก่ มีก้อนข้าวเป็นอาหาร. คำว่า มโนมโย
ได้แก่ อัตตาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยใจซึ่งเกิดแต่ฌาน. คำว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี
ได้แก่ ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. คำว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่
มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง. รูปเหล่าใด มีอยู่ในพรหมโลก พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ตรัสซึ่งรูปนั้น ด้วยสามารถแห่งรูปของพรหมด้วย และด้วยสามารถแห่ง
สัณฐานแห่งรูปนอกจากนี้ด้วย. คำว่า อากาสานญฺจายตนูปโค ได้แก่
เป็นผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นแห่งอากาสานัญจายตนะ. ในคำทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็
นัยนี้แหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
สัตตกนิทเทส จบ

1. บาลีว่า ภกฺโข.

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 8


กิเลสวัตถุ1 คือ กิเลสทั้งหลายนั่นแหละ. คำว่า กุสตวตฺถูนิ ได้แก่
วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน คือความขี้เกียจ อธิบายว่าเป็นเหตุแห่งความ
เกียจคร้าน. คำว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ (แปลว่า เราจักต้องทำการงาน)
ได้แก่ การงานที่ต้องทำมีการพิจารณาปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น. คำว่า น วิริยํ
อารภติ
(แปลว่า ไม่ปรารภความเพียร) ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียร แม้ทั้ง
2 อย่าง. คำว่า อุปฺปตฺสฺส ได้แก่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง มีฌาน วิปัสสนา
มรรคและ ผล. คำว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
อันนั้นนั่นแหละ. คำว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งฌาน
วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง. คำว่า อิทํ ปฐมํ
อธิบายว่า การจมลงอย่างนี้ว่า เชิญท่านเถิด เราจะนอน ดังนี้ นี้เป็นกุสีต-
วัตถุข้อที่หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
ก็ในคำว่า มาสาจิตํ มญฺเญ (แปลว่า เป็นเหมือนถั่วหมัก) ได้แก่
ถั่ว อันบุคคลให้เปียกชุ่มแล้วด้วยน้ำ ชื่อว่า ถั่วหมัก. อธิบายว่า ถั่วหมัก
เปียกชุ่มแล้วย่อมเป็นของหนัก ฉันใด กายของผู้เกียจคร้านนั้นย่อมหนัก ฉัน
นั้น.
คำว่า คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ ได้แก่ ภิกษุเพิ่งจะหายป่วย.

1. กิเลสวัตถุ 8 คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ