เมนู

ทุจจริตนิทเทส


อธิบาย ทุจจริต


ทุจริต นัยที่หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถ
แห่งกรรมบถ. นัยที่สอง ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมอันสงเคราะห์
ในอกุศลทั้งหมด. นัยที่สาม ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันเกิดขึ้น
แล้ว.
ในนิทเทสแห่งอาสวะ โดยปริยายแห่งสุตตันตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอาสวะ 3 เท่านั้น.

เอสนานิทเทส


อธิบาย เอสนา การแสวงหา


ในเอสนานิทเทสนั้น ว่าโดยสังเขป ความยินดีด้วยการแสวงหากาม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา
เป็นไฉน
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า กาเมสนา. ความยินดีโดยการแสวงหา
ภพ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ความพอใจในภพ 3 อันใด
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ภเวสนา. ความเห็นผิดที่แสวงหาพรหมจรรย์อัน
เห็นชอบตามอัชฌาสัยแห่งทิฏฐิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า โลก
เที่ยง
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พรหมจริเยสนา. ก็เพราะราคะและทิฏฐิ
มิได้ชื่อว่าเอสนาอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรมอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับราคะ
และทิฏฐินั้น ก็ชื่อว่า เอสนา การแสวงหานั่นแหละ ฉะนั้น เพื่อแสดงซึ่งเอสนา
การแสวงหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกนัยที่ 2 ไว้. บรรดา
คำเหล่านั้น คำว่า ตเทกฏฺฐํ (แปลว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน) พึงทราบว่า

เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน กับธรรมที่สัมปยุตด้วยราคะและทิฏฐินั้น
คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับกามราคะ ย่อมเป็นไปแก่สัตว์ผู้ท่องเที่ยว
ไปในกามภพทั้งหลายเท่านั้น ส่วนธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับภวราคะ
ย่อมเป็นไปแก่มหาพรหมทั้งหลาย. ในกาลเมื่อพระโยคาวจรออกแล้วจากสมาบัติ
ยินดีซึ่งองค์ฌานจงกรมอยู่ อกุศลกายกรรมย่อมเกิด. ในกาลเมื่อยินดีเพราะ
เปล่งวาจาว่า โอ ! สุขจริง, โอ ! สุขจริง ดังนี้ อกุศลวจีกรรมย่อมเกิด. ใน
กาลเมื่อยินดีด้วยใจเท่านั้น เพราะยังไม่ทำองค์แห่งกายและองค์วาจาให้ไหวไป
อกุศลมโนกรรมย่อมเกิด. อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไปตามทิฏฐิ
แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจอันตัคคาหิกทิฏฐิเท่านั้น เพราะอำนาจการเดินจงกรม
เป็นต้น.

วิธานิทเทส


อธิบาย วิธา1 คือ การถือตัว


การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวยกย่องตนว่า
มีศีลชนิดไร มีปัญญาชนิดไร เป็นต้น ชื่อว่า วิธา. การดำรงอยู่แห่งอาการ
ในคำว่า ญาณวัตถุมีอย่างเดียว (คือไม่แปลกกัน) เป็นต้น ชื่อว่า โกฏฐาส.
การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า บุคคล ย่อมไม่กำหนด ในวิธา คือการถือ
ตัวทั้งหลาย เป็นต้น ชื่อว่า มานะ. แม้ในที่นี้ มานะนั่นแหละ ชื่อว่า วิธา.
จริงอยู่ มานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วิธา เพราะการจัดแจง
ปรับแต่ง ด้วยสามารถแห่งการถือตนว่าเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

1. คำว่า วิธา หมายถึงกิเลสมีประการมาก คือ มานะ หรือ อหังการ หรือยึดถือ
เป็นส่วน ๆ เรียกว่าโกฏฐาส