เมนู

ชื่อว่า วิธา เพราะอรรถว่า การดำรงไว้ซึ่งการถือตัว. เพราะฉะนั้นคำว่า
เสยฺโย อหํ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า วิธา เพราะดำรงไว้ซึ่งมานะอันมี
ประการมากอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เป็นต้น.
แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

ภยนิทเทส


อธิบาย ภัย คือ ความกลัว


คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ภยํ ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด
(ชาติ) เป็นปัจจัย. คำว่า ภยานกํ (แปลว่า ภัยอันน่ากลัว) นี้เป็นนิทเทสแห่ง
อาการ. คำว่า ฉมฺภิตตฺตํ (แปลว่า ความสะดุ้งแห่งจิต) ได้แก่ ความหวั่นไหว
แห่งตน เพราะอำนาจแห่งภัย. คำว่า โลมหํโส (แปลว่า ความชูชันแห่งขน)
ได้แก่ ความที่ขนทั้งหลายเป็นของชูชันขึ้นไปเบื้องบน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงความกลัวโดยกิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ก็ทรงแสดงความกลัวโดย
สภาวะ คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวแห่งจิตอีก.

ตมนิทเทส


อธิบาย ตมะ คือ อวิชชา


อวิชชา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ ด้วยความมีวิจิกิจฉาเป็น
สีสะ.
จริงอยู่เพราะพระบาลีว่า ความมืดมน ความหลงลืม โอฆะ คือ
อวิชชา เป็นภัยใหญ่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่า ตมะ.
ตมะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย)
เป็นสีสะ เป็นการแสดงโดยง่ายด้วยอำนาจแห่งกาลอันยาวนานทั้ง 3 (คือ อดีต-