เมนู

บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น ทั้งภายในและภายนอก มีอย่างละ 5 ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำมี 5
สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องบนมี 5 ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบวจนัตถะ ดังนี้
กามธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ชื่อว่า โอรํ (แปลว่า เบื้องต่ำ)
สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องต่ำนั้น โดยอาศัยความเกิดขึ้นและความ
สำเร็จในกามธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า โอรัมภาคิยะ
อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. รูปธาตุและอรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ชื่อว่า
อุทฺธํ (แปลว่า เบื้องบน) สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องบนนั้น
โดยความเกิดขึ้นและความสำเร็จในรูปธาตุและอรูปธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น
สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า อุทธัมภาคิยะ อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน.
ทุกนิทเทส จบ

อรรถกถาติกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 3


ความปรากฏแห่งวัฏฏมูล 3 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอกุศล
มูล 3. วิตกในธรรมทั้งหลาย มีอกุศลวิตก เป็นต้น พึงทราบว่า ตรัสไว้
ด้วยสามารถแห่งการตรึก. สัญญา พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง
สัญชานนะความจำได้. พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ.

ทุจจริตนิทเทส


อธิบาย ทุจจริต


ทุจริต นัยที่หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถ
แห่งกรรมบถ. นัยที่สอง ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมอันสงเคราะห์
ในอกุศลทั้งหมด. นัยที่สาม ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันเกิดขึ้น
แล้ว.
ในนิทเทสแห่งอาสวะ โดยปริยายแห่งสุตตันตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอาสวะ 3 เท่านั้น.

เอสนานิทเทส


อธิบาย เอสนา การแสวงหา


ในเอสนานิทเทสนั้น ว่าโดยสังเขป ความยินดีด้วยการแสวงหากาม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า บรรดาเอสนา 3 นั้น กาเมสนา
เป็นไฉน
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า กาเมสนา. ความยินดีโดยการแสวงหา
ภพ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ความพอใจในภพ 3 อันใด
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ภเวสนา. ความเห็นผิดที่แสวงหาพรหมจรรย์อัน
เห็นชอบตามอัชฌาสัยแห่งทิฏฐิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า โลก
เที่ยง
เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พรหมจริเยสนา. ก็เพราะราคะและทิฏฐิ
มิได้ชื่อว่าเอสนาอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรมอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับราคะ
และทิฏฐินั้น ก็ชื่อว่า เอสนา การแสวงหานั่นแหละ ฉะนั้น เพื่อแสดงซึ่งเอสนา
การแสวงหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกนัยที่ 2 ไว้. บรรดา
คำเหล่านั้น คำว่า ตเทกฏฺฐํ (แปลว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน) พึงทราบว่า