เมนู

มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำที่อาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์
บอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งธาตุ ไซร้ เมื่อภิกษุนั้น ทำ
อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยธาตุ หรือว่าโดยสามารถแห่งสี หรือว่า
โดยสามารถแห่งปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้น ย่อมจะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะ
มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. นี้เป็น
โทษในถ้อยคำที่อาจารย์กล่าวกำหนดจำกัด.

อาจารย์พึงบอกอย่างไร


อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วย
สามารถแห่งโกฏฐาส
ดังนี้. คือ อย่างไร ? คือ อาจารย์พึงบอกว่า
เธอจงทำการสาธยายโกฏฐาสว่า เกสา โลมา เป็นต้น ก็ถ้าภิกษุนั้นทำการ
สาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอย่างนี้ กรรมฐานปรากฏอยู่โดยสี ทีนั้น
ภิกษุนั้นก็จะพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาทว่า กระผมทำการสาธยายอาการ 32
ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส แต่กรรมฐานนั้น (โกฏฐาส) ปรากฏแก่กระผมโดยสี
ดังนี้ อาจารย์ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)
มิใช่กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน
ดังนี้. แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดี
แล้ว ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำบริกรรมในวัณณกสิณมา
กรรมฐานนี้นั่นแหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วย
สามารถแห่งสีทีเดียว.
แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งสี
นั่นแหละ.

การปรากฏแห่งโกฏฐาส


เมื่อภิกษุนั้น ทำอยู่อย่างนี้ ย่อมจะได้วัณณกสิณ 4 คือ นีลกกสิณ
(กสิณสีเขียว) ปีตกกสิณ (กสิณสีเหลือง) โลหิตกกสิณ (กสิณสีแดง)

โอทาตกกสิณ (กสิณสีขาว). คือ อย่างไร ? คือ เมื่อภิกษุนั้น มนสิการ
สีที่ผม ขน น้ำดี และในสีดำแห่งลูกตาว่า นีลํ นีลํ (เขียว ๆ) อยู่ ฌาน
อันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท
เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหันต์. ก็เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีมันข้น
และในที่สีเหลืองแห่งลูกตาว่า ปีตกํ ปีตกํ (เหลือง ๆ) อยู่ ฌานอันเป็น
จตุกกนัยหรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้ง
วิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ก็เมื่อภิกษุนั้น มนสิการสีเนื้อ
เลือด และในที่สีแดงแห่งลูกตาว่า โลหิตกํ โลหิตกํ (แดง ๆ) อยู่ ฌาน
อันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้น ทำฌานให้เป็นบาท
เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ก็เมื่อภิกษุนั้น มนสิการสีเล็บ
ฟัน หนัง กระดูก และในที่สีขาวแห่งลูกตาว่า โอทาตํ โอทาตํ (ขาว ๆ)
อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้
เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ข้อนี้ เป็นการ
ออกไป ของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งสี จนถึงพระอรหัต
ภิกษุอื่นอีก เมื่อทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอยู่ กรรม-
ฐานย่อมปรากฏโดยปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้นพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาท
อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน) มิใช่
กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงบอกว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว ในปางก่อน
เธอจัดเคยประกอบความเพียรในปฏิกูลมนสิการมา กรรมฐานนี้นั่นแหละเป็น
สัปปายะของเธอ เธอจงการทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลนั่นแหละ.
แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูล. เมื่อภิกษุนั้นทำการ
สาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผมทั้งหลายเป็นของ

ไม่งาม ไม่น่าชอบใจ มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจ เป็นของปฏิกูล
ดังนี้อยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิกูลได้.
ภิกษุนั้น ทำฌาน
ให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ข้อนี้เป็นการ
ออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล จนถึงพระอรหัต.
ภิกษุอื่นอีก กระทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส กรรมฐาน
ย่อมปรากฏโดยธาตุ. ถามว่า กรรมฐานเมื่อปรากฏโดยธาตุ ย่อมปรากฏเป็น
เช่นไร ? ตอบว่า ผมทั้งหลายก่อน เมื่อปรากฏ ย่อมปรากฏเป็นราวกะ
ต้นหญ้าปนคลุมบนจอมปลวก. ขนทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าหญ้า-
แพรกทั้งหลายเกิดในที่ของบ้านเก่า. เล็บทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่า
ปลอกเม็ดในผลมะซางที่เขาติดไว้ปลายท่อนไม้. ฟันทั้งหลาย ย่อมปรากฏ
เป็นราวกะว่าเม็ดน้ำเต้าที่เขาปักไว้ที่ก้อนดินเหนียว. หนัง ย่อมปรากฏเป็น
ราวกะว่าหนังโคสดหุ้มไม้เล็กน้อย (หรือหุ้มข้อต่อของพิณ). เนื้อ ย่อมปรากฏ
เป็นราวกะว่าดินเหนียวที่เขาฉาบทาไว้ข้างฝาเรือน. เอ็นทั้งหลาย ย่อมปรากฏ
เป็นราวกะว่าเถาวัลย์พันทัพพสัมภาระ. กระดูก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่า
ทัพพสัมภาระของฝาเรือนที่ยกขึ้นตั้งไว้. เยื่อในกระดูก ย่อมปรากฏเป็นราว
กะว่ายอดหวายลนไฟที่ใส่ไว้ในไม้ไผ่ลำใหญ่. โกฏฐาสทั้ง 6 คือ ไต หัวใจ
ตับ พังผืด ม้าม และปอด
ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าโรงฆ่าสัตว์. ไส้ใหญ่
ยาว 32 ศอก
ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่างูเรือนที่เขาฆ่าแล้วใส่ไว้ในรางเลือด.
ไส้น้อย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าเส้นเชือกเล็กที่เขาเย็บไว้ที่ผ้าสำหรับเช็ดเท้า.
อาหารใหม่ ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าข้าวสารในถุงผ้าบางหย่อน ๆ. อาหาร
เก่า
(อุจจาระ) ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนดินเหลืองที่เขายัดไว้ในกระบอก
ไม้ไผ่. มันสมอง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนแป้งข้าวสาร 4 ก้อน ที่เขา

ขยำแล้วตั้งไว้. อาโปธาตุ 12 อย่าง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าน้ำเต็มถ้วย
น้ำ 12 ถ้วย ที่เขาตั้งเรียงกันไว้. ทีนั้น ภิกษุนั้น พึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้
โอวาท อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)
มิใช่กรรมฐาน เป็นราวกะว่ากรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว
ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำความเพียรในธาตุมนสิการมา กรรมฐานนั้นนั่น
แหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุเถิด.
แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุ แล.

ในข้อนั้นพึงทราบวิธีการสาธยายโดยหัวข้อมนสิการ ดังนี้


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการ (คือกระทำไว้ในใจ) ว่า ผม
ทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ ผมเหล่านั้นย่อมไม่รู้ตัวเองว่า เราเกิดที่หนัง
หุ้มศีรษะ
แม้หนังหุ้มศีรษะเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลายเกิดในเรา
สิ่งเหล่านั้น ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นสภาพ
แข็ง กระด้าง นี้เป็นปฐวีธาตุ.
ย่อมมนสิการว่า ขนทั้งหลายเกิดที่หนัง
หุ้มสรีระ ขนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่หนังหุ้มสรีระ แม้หนังหุ้ม
สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด.
เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เล็บเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่ปลาย
นิ้วทั้งหลาย
แม้ปลายนิ้วทั้งหลายเล่า ก็ไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดในเรา
แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ฟันเหล่านี้ย่อมไม่
รู้ว่า เราเกิดที่กระดูกคาง แม้กระดูกคางเล่า ก็ไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลาย
เกิดในเรา
แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. หนังย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มสรีระ
แม้สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด. เนื้อ