เมนู

เมื่ออาวัชชนจิตเกิดขึ้น ทำตนให้ผูกพันแล้ว ๆ ซึ่งอารมณ์นั้นนั่น
แหละไว้ในใจ เพราะเหตุนั้นอาวัชชนจิตนั้น จึงชื่อว่า มนสิการ. คำว่า
ย่อมทำไว้ในใจ ได้แก่ ย่อมตั้งไว้ในใจ. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิบายว่า
กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย คือมนสิการผิดทางเป็นลักษณะ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อโยนิโสมนสิการ. บุคคลย่อมไม่อาจ
เพื่อพิจารณาสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ตามความเป็นจริงได้ด้วย
อโยนิโสมนสิการนั้น.

อุมมัคคเสวนานิทเทส


อธิบายการเสพทางผิด


ชื่อว่า การเสพ ด้วยสามารถแห่งการเสพทางอันผิด อันใด ที่พระ-
ผู้มีพระภาคตรัสว่า การเสพทางผิด ดังนี้ เพื่อแสดงทางผิดอันนั้น จึงทรง
ทำทุติยปุจฉาว่า บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิดเป็นไฉน ดังนี้. คำที่เหลือใน
บททั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล
ติกนิทเทส จบ

อรรถกถาจตุกกนิทเทส


ในนิทเทสแห่งมาติกาหมวด 4


คำว่า ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร เป็นต้น
อธิบายว่าตัณหา ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุอย่างนี้ว่า เราจักได้จีวร อัน
ชอบใจในที่ไหน ๆ เป็นต้น. อิติ ศัพท์ ในคำว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้เป็น
นิบาต ลงในอรรถแห่งนิทัสสนะ (คือ อุทาหรณ์) อธิบายว่า ตัณหาเมื่อจะ

เกิด ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุฉันใด ตัณหานั้น แม้เมื่อจะเกิด ก็ย่อมเกิด
เพราะวัตถุอื่น ๆ อันประณีต และประณีตยิ่งกว่าเป็นเหตุฉันนั้น. ก็วัตถุทั้ง
หลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น อันประณีตและประณีตยิ่งกว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในคำว่า ภวาภโว นี้. อนึ่ง บัณฑิตพึง
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยวงศ์ 4 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์
แก่การละความเกิดขึ้นแห่งตัณหา 4 (ตัณหุปปาทา 4) เหล่านี้.

อคติคมนะ


คำว่า ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ อธิบายว่า บุคคลย่อมลำเอียง คือย่อม
กระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะฉันทะ คือเพราะความรัก. แม้ในบทอื่น ๆ
ก็นัยนี้. ในอคติเหล่านั้น บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันไม่ใช่เจ้าของ ให้เป็น
เจ้าของ ด้วยสามารถแห่งความพอใจรักใคร่ว่า บุคคลนี้เป็นมิตรของข้าพเจ้า
หรือว่าเป็นเพื่อน (สนฺทิฏโฐ) หรือว่าเป็น ผู้ร่วมกินร่วมนอน (สมภัตตะ)
หรือว่า เป็นญาติของข้าพเจ้า ก็หรือว่า บุกคลนี้ย่อมให้สินบนแก่ข้าพเจ้า
ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่ (ฉันทาคติ).
บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของให้เป็นของไม่ใช่เจ้า-
ของ ด้วยสามารถแห่งปกติเวร (คือ การไม่ชอบพอกันมาก่อน) หรือว่า ด้วย
สามารถแห่งความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา
ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะความไม่ชอบกัน (โทสาคติ).
บุคคลใด กล่าวคำใด ย่อมทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของ ให้ไม่ใช่
เจ้าของ เพราะความโง่เขลา เพราะเป็นคนทึบ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง
เพราะหลง (โมหาคติ).