เมนู

ว่า เพราะเวทนาเป็นผู้กระทำเวทนา ฉะนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ.
คำว่า สุขทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ดังนี้ ได้แก่ทิฏฐิความ
เห็นผิดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ตนทำเองครึ่งหนึ่ง ผู้อื่นทำให้ครึ่งหนึ่ง
โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นี้ ชื่อว่า สัสสตุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิความ
เห็นผิดข้อที่ 4 เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ไม่มีเหตุเลย ดังนี้ ครั้นเมื่อ
ความเป็นอย่างนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ. บทที่เหลือในที่นี้ มี
อรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวในหนหลังแล.
จตุกกนิทเทส จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 5


สัญโญชน์ทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันบุคคลใดยังมิได้ละ
สัญโญชน์เหล่านี้ก็จะคร่าบุคคลเหล่านั้นผู้เกิดอยู่แม้ในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ) ให้
ไปในกามภพนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์เหล่านี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โอรัมภาคิยะ1 (เบื้องต่ำ). ด้วยเหตุนี้ สัญโญชน์
5 เหล่านี้ จึงมิได้ห้ามผู้ไปสู่ภวัคคภูมิ ก็แต่ย่อมนำผู้ไปแล้วนั้นให้กลับมาสู่
ภพนี้อีก. สัญโญชน์เบื้องบน2 มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องข้อง และชื่อว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะอรรถว่า เข้าไปเสียบแทง

1. สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
2. อุทธมภาคิยสัญโญชน์ 5 คือ รูปราคะ อรปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิชชา

คำว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้าง ความที่
จิตเป็นดุจกองหยากเยื่อ ความที่จิตเป็นดุจตอไม้. คำว่า สตฺถริ กงฺขติ ได้
แก่ ความสงสัยในพระสรีระร่างกายของพระศาสดา หรือในพระคุณของพระ-
ศาสดา คือว่า เมื่อบุคคลสงสัยในพระสรีระของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า
พระสรีระของพระศาสดา ชื่อว่าประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ 32 ประการ
นั้น มีจริงหรือ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระคุณของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า
พระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือ ดังนี้.
คำว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เมื่อบุคคลคิดอยู่ ย่อมลำบาก ย่อมประสพความ
ทุกข์ ย่อมไม่อาจเพื่อตัดสินได้. คำว่า นาธิมุจฺจติ ได้แก่ ย่อมไม่ได้เฉพาะ
ซึ่งการน้อมใจเชื่อว่า พระคุณของพระศาสดานั้น เป็นอย่างนี้ ดังนี้. คำว่า
น สมฺปสีทติ ได้แก่ บุคคลหยั่งลงสู่พระคุณของพระศาสดาแล้ว ย่อมไม่
อาจเพื่อเป็นผู้ไม่มัวหมอง เพราะความยินดี และเพราะความเป็นผู้หมดความ
สงสัย.
คำว่า ธมฺเม ได้แก่ ย่อมสงสัยในพระปริยัตติธรรม ในพระปฏิเวธ-
ธรรม. อธิบายว่า เมื่อสงสัยในพระปริยัตติธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า พระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ 84,000 พระธรรมขันธ์ นั้น
มีอยู่หรือหนอ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า ชื่อว่า มรรค เพราะการไหลออกแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า ผลเพราะ

การไหลออกแห่งมรรค และชื่อว่า พระนิพพาน เพราะเป็นการสละคืนแห่ง
สังขารทั้งหลาย ดังนี้นั้น มีอยู่หรือ ดังนี้. คำว่า สงฺเฆ กงฺขติ ได้แก่
ย่อมสงสัยว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ผล 4 ผู้ดำเนินไปสู่ปฏิปทา ด้วย
สามารถแห่งการดำเนินไปมีคำว่า อุชุปฏิปนุโน เป็นต้น เห็นปานนี้ ชื่อว่า
สงฆ์อันหมู่แห่งพระอริยบุคคล 8 มีอยู่หรือหนอ ดังนี้. เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อม
สงสัยว่า บุคคลทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
ดังนี้ คำนี้ มีอยู่หรือหนอ ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เจโต วินิพนฺธา ชื่อว่า เจโตวินิพันธะ
(เครื่องผูกพันจิต) เพราะเครื่องผูกทั้งหลายย่อมผูกจิตไว้ เหมือนบุคคลกำ
วัตถุด้วยมือแล้วก็ถือเอา. คำว่า กาเม ได้แก่ ในวัตถุกามบ้าง ในกิเลสกาม
บ้าง. คำว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. คำว่า รูเป ได้แก่ ในรูป
ภายนอก. คำว่า ยาวทตฺถํ แปลว่า ตามความต้องการ. คำว่า อุทราวเทหกํ
ได้แก่ เต็มกระเพาะอาหาร จริงอยู่อาหารเต็มกะเพาะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า อุทราวเทหกะ เพราะการบริโภคอาหารจนเต็มอิ่ม. คำว่า
เสยฺยสุขํ ได้แก่ หาความสุขบนเคียงและตั่ง หรือว่า ความสุขเกี่ยวกับอุณหภูมิ.
คำว่า ปสฺสสุขํ ได้แก่ ความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปมาข้างขวา หรือ
ข้างซ้ายย่อมมีฉันใด ความสุขอันเกิดขึ้นแล้วในที่นี้ก็ฉันนั้น. คำว่า มิทฺธสุขํ
ได้แก่ ความสุขในการหลับ. คำว่า อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวาย
แล้วอยู่ คำว่า ผูกใจ ได้แก่ ปรารถนาแล้ว. คำว่า ด้วยศีล ในคำว่า สีเลน

เป็นต้น ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล. คำว่า วตฺตํ ได้แก่ สมาทานวัตร คือ
การประพฤติ. คำว่า ตโป ได้แก่ การประพฤติตบะ. คำว่า พฺรหฺมจริยํ
ได้แก่ ย่อมเว้นเมถุนธรรม. คำว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ แปลว่า เราจัก
เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่. คำว่า เทวญฺญตโร วา ได้แก่ หรือว่า เป็น
เทวดาผู้มีศักดาน้อยตนใดตนหนึ่ง ดังนี้.
ธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะย่อมปิด ย่อมกั้นกุศลธรรม
ทั้งหลาย. คำว่า มาตา ชีวิตา โวโรปิตา โหติ ได้แก่ มนุษย์เท่านั้นฆ่า
มารดาของตนผู้เป็นมนุษย์ แม้บิดาก็เป็นบิดามนุษย์อย่างนั้นแหละ. พระอรหันต์
ก็เป็นจะพระอรหันต์มนุษย์นั่นแหละ. คำว่า ด้วยจิตอันประทุษร้าย ได้แก่
ด้วยจิตคิดจะฆ่า.
คำว่า สญฺญี ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยสัญญา. คำว่า อโรโค ได้แก่
เที่ยงแท้ไม่แปรผัน. คำว่า อิตฺเถเก อภิวทนฺติ ได้แก่ สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวอย่างนี้ คือ ย่อมกล่าวด้วยประการฉะนี้. สัญญีวาทะ 16
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. คำว่า อสญฺญี ได้แก่
เว้นจากสัญญา. อสัญญีวาทะ 16 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า
อสญฺญี นี้. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบท
ที่ 3. คำว่า สโต วา ปน สตฺตสฺส ได้เเก่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสัตว์มีอยู่
นั่นแหละ. คำว่า อุจฺเฉทํ ได้แก่ ความขาดสูญ. คำว่า วินาสํ ได้แก่
ความพินาศ. คำว่า วิภวํ ได้แก่ ความไม่มี. คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์
ของกันและกัน.

ในข้อนั้น คน 2 คน คือ ผู้ได้ฌานคนหนึ่ง ไม่ได้ฌาน
คนหนึ่ง ย่อมถือเอาอุจเฉททิฏฐิ.

ในสองคนนั้น ฌานลาภีบุคคลเห็นสัตว์จุติอยู่ด้วยจักษุเพียง
ดังทิพย์ตามความเหมาะสม ไม่เห็นอยู่ซึ่งความเกิดขึ้น ก็หรือว่า
บุคคลใด ย่อมไม่อาจเพื่อเห็นซึ่งจุตินั่นแหละด้วย ไม่อาจเพื่ออัน
เห็นความเกิดขึ้นด้วย บุคคลนั้น ก็ย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ.

ผู้ไม่ได้ฌานเพราะความมักมากในกามคุณ ย่อมคิดว่า ใครหนอจะรู้
ซึ่งปรโลก ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนใบไม้หล่นไปจากต้นไม้แล้ว ย่อม
ไม่งอกงามขึ้น ฉันใด บุคคลผู้ไม่ได้ฌานถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะวิตก
เป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น. อุจเฉทวาระ 7 อันเกิดขึ้นแล้วเพราะการ
กำหนดเหมือนอย่างนั้นด้วย โดยประการอื่นด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ ด้วยสามารถแห่งตัณหาทิฏฐิทั้งหลาย. จริงอยู่ ทิฏฐินี้ เป็นคำสงเคราะห์
ของตัณหาทิฏฐิเหล่านั้น. ปัจจักขธรรม (ธรรมที่ประจักษ์) พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ทิฏฐธรรม ในคำว่า ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ วา ปเนเก
(แปลว่า ก็หรือว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวยืนยันทิฏฐธัมมนิพพาน).
คำที่กล่าวนี้เป็นชื่อของความที่บุคคลนั้นได้เฉพาะธรรมนั้น ๆ. นิพพานใน
ทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน. อธิบายว่า ความเข้าไปสงบแห่งทุกข์
ในอัตภาพนี้เท่านั้น. นี้เป็นคำสงเคราะห์วาทะว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน.
คำว่า เวรา (เวร 5) ได้แก่ เจตนาอันเป็นบาป.
คำว่า พฺยสนา ได้แก่ ความพินาศทั้งหลาย.

โทษแห่งความไม่อดทน 5


1. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
2. มีเวรมาก
3. มีโทษมาก
4. ตายโดยความหลงลืมสติ
5. ตายแล้วเข้าถึงอบายภูมิ 4 ภูมิใดภูมิหนึ่ง

คำว่า อกฺขนฺติยา ได้แก่ แห่งความไม่อดทน. คำว่า อปฺปิโย
ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่รัก เพราะเป็นสิ่งปฏิกูลในการเห็น ในการฟัง. ชื่อว่า
ไม่เป็นที่ชอบใจ เพราะแม้เมื่อคิดจิตย่อมไม่แนบแน่น. คำว่า เวรพหุโล
ได้แก่ มีเวรมาก. คำว่า วชฺชพหุโล ได้แก่ มีโทษมาก.
ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชีพอันยังชีวิตให้เป็นไป ชื่อว่า อาชีวก-
ภัย.
อาชีวกภัยนั้น ย่อมมีแก่ผู้ครองเรือนบ้าง แก่ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง, ใน
บุคคลเหล่านั้น ผู้ครองเรือน ย่อมกระทำกรรมอันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะ
เหตุแห่งอาชีพก่อน และต่อจากนั้นภัยนั้นก็เกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย หรือ
จนกระทั่งนรกปรากฏ. แม้ผู้ไม่ครองเรือนเล่า เมื่อทำอเนสนา คือการแสวงหา
เลี้ยงชีพในทางอันไม่ควรเป็นอันมาก ภัยนั้นย่อมเกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย
หรือนรกปรากฏ นี้ ชื่อว่า อาชีวกภัย. คำว่า อสิโลกภยํ ได้แก่ ภัย คือ
การติเตียน. คำว่า ปริสสารชฺชภยํ ได้แก่ ภัย กล่าวคือ ความกำหนัด
ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีบาปอันทำไว้แล้ว และเข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งบริษัท นี้