เมนู

ทั้งหลาย ไม่ปรากฏแก่เรา ดังนี้. โกฏฐาสทั้งหลายมีประมาณเท่าไร ยัง
มิได้ปรากฏ พึงถือเอาโกฏฐาสเหล่านั้น ทำการสาธยายไปเถิด.
อนึ่ง อาจารย์ผู้บอก ก็ไม่พึงบอกกรรมฐานอย่างนี้ แก่ผู้มีปัญญา
มาก และผู้มีปัญญาน้อย ควรบอกแก่ผู้มีปัญญาปานกลาง เพราะว่า อาจารย์
ทั้งหลายกำหนดวางแบบแผนไว้ 6 เดือนสำหรับผู้มีปัญญาปานกลาง ส่วน
โกฏฐาสทั้งหลายของภิกษุใดแม้มีประมาณเท่านี้ยังมิได้ปรากฏ ภิกษุนั้น ก็พึง
ทำการสาธยายต่อไปนั่นแหละ จะไม่กำหนดต่อจากนั้นไปหาควรไม่ พึงกำหนด
ตลอดทุก ๆ 6 เดือน. เมื่อเธอทำการสาธยายอยู่ ไม่พึงพิจารณาสี ไม่
พึงมนสิการลักษณะ
พึงทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งโกฏฐาสเท่านั้น. แม้
อาจารย์เล่า ก็ไม่พึงบอกกำหนดจำกัดลงไปว่า เธอจงทำการสาธยายด้วย
อำนาจแห่งสี
ดังนี้.

เมื่อบอกกำหนดจำกัดจะเป็นโทษอย่างไร


เมื่อบอกกำหนดจำกัด การผิดพลาดด้วยการสำคัญผิด (จะพึงมี) แม้
ในสิ่งที่เขาจะพึงถึงพร้อม เพราะถ้า อาจารย์บอกว่า เธอจงทำการสาธยาย
ด้วยอำนาจแห่งสี ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนี้ ทำอยู่อย่างนั้น กรรมฐานไม่ปรากฏ
โดยสี หรือว่าโดยอำนาจปฏิกูล หรือโดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น ภิกษุนั้นก็
จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน ทั้งมิใช่กรรมฐาน เธอจะกำหนด
ถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์ แม้บอกว่า เธอจง
ทำการสาธยายกรรมฐานนี้ ด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนั้นทำ
อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยปฏิกูล หรือว่าโดยอำนาจแห่งสี หรือว่า
โดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น เธอก็จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน

มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำที่อาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์
บอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งธาตุ ไซร้ เมื่อภิกษุนั้น ทำ
อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยธาตุ หรือว่าโดยสามารถแห่งสี หรือว่า
โดยสามารถแห่งปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้น ย่อมจะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะ
มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. นี้เป็น
โทษในถ้อยคำที่อาจารย์กล่าวกำหนดจำกัด.

อาจารย์พึงบอกอย่างไร


อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วย
สามารถแห่งโกฏฐาส
ดังนี้. คือ อย่างไร ? คือ อาจารย์พึงบอกว่า
เธอจงทำการสาธยายโกฏฐาสว่า เกสา โลมา เป็นต้น ก็ถ้าภิกษุนั้นทำการ
สาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอย่างนี้ กรรมฐานปรากฏอยู่โดยสี ทีนั้น
ภิกษุนั้นก็จะพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาทว่า กระผมทำการสาธยายอาการ 32
ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส แต่กรรมฐานนั้น (โกฏฐาส) ปรากฏแก่กระผมโดยสี
ดังนี้ อาจารย์ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)
มิใช่กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน
ดังนี้. แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดี
แล้ว ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำบริกรรมในวัณณกสิณมา
กรรมฐานนี้นั่นแหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วย
สามารถแห่งสีทีเดียว.
แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งสี
นั่นแหละ.

การปรากฏแห่งโกฏฐาส


เมื่อภิกษุนั้น ทำอยู่อย่างนี้ ย่อมจะได้วัณณกสิณ 4 คือ นีลกกสิณ
(กสิณสีเขียว) ปีตกกสิณ (กสิณสีเหลือง) โลหิตกกสิณ (กสิณสีแดง)