เมนู

นั้น คติแห่งทิฏฐิแม้ทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในฐานะทั้ง 31 เหล่านี้
เท่านั้น แม้เมื่อประชุม ก็ย่อมประชุมประมวลมาในฐานะเหล่านี้นั่นแหละ
ด้วยว่า อายตนะ คือคำสอนของเดียรถีย์เหล่านั้นเท่านั้น เป็นมูลเหตุในความ
เป็นทางดำเนินไปแห่งทิฏฐิ ฉะนั้น ติตถะอันเป็นเหตุเหล่านั้นจึง ชื่อว่า อายตนะ
และเพราะอรรถมีคำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น เป็นสภาวะเกิดขึ้นเองด้วย จึงชื่อว่า
ติตถายนะ. ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ แม้คำว่า อายตนะของเดียรถีย์ทั้งหลาย
ดังนี้ ก็ชื่อว่า ติตถายตนะ. คำว่า ปุริสปุคฺคโล ได้แก่ สัตว์. อนึ่งแม้ใครๆ
เรียกว่า บุรุษก็ดี บุคคลก็ดี ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นสัตว์นั่นแหละโดยแท้.
กถานี้ ชื่อว่า สมมติกถา. บุคคลใด ย่อมรู้สมมติกถานี้ได้โดยประการใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสคำนั้นโดยประการนั้น. คำว่า ปฏิสํเวเทติ
(แปลว่า ย่อมเสวยเวทนา) ได้แก่ ย่อมรู้สิ่งอันเกิดขึ้นในสันดานของตน ทั้ง
ย่อมกระทำ หรือย่อมเสวยเวทนาที่ตนรู้แล้วนั้น. คำว่า ปุพฺเพ กตเหตุ
(แปลว่า เพราะทำเหตุไว้ในปางก่อน) ได้แก่ เพราะเหตุอันตนกระทำแล้วใน
กาลก่อน อธิบายว่า เขาย่อมเสวยเวทนาด้วยกัมมปัจจัยอันตนทำแล้วในกาล
ก่อนนั้น.

นิคัณฐสมัย


ลัทธิแห่งนิครนถ์ หรือชีเปลือย


ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือกล่าวปฏิเสธการเสวย
กรรม และการเสวยกิริยา แต่ย่อมรับรองการเสวยวิบาก (ผลของกรรม) อย่าง

1. คำว่า ฐานะทั้ง 3 คือ 1. วาทะว่า เพราะได้ทำเหตุไว้ในปางก่อน
2. วาทะว่า เพราะเหตุคือมีผู้เป็นใหญ่สร้างให้
3. วาทะว่า โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

เดียวเท่านั้น. ทั้งในบรรดาอาพาธ 81 อย่าง มีอาพาธอันเกิดแต่น้ำดีเป็นสมุฏ-
ฐานเป็นต้น เขาปฏิเสธอาพาธ 7 อย่าง ย่อมรับรองอาพาธที่ 8 เท่านั้น. ใน
กรรม 32 มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น ปฏิเสธกรรม 2 อย่าง ย่อมรับรอง
อปราปรเวทนียกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ในเจตนา 4 อย่าง กล่าวคือ กุศล อกุศล
วิบาก และกิริยา ย่อมรับรองเฉพาะเจตนาอันเป็นวิบากเท่านั้น.
คำว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ ได้แก่ ชื่อว่า มีพระผู้เป็นใหญ่สร้าง
ให้เป็นเหตุ อธิบายว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ พระพรหม หรือปชาบดี นิมิตสิ่ง
นั้น ๆ ขึ้น จึงเสวยได้.

พราหมณสมัย


ลัทธิแห่งพราหมณ์


จริงอยู่ ลัทธิของพราหมณ์นี้ เป็นการประกอบฐานะทั้ง 3 เหล่านั้นว่า
ดังนี้
เวทนา 3 เหล่านี้ อันใคร ๆ ชื่อว่า ไม่อาจเพื่อเสวยเวทนาได้ เพราะ
เหตุอันตนเองกระทำไว้แล้ว หรือเพราะเหตุอันบุคคลอื่นทำให้ในปัจจุบัน
หรือว่า เพราะเหตุอันตนทำไว้แล้วในปางก่อน หรือว่า เพราะไม่มีเหตุ ไม่มี

1. อาพาธ 8 อย่าง คือ 1. ปิตฺติสมุฏฺฐานา เกิดจากน้ำดีเป็นสมุฏฐาน
2. วาตสมุฏฺฐานา เกิดจากลมเป็นสมุฏฐาน
3. เสมฺหสมุฏฺฐานา เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐาน
4. สนฺนิปาติกา เกิดจากใช้สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
5. อุตุปริณามชา เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นสมุฏฐาน
6. วิสมปริหารชา เกิดจากการบริหารร่างกายไม่เหมาะสมเป็น
สมุฏฐาน
7. โอปกฺกมิกา เกิดจากการทำความเพียรแก่กล้าเป็นสมุฏฐาน
8. กมฺมวิปากชา เกิดจากผลชองกรรมเป็นสมุฏฐาน
2. กรรม 3 คือ ทิฏฐธัมมเวทนียะ อปปัชชเวทนียะ และอปราปรเวทนียกรรม.