เมนู

อรรถกถาสัตตกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 7


สภาวธรรมเหล่าใด ชื่อว่า ย่อมนอนเนื่อง เพราะอรรถว่าเป็นสภาพ
ที่มีกำลังและเพราะอรรถว่าเป็นสภาพที่ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรม
เหล่านั้น จึงชื่อว่า อนุสัย คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน.1
สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมประกอบสัตว์ไว้ ย่อมให้สัตว์สืบต่ออยู่ใน
วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สัญโญชน์ คือกิเลส
เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.
สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดกลุ้มรุมจิต โดยกระทำให้กำเริบ เพราะ
เหตุนั้นสภาวธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ปริยุฏฐาน คือ กิเลสที่ประทุษร้าย
จิต. ปริยุฏฐาน คือ กามราคะ ชื่อว่า กามราคปริยุฏฐาน. แม้ในคำที่
เหลือก็นัยนี้แหละ.
ธรรมทั้งหลายอันมิใช่ของสัตบุรุษ หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่สงบ
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมลามก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อสัท-
ธรรม.

จริตทั้งหลาย อันโทษทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ประทุษร้ายแล้ว เพราะ
เหตุนั้นจริตเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทุจจริต. ธรรมเหล่าใด ย่อมสำคัญว่าตนมีอยู่
โดยอาการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามานะ.

1. องค์ธรรมของอนุสัยกิเลส สัญโญชน์ และปริยุฏฐาน อย่างเดียวกัน คือ กามราคะ
ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ภวราคะ อวิชชา ส่วนที่ต่างกันนั้น คือ อนุสัย จัดเป็นกิเลส
อย่างละเอียดได้ปัจจัยแล้วจึงเกิดขึ้น สัญโญชน์และปริยุฏฐาน จัดเป็นกิเลสอย่างกลาง เพราะ
เกิดสัมปยุตกับจิต กิเลสทั้งหมดล่วงมโนทวารไปสู่กายทวาร วจีทวาร เรียกว่า กิเลสอย่าง
หยาบ.

ทิฏฐินิทเทส


คำว่า รูปี ได้แก่ มีรูป. คำว่า จาตุมหาภูติโก ความว่า สำเร็จ
ด้วยมหาภูตรูป 4. คำว่า มาตาปิตูนํ เอตํ ได้แก่รูปอันเป็นของมารดาและ
บิดา. ถามว่ารูปอะไร ตอบว่า รูปคือ น้ำสุกกะและโลหิต (น้ำสุกกะอันเป็นของ
บิดาและโลหิตของมารดา) ชื่อว่ามาตาเปตติกสัมภวะ เพราะเกิดขึ้นแต่น้ำ
สมภพของมารดาและบิดา. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวซึ่งความ
เป็นแห่งมนุษย์ด้วยรูปกายอันเป็นประธานนั้นว่านี้เป็นอัตตา. ในวาระที่ 2 สมณ-
พราหมณ์บางคนปฏิเสธรูปกายอันเกิดแต่มารดาบิดานั้น แต่ย่อมกล่าวรับรอง
ซึ่งความเป็นอัตตาอันเป็นทิพย์. คำว่า ทิพฺโพ ได้แก่ อัตตาที่บังเกิดขึ้นใน
เทวโลก. คำว่า กามาวจโร ได้แก่ อัตตาอันนับเนื่องด้วยสวรรค์ 6 ชั้น. คำว่า
กพฬิงฺการํ ภกฺขยติ ได้แก่ มีก้อนข้าวเป็นอาหาร. คำว่า มโนมโย
ได้แก่ อัตตาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยใจซึ่งเกิดแต่ฌาน. คำว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี
ได้แก่ ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. คำว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่
มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง. รูปเหล่าใด มีอยู่ในพรหมโลก พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ตรัสซึ่งรูปนั้น ด้วยสามารถแห่งรูปของพรหมด้วย และด้วยสามารถแห่ง
สัณฐานแห่งรูปนอกจากนี้ด้วย. คำว่า อากาสานญฺจายตนูปโค ได้แก่
เป็นผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นแห่งอากาสานัญจายตนะ. ในคำทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็
นัยนี้แหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
สัตตกนิทเทส จบ

1. บาลีว่า ภกฺโข.