เมนู

นิทเทสแห่งอิสสา ความริษยา และมัจฉริยะ ความตระหนี่ มี
เนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วทั้งนั้นแล.

มายานิทเทส


อธิบายมายา ความเจ้าเล่ห์


คำว่า วาจํ ภาสติ ได้แก่ ภิกษุผู้ก้าวล่วงพระบัญญัติอันรู้อยู่นั่นแหละ
ทำให้เป็นภาระหนัก ย่อมพูดราวกะว่าตนเป็นผู้เข้าไปสงบ ด้วยประสงค์จะให้
ผู้อื่นรู้ว่า ชื่อว่า ฐานะคือ การล่วงพระบัญญัติ ย่อมไม่มีแก่ตัวเอง ดังนี้.
คำว่า กาเยน ปรกฺกมติ ได้แก่ ภิกษุนั้น ย่อมทำวัตรปฏิบัติด้วยกาย โดย
คิดว่า ใคร ๆ อย่าได้รู้ซึ่งบาปกรรมนี้ อันเราทำแล้ว ดังนี้. ลักษณะนี้ ชื่อว่า
มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นราวกะว่าการเล่นกล (จักขุโมหนมายา) เพราะการ
ปกปิดไว้ซึ่งโทษอันตนรู้อยู่. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีมายา ชื่อว่า มายาวิตา.
สัตว์ทั้งหลาย ทำบาปแล้ว ก็ยังล่วงละเมิดคือทำบาปอีก เพราะความเป็นผู้
ปกปิดไว้ ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ความเจ้าเล่ห์. ชื่อว่า ลวง
เพราะย่อมลวงโดยให้เห็นเป็นไปโดยประการอื่น ด้วยการกระทำทางกายและ
วาจา ฯ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำซึ่งความฉ้อโกง ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น
ชื่อว่า ความฉ้อโกง ฯ อธิบายว่า ย่อมทำให้เปล่าประโยชน์. ชื่อว่า ความ
กลบเกลื่อน เพราะยังบาปทั้งหลายให้เกิดสับสนกันไป ด้วยกล่าวคำว่า เราย่อม
ไม่ทำอย่างนี้ ดังนี้. ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะการเว้นด้วยคำพูดว่า เรา
ย่อมไม่ท่าอย่างนี้. ชื่อว่า ความซ่อน เพราะความไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น.
การซ่อนโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การซ่อนบัง. ชื่อว่า การปกปิด เพราะ
ย่อมปกปิดบาปด้วยกายกรรม วจีกรรม ราวกะคูถ อันบุคคลปกปิดไว้ด้วย

หญ้าและใบไม้ทั้งหลาย. การปกปิดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความปิดบัง
ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะย่อมไม่ทำให้แจ้ง. ชื่อว่า ความปิดบังมิดชิด
เพราะไม่แสดงไห้ปรากฏ. การปกปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปกปิดมิดชิด ชื่อว่า
การกระทำที่ชั่ว เพราะทำบาปแม้อีกด้วยสามารถแห่งการซ่อนเร้นอันตนทำแล้ว.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
มายา อันมีการซ่อนปิดไว้อันตนทำแล้วเป็นลักษณะ. บุคคล ประกอบด้วย
ลักษณะนี้ใด ย่อมเป็นราวกะถ่านเพลิง อันปิดไว้ด้วยขี้เถ้า ย่อมเป็นราวกะ
ตอไม้อันน้ำปกปิดไว้ ย่อมเป็นราวกะว่าศัสตราอันบุคคลพันไว้ด้วยเศษผ้า.

สาเถยยนิทเทส


อธิบาย สาเถยยะ ความโอ้อวด


การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้
โอ้อวด.
ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า เป็นผู้โอ้อวดมาก. คำว่า
ยํ ตตฺถ ได้แก่ ความโอ้อวดอันใด ในบุคคลนั้น. ความคดโกง คือ
การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่า การโอ้อวด. อาการแห่งความโอ้อวด ชื่อว่า
ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด. คำว่า กกฺขรตา ได้แก่ ความเป็นแห่งความ
กระด้าง มีความไม่อดทนต่อสิ่งอันไม่เป็นภัยราวกะความหยาบกระด้างของก้าน
ปทุม. แม้คำว่า สภาพที่กระด้าง ก็เป็นไวพจน์ของความโอ้อวดนั้นนั่นแหละ
ความคดโกงอันมั่นคง ราวกะเสาเขื่อน อันบุคคลขุดหลุมฝังตั้งไว้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบททั้งสอง คือ การพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูด
เป็นเหลี่ยมเป็นคู. คำว่า อิทํ วุจฺจติ ความว่า ความโอ้อวด มีการประกาศ
คุณอันไม่มีอยู่ของตนเป็นลักษณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สาเถยยะ