เมนู

เพียงดังเนิน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น กิเลสนั้น ๆ จึงชื่อว่า น้ำตม หรือ
เปียกตม.
กิเลสมีประการต่าง ๆ ในอาคตสถานว่า สงฺคโณว สมาโน ดังนี้
กิเลสนั้น ชื่อว่า ติพพกิเลส คือกิเลสที่มีกำลังหนาแน่น. ในที่แม้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอา คำว่า กิเลสเพียงดังเนิน ด้วยเหตุนั้น
นั่นแหละ จึงตรัสว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ เป็นต้น.
คำว่า มลทินได้แก่กิเลสเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง. คำว่า มลทิน
คือ ราคะ
อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมให้ถือ
เอาซึ่งความขุนมัว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า
มลทิน. แม้กิเลสทั้งสองที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ.

วิสมนิทเทส


อธิบาย ความทำให้ไม่สม่ำเสมอ คือ กิเลส


ก็เพราะ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสะดุดในกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น
และในทุจจริตทั้งหลาย มีกายทุจจริตเป็นต้น ก็แล สัตว์ทั้งหลายสะดุดพลาด
ไปแล้ว ย่อมตกไปจากพระพุทธศาสนาบ้าง จากสุคติบ้าง เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความไม่สม่ำเสมอ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะ
การสะดุดแล้วก็ตกไปเป็นเหตุ.

อัคคินิทเทส


อธิบาย อัคคิ คือ ไฟ


คำว่า อคฺคิ คือ ไฟ ชื่อว่า อัคคิ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า
ราคคฺคิ (แปลว่า ไฟ คือ ราคะ) อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาผลาญ
ยังสัตว์ให้ไหม้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อัคคิ (ไฟ คือ