เมนู

นิทเทสแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และนิทเทสแห่งความเป็นผู้มี
มิตรชั่ว
มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวมาแล้ว. สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในความ
ต่าง ๆ กัน ชื่อว่า นานัตตสัญญา เพราะความเป็นไปในนิมิตตารมณ์แห่ง
ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะกามสัญญาเป็นอย่างหนึ่งทีเดียว ทั้งพยาปาท-
สัญญาเป็นต้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้คำว่า สัญญาอันเป็นสภาวะต่าง ๆ
กัน ดังนี้ จึงชื่อว่า นานัตตสัญญา.

โกสัชชนิทเทส


ความประพฤติย่อหย่อน ความไม่สามารถประกอบความเพียร ด้วย
การเจริญกุศลธรรม ของผู้มีจิตคุ้นเคยในกามคุณ 5 ชื่อว่า โกสัชชะ (คือ
ความเกียจคร้าน). บัณฑิตพึงทราบ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ประมาทแล้ว ด้วย
สามารถแห่งความมัวเมา ชื่อว่า ปมาทะ (คือ ความประมาท).
นิทเทสแห่งอสันตุฏฐิ (คือ ความไม่สันโดษ) มีเนื้อความตามที่
กล่าวมาแล้ว.

อนาทริยนิทเทส


ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ด้วยสามารถแห่งความไม่เอื้อเฟื้อ
ต่อโอวาท (การกล่าวสอน) ชื่อว่า อนาทริยะ (คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ). อาการ
แห่งความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นผู้ไม่เคารพ ชื่อว่า
อคารวตา เพราะอรรถว่าไม่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ควรเคารพ. ชื่อว่า ความไม่
เชื่อฟัง เพราะอรรถว่า ไม่อยู่อาศัยร่วมกับผู้เป็นหัวหน้า. คำว่า อนทฺทา
ความไม่ถือเอา ได้แก่การไม่รับเอาโอวาท. คำว่า อนทฺทายนา ได้แก่ อาการ

ที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ดำเนินไปด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า
อนทฺทายิตตฺตํ ความพอใจทางโต้แย้ง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศีล ชื่อว่า
อสีลยํ (ทุศีล). คำว่า อจิตฺติกาโร ได้แก่ การไม่ทำความเคารพยำเกรง.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า ความไม่ศรัทธา. อาการ
แห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า กิริยาที่ไม่เชื่อฟัง. การไม่ถือเอา เพราะไม่
ไว้ใจ ไม่เข้าไปใกล้ ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ. ชื่อว่า ความไม่เลื่อมใสยิ่ง
เพราะอรรถว่าไม่เลื่อมใสยิ่ง.
คำว่า อวทญฺญุตา (แปลว่า ความไม่เผื่อแผ่) ได้แก่ ผู้ไม่รู้ถึง
ถ้อยคำว่า ขอท่านจงให้ทาน ท่านจงกระทำบุญ เพราะอำนาจแห่งความ
ตระหนี่อันกระด้าง.
ในข้อว่า พุทฺธา จ สาวกา จ พระพุทธเจ้าและพระสาวกของ
พระพุทธเจ้านี้ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็ถือเอา ด้วยศัพท์ว่า พุทธะ นั่น
แหละ. ความเป็นผู้ไม่ต้องการไปสู่ที่ใกล้แห่งพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า
อสเมตุกามตา ความไม่ต้องการจะสมาคมกับพระอริยะทั้งหลาย. คำว่า ความ
ไม่ต้องการจะฟัง...ซึ่งพระสัทธรรม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 37 ชื่อว่า
พระสัทธรรม ความเป็นผู้ไม่ต้องการเพื่อจะฟังซึ่งพระธรรมนั้น. ความเป็น
ผู้ไม่ศึกษาพระธรรม ชื่อว่า อนุคฺคเหตุกามตา ความไม่ต้องการจะเรียน.
ความเป็นผู้คิดคัดค้านแข่งดี ชื่อว่า ความไม่ต้องการจะทรงพระธรรมไว้. ก็
เมื่อว่าโดยอรรถความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนั้น ย่อมมี เหตุใด เพราะเหตุนั้น
เพื่อแสดงอรรถนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า บรรดาบทเหล่านั้นความ
คิดแข่งดีเป็นไฉน
เป็นต้น. ในข้อนั้น ชื่อว่า ความแข่งดี ย่อมมีด้วยสามารถ

แห่งความตำหนิติเตียน ความแข่งดีเกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่า ความคิดแข่งดีเนือง ๆ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้คิดแข่งดีเนือง ๆ ชื่อว่าสภาพที่คิดแข่งดีเนือง ๆ.
คำว่า ความดูถูก ได้แก่ การหยาบหยาม. คำว่า ความดูหมิ่น
ได้แก่ การเหยียดหยาม. ความเย้ยหยัน ชื่อว่า ความดูแคลน. ความเป็น
ผู้แสวงหาข้อบกพร่อง ชื่อว่า ความคอยแสวงหาโทษ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด
ย่อมแสวงหาซึ่งความผิด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ผู้คอยแสวงหา
โทษ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้คอยแสวงหาโทษนั้น ชื่อว่า สภาพที่คอยแสวงหา
โทษ คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ก็ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนี้ มีการคอย
ติดตามดูโทษของผู้อื่นเป็นลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี. บุคคลใด ประกอบแล้วด้วยลักษณะ คือคอยติดตามดู
โทษของผู้อื่นใดนั้น เปรียบเหมือน ช่างชุนผ้า คลี่ผ้าออกแล้ว ก็ตรวจดูผ้า
ทะลุนั่นแหละ ฉันใด บุคคลผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ลบหลู่คุณ
แม้ทั้งปวงของผู้อื่นแล้วดำรงอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นคุณทั้งหลายเท่านั้น.
คำว่า อโยนิโส มนสิกาโร ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่
แยบคาย. คำว่า อนิจฺเจ นิจฺจํ อธิบายว่า มนสิการอย่างนี้ คือมนสิการ
ในวัตถุอันไม่เทียงแท้ว่า สิ่งนี้เป็นของเที่ยงแท้. แม้ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ
เป็นต้น ก็นัยนี้. คำว่า สจฺจวิปฺปฏิกูเลน วา ได้แก่ มนสิการโดยไม่
คล้อยตามสัจจะทั้ง 4. คำว่า จิตฺตสฺส อาวฏฺฏนา เป็นต้น แม้ทั้งปวง เป็น
ไวพจน์ของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ อาวัชชนะ ชื่อว่า อาวัฏฏนาแห่ง
จิต เพราะยังภวังคจิตให้เปลี่ยนหมุนไป. ชื่อว่า การเปลี่ยนหมุนไป เพราะ
ย่อมหมุนไปในภายหลัง (ภวังค์). จิตใด ย่อมคำนึงถึงอารมณ์ เพราะเหตุนั้น
จิตนั้น จึงชื่อว่า อาโภคะ. จิตใดย่อมประมวลมาซึ่งอารมณ์อื่นนอกจาก
อารมณ์ของภวังค์ เหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า สมันนาหาระ.

เมื่ออาวัชชนจิตเกิดขึ้น ทำตนให้ผูกพันแล้ว ๆ ซึ่งอารมณ์นั้นนั่น
แหละไว้ในใจ เพราะเหตุนั้นอาวัชชนจิตนั้น จึงชื่อว่า มนสิการ. คำว่า
ย่อมทำไว้ในใจ ได้แก่ ย่อมตั้งไว้ในใจ. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิบายว่า
กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย คือมนสิการผิดทางเป็นลักษณะ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อโยนิโสมนสิการ. บุคคลย่อมไม่อาจ
เพื่อพิจารณาสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ตามความเป็นจริงได้ด้วย
อโยนิโสมนสิการนั้น.

อุมมัคคเสวนานิทเทส


อธิบายการเสพทางผิด


ชื่อว่า การเสพ ด้วยสามารถแห่งการเสพทางอันผิด อันใด ที่พระ-
ผู้มีพระภาคตรัสว่า การเสพทางผิด ดังนี้ เพื่อแสดงทางผิดอันนั้น จึงทรง
ทำทุติยปุจฉาว่า บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิดเป็นไฉน ดังนี้. คำที่เหลือใน
บททั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล
ติกนิทเทส จบ

อรรถกถาจตุกกนิทเทส


ในนิทเทสแห่งมาติกาหมวด 4


คำว่า ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร เป็นต้น
อธิบายว่าตัณหา ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุอย่างนี้ว่า เราจักได้จีวร อัน
ชอบใจในที่ไหน ๆ เป็นต้น. อิติ ศัพท์ ในคำว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้เป็น
นิบาต ลงในอรรถแห่งนิทัสสนะ (คือ อุทาหรณ์) อธิบายว่า ตัณหาเมื่อจะ